ดิฉันนางสาวแพรทอง เอี่ยมศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01
ในช่วงวันที่ 1-18 มีนาคม 2564 ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน สำรวจและเก็บข้อมูลในชุมชนโดยใช้แบบฟอร์ม 01 และ 02 เก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
วันที่ 4 มีนาคม ได้ทำการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการลงพื้นที่แต่ละหมู่บ้านในชุมชนที่อบต.บ้านคู
วันที่ 6 มีนาคม ได้ทำการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการสรุปการลงพื้นที่แต่ละเดือนและวางแผนการทำงานในเดือนถัดไปที่มหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 16 มีนาคม ได้ทำการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการลงพื้นที่แต่ละหมู่บ้านและถ่ายทำวิดีโอเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจในชุมชนที่อบต.บ้านคู
ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 150 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคม
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ทำการฝึกในด้านภาษาอังกฤษผ่านแล้วส่วนดิจิตอลยังได้20%
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน
ผลการสำรวจแต่ละชุมชนดิฉันพบว่าแต่ละในชุมชนมีปัญหาเกี่ยวกับรายได้ ช่วงโควิดมีผลกระทบต่อรายได้มาก ชาวบ้านทอผ้าไหมไว้ก็ไม่ได้ขายและไม่สามารถเดินทางไปทำงานที่ต่างจังหวัดได้
ซึ่งคนในชุมชนต้องการการช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไปอีกทั้งในเรื่องของหน้าที่การงานอาชีพของคนในชุมชนซึ่งเมื่อมีโควิดคนในชุมชนไม่มีรายได้ ไม่มีอาชีพ ทำให้เกิดความยากลำบากในการหาเลี้ยงคนในครอบครัว นอกจากนี้ดิฉันยังได้ไปสำรวจ สอบถามและสัมภาษณ์จากชาวบ้านอีกหลายหลัง พบว่ามีปัญหาและความต้องการที่คล้ายคลึงกัน คนในชุมชนต้องการการช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานที่จะช่วยยกระดับชุมชน ให้คนในชุมชนมีอาชีพที่เป็นของตนเองเพื่อมีรายได้ที่จะเลี้ยงคนในความครัวเพื่อบรรเทาความยากลำบากในการใช้ชีวิต จึงอยากให้ชาวบ้านให้มีอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้าไหม จะมีรายได้เพิ่มเข้ามาเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
จุดเด่นของแต่ละหมู่บ้าน การทอผ้าไหมและผ้ามัดหมี่
1.การมัดหมี่
การมัดหมี่ คือ การทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบลายที่เป็นแบบลายโบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งด้วยเชือกฟางมัดลายแล้วนำไปย้อมสี แล้วนำมามัดลายอีกแล้วย้อมสีสลับกันหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมีลวดลายและสีตามต้องการ เช่น ผ้าที่ออกแบบลายไว้มี 5 สี ต้องทำการมัดย้อม 5 ครั้ง เป็นต้น
2.ขั้นตอนการย้อมสี
การย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “การดองไหม” จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาต แต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อการซักค่อนข้างดี การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำไหมชุบน้ำให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ำย้อมสีที่เตรียมไว จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ
3.ขั้นตอนการทอผ้า
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน คือการทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือชุดแรกเป็น “เส้นไหมยืน” จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ(เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชุดหนึ่งคือ “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่ได้ทำการมัดหมี่ไว้

การมัดหมี่
ปัญหาที่พบในชุมชน :
- ขาดแคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- ขยะ
- ผลกระทบรายได้แต่ละครัวเรือน
- ใช้สารเคมีทางการเกษตร
- ทะเลาะวิวาท
- ปัญหาความยากจน
- ยาเสพติด
- ปัญหาแบ่งเขตที่ดิน
แนวทางแก้ไข
1.ของบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขุดลอกหนองใหม่เพื่อที่กับเก็บน้ำให้มากขึ้น
2.ชาวบ้านบางส่วนมีการย้ายไปยุที่สวนหรือทุ่งนาจึงไม่มีไฟฟ้าใช้แล้วจึงแจ้งผู้นำชุมชนทำเรื่องไปยังหน่วยงานการไฟฟ้า
3.ต้องการมีจุดคักแยกขยะแต่ล่ะหมู่บ้าน
4.อยากให้มีอาชีพเป็นของตัวเอง
ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
จากการสำรวจสถานการณ์พบว่าชาวบ้านมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังหลังรับประทานอาหารแล้วชาวบ้านบางคนมักจะใช้มือปิดปากในเวลา จามหรือไอและในบางครัวเรือนยังขาดแคลนเจล สเปรย์แอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัยทั้งนี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.สภาวะสังคมแต่ละชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
2.ปัญหาสิ่งแวดล้อมแต่ชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง
3.จุดเด่น/จุดด้อยของแต่ละหมู่บ้าน
4.เรียนรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษพื้นฐานและทักษะด้านดิจิตัล
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม AG01 มีแผนการดำเนินงานในเดือน เมษายน 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านโคกเมฆหมู่ 11

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านโนนสะอาดหมู่12

ลงพื้นที่บ้านโนนตะคร้อหมู่ 13

ประชุมกลุ่มครั้งแรกที่อบตบ้านคู

ประชุมกลุ่มครั้งที่ 2ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ประชุมกลุ่มครั้งที่ 3 อบต.บ้านคู

ถ่ายทำวิดีโอรัฐวิสาหกิจชุมชนในบ้านคู เรื่องการทอเสื่อ

ถ่ายทำวิดีโอรัฐวิสาหกิจชุมชนที่บ้านโคกเมฆ เรื่อง การเลี้ยงโคขุน