ข้าพเจ้านายทรรศพล สีหัวโทน ประเภทนักศึกษา AG02-2 ปฏิบัติงานใน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ กำลังศึกษาอยู่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบายของโรคโควิด 19 ยังรุนแรง กระผมและผู้ปฏิบัติงานในกลุ่ม ของ ต . นาโพธิ์ ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเเละพี่ดุสิต (นายดุสิต บุผาโต) ก็ได้แชร์วิถีชีวิตดีๆที่ทำงานที่บ้านให้สมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้ฟังด้วยครับ นั่นคือ การปลูกในแหนแดง
ทดลองการเลี้ยงแหนแดง เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ลดต้นทุนการซื้ออาหารสัตว์ เสริมสร้างโปรตีนด้วยกสิกรรมธรรมชาติ ให้สัตว์เลี้ยง ในพื้นที่ฟาร์มเกษตรตนเอง สร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อเตรียมถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ให้เกิดการพึ่งตนเองได้ในโอกาส
ซึ่งแหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ Anabana azollae อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ (symbiotic nitrogen fixing microorganisms) ให้มาเป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียม ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 3 – 5 % ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ เพื่อใช้ร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวได้เป็นอย่างดี
มากไปด้วยประโยชน์
1. ใช้ควบคุมวัชพืชในนาข้าว ลดปริมาณการใช้แทนเคมีกำจัดวัชพืช
2. ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนการผลิตลดลง
3. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
4. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี หากใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนาสามารถเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้ประมาณ 15%
5. สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผลอื่นๆ ได้
6. สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ ปลา และสุกรได้
โดยนายดุสิต บุผาโต
พี่ดุสิต (นายดุสิต บุผาโต)
การใช้เเหนเเดงในพื้นที่นา
การใช้เเหนเเดงในพื้นที่นา
เเหนเเดงสายพันธุ์ อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla)

หากผู้อ่านสนใจอยากอ่านเพิ่มเติมก็ไปติดตามเรื่องราวได้ที่เพจ ที่นี่นาโพธิ์ ตำบลเรา มีเรื่องราวให้น่าสนใจอีกมากมายครับ ต้องไปติดตามกันที่เพจเยอะๆนะครับขอบคุณครับ

http://https://www.youtube.com/watch?v=t_pRX0V7C0U

 

อื่นๆ

เมนู