1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่ม AG01( 2 ) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกเมฆ หมู่ที่ 11, บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ของตำลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่ม AG01( 2 ) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกเมฆ หมู่ที่ 11, บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ของตำลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

        ดิฉันนางศรัณย์พร  พลแสน  ประเภทประชาชนทั่วไป ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทาลัย  เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  ระยะเวลา 11 เดือน  เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน  ได้แก่ บ้านบง หมู่ที่ 4,  บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8,  บ้านโคกเมฆ หมู่ที่ 11,  บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13  ของตำบลบ้านคู  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ  คือ  แบบฟอร์ม 01  ข้อมูลระดับบุคคล  ครัวเรือนและชุมชน  แบบฟอร์ม 02  ผลกระทบจากโรคคิด 19 และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                กิจกรรมและแผนดำเนินงานของโครงการAG01(2)

ภาพที่ 1 ประชุมวางแผนงานร่วมกับอาจารย์ประจำโครงการ

                ในช่วงวันที่ 1-6  เมษายน  2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการมอบหมายงานและหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ

ภาพที่ 2 ลงพื้นที่แปลงผักอินรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด

                ในช่วงวันที่ 1เมษายน  2564  ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2)  ประชุมวางแผนการทำงานเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่ 13 ผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ   ลงพื้นสำรวจข้อมูลวิสาหกิจชุมชนการปลูกเห็ดนาฟ้า บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 เก็บข้อมูลโครงการโคกหนองนาโมเดลบ้านบง ม.4 และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมกับทีมงานคนอื่นๆต่อไปในช่วงปลายเดือนเมษายน

ภาพที่ 3 ลงพื้นที่กลุ่มหม่อนไหมบ้านโนนตะคร้อ

ภาพที่ 4 ลงพื้นที่กลุ่มเห็ดนางฟ้าบ้านโสกดินแดง

            

    ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน  ดิฉันได้เรียนทักษะด้านภาษาอังกฤษ ด้านดิจิทัลและด้านสังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  และกำลังดำเนินการเรียนด้านการเงินเป็นบางส่วน

                ผลการิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ทั้ง 5 หมู่บ้าน

                ผลการเก็บข้อมูลแต่ละชุมชนพบว่า  ชาวบ้านในแต่ละชุมชน  มีอาชีพหลัก  คือ    การทำนา  อาชีพเสริมคือการเลี้ยงสัตว์  เช่น  วัว  ควาย  ไก่  การเลี้ยงไหม  การทอผ้า  การค้าขาย  และการปลูกผักสวนครัว  เป็นต้น  ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาชีพเสริม  ต้องการมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้  เพราะรายได้หลักจากการทำนามีรายได้น้อยทำให้เกิดปัญหาความยากจน  คนในชุมชนต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและหน่วยงานที่จะช่วยยกระดับชุมชน  ให้คนในชุมชนมีอาชีพ  มีรายได้ที่จะเลี้ยงคนในครอบครัวเพื่อบรรเทาความยากลำบากในการดำเนินชีวิต

                แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าชุมชนยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตรในหน้าแล้ง  หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวที่เป็นอาชีพหลัก  ทางชุมชนต้องงการทำอาชีพเสริมแต่พบปัญหาคือแหล่งน้ำมีน้อยทำให้ลำบากในการทำการเกษตรที่เป็นรายได้เสริม  เช่นการปลูกผักสวนครัว  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  และแหล่งน้ำในชุมชนมีสภาพแห้งแล้งและระบบการจัดการขยะไม่ค่อยดีเท่าที่ควร  คนในชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในเรื่องการกำจัดขยะ  อีกทั้งในเรื่องการงานและอาชีพ  ซึ่งคนในชุมชนอยากจะให้มีอาชีพเป็นของตนเองเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปหางานทำในตัวเมือง  เพื่อคนที่มีความสามารถจะอยู่ในขุมชนของตนและช่วยพัฒนาชุมชน

ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด 19

                ผลจากการเก็บข้อมูลพบว่าชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง  เช่น การเว้นระยะห่าง  การล้างมือด้วยสบู่  แอลกอฮอล์  การสวมหน้ากากอนามัย  และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร  แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย  อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน  อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป

                ปัญหาอุปสรรคในการทำงานและการแก้ไขปัญหาในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรกๆพบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01(2) จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

                ทีม AG01(2)  มีแผนการดำเนินงานในเดือน พฤษภาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู