ดิฉันนางสาวศศิธร ชัยเสน ประเภท บัณฑิตจบใหม่(กพร) ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านคู หมู่ที่ 6, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10, บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 และบ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายทีมงานร่วมกับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2)
ในช่วงวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ

ภาพที่ 2 ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2) เข้าพบนายก อบต. บ้านคู เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
ในช่วงวันที่ 7-18 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2) เข้าพบนายก อบต. บ้านคู เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 8 หมู่บ้านคือ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านคู หมู่ที่ 6, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10, บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 และบ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 60 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ทำการฝึกทักษะในส่วนของภาษาอังกฤษ ใน week ที่ 1 แล้ว และจะฝึกในด้านอื่น ๆ อีกต่อไป
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 8 หมู่บ้าน
ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ อาชีพทำนา
อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงวัว, เลี้ยงควาย, เลี้ยงไก่ไข่/ไก่พื้นบ้าน, เลี้ยงหมู
การทำผ้าไหม เช่น เลี้ยงหม่อนไหม, ทอผ้าไหม
การจักสาน เช่น สุ่มไก่, ตะกร้า, ไซดักปลา, ข้องใส่ปลา
การแปรรูปอาหาร เช่น ส้มวัว/ส้มหมู, เนื้อแดดเดียว
การทอเสื่อ, การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น

ภาพที่ 3 ลงพื้นที่เลี้ยงโคเนื้อตามธรรมชาติ บ้านโนนสะอาด หมู่ 13
ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านโนนสะอาด หมู่ 13 จะมีการเลี้ยงโคเนื้อ(วัว) เป็นโคที่เลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อสัตว์ ที่เราเรียกกันว่า เนื้อวัว แทบทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านโนนสะอาดจะเลี้ยงโคเนื้อในคอกของตนเอง (ที่ชาวบ้านเรียกว่า คอกวัว) ซึ่งคอกวัวนั้นก็จะอยู่ไม่ไกลจากบ้านของเจ้าของวัวมากนัก เนื่องจาก ดูแลง่าย ลดความกังวลในเรื่องของการขโมยวัว และวัวอาจคลอดลูกหรือเจ็บป่วยกะทันหัน เจ้าของวัวจะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันที การเลี้ยงวัวของชาวบ้าน จะเลี้ยงตามทุ่งนาหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว จะปล่อยวัวออกเลี้ยงในช่วงเช้าและไล่ต้อนวัวกลับเข้าคอกในช่วงเย็น ซึ้งการเลี้ยงวัวนั้นชาวบ้านนิยมเลี้ยงตามธรรมชาติ ปล่อยให้วัวได้หากินหญ้าและฟางด้วยตัวของวัวเอง ซึ่งการเลี้ยงวิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนได้มากถึงมากที่สุด ชาวบ้านจะบำรุงวัวจากการซื้อหัวอาหารวัวและเกลือแร่ก้อน(อาหารเสริมสำหรับวัว) แต่การให้อาหารเสริมนี้จะให้เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก ชาวบ้านส่วนมากเลี้ยงวัวเพื่อจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นวัวเพศผู้หรือเพศเมีย ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาประมาณ 20,000 – 50,000 บาท การจำหน่ายวัวของชาวบ้าน จะมีนายฮ้อย(พ่อค้าคนกลาง) เข้ามารับซื้อเอง

ภาพที่ 4 ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่13

ภาพที่ 5 ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่13

ภาพที่ 6 ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่13
แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร

ภาพที่ 7 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

ภาพที่ 8 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
พบว่าชาวบ้านโนนสะอาดมีความรู้และทราบข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีซึ่งมีผู้นำชุมชนคือผู้ใหญ่บ้านนายนิติพงษ์ มนต์ไธสง และ อสม.หมู่บ้าน คอยให้คำแนะนำให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์อัพเดทข่าวสารความคืบหน้าเกี่ยวกับจำนวนการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นและลดลงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นประจำทุกวัน
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
1. ชาวบ้านส่วนมากค่อยข้างไม่มีเวลามานั่งตอบแบบฟอร์มเป็นเวลานานๆ
2. ชาวบ้านไม่ค่อยอยู่บ้านในช่วงเวลากลางวัน
การแก้ไขปัญหา
1. ดิฉันได้อธิบายเกี่ยวกับการตอบแบบฟอร์มคร่าว ๆ ให้ชาวบ้านทราบและให้ชาวบ้านเก็บแบบฟอร์มไว้ทำในช่วงเย็นหรือในช่วงเวลาที่ว่าง แล้วนำมาส่งรวบรวมได้ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน วันถัดไปดิฉันจะมาเก็บแบบฟอร์มและตรวจสอบข้อมูล พร้อมกับเก็บตกข้อมูลหลังคาเรือนที่หายไป
2. ประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกบ้านรับทราบก่อนลงพื้นที่ 1-2 วัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตของชุมชนที่มีวิถีชีวิตการทำอาชีพเสริมที่แตกต่างกัน
2. ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงโคเนื้อตามธรรมชาติ
3. ได้เรียนรู้วิธีการทอผ้าไหม ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงตัวหม่อนไหมจนกระทั่งถึงขั้นตอนการทอผ้าไหมให้เสร็จสมบูรณ์
4. ได้เรียนรู้วิธีการทำเกษตรอินทรีย์
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม AG01-(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน มีนาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 และ บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

ภาพที่ 9 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านโสกดินแดง หมู่ 8 รับทราบ

ภาพที่ 10 ลงพื้นที่บ้านโคกพงาด หมู่ 9

ภาพที่ 11 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านโคกพงาด หมู่ 9 รับทราบ

ภาพที่ 12 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

ภาพที่ 13 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านหนองแอ่ หมู่ 5 รับทราบ

ภาพที่ 14 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านโสกดินแดง หมู่ 8 รับทราบ

ภาพที่ 15 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านเก่าโก หมู่ 3 รับทราบ

ภาพที่ 16 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

ภาพที่ 17 ลงพื้นที่บ้านโสกดินแดง หมู่ 8

ภาพที่ 18 ลงพื้นที่บ้านเก่าโก หมู่ 3

ภาพที่ 19 ลงพื้นที่บ้านบง หมู่ 4

ภาพที่ 20 ลงพื้นที่บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ 15

ภาพที่ 21 ลงพื้นที่บ้านคู หมู่ 6