กะผมนายอดิศักดิ์ โชตินอก ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 และบ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 พร้อมทั้งถ่ายทำวีดีโอ เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนและที่ไม่เป็นวิสาหกิจชุมชม
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
ในช่วงวันที่ 6 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
ในช่วงวันที่ 14-15 มีนาคม 2564 คณะทำงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่ ที่ตนเองรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ได้แก่ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 และบ้านหนองจาน หมู่ 10 โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบตามความสะดวกและเก็บข้อมูลให้ได้ทุกครัวเรือน
ในช่วงวันที่ 16 มีนาคม 2564 คณะทำงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู ได้ลงไปถ่ายวีดีโอกลุ่มที่เป็นวิสาหกิจชุมชนและไม่เป็นวิสาหกิจชุมชนของ หมู่บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ 15 และหมู่บ้านโคกเมฆ หมู่ 10
ในช่วงวันที่18 มีนาคม 2564 คณะทำงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู สรุปข้อมูลงานจากการลงพื้นที่ที่ตนเองได้รับผิดชอบ และตัดต่อวิดีโอสื่อที่เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนและไม่เป็นวิสาหกิจชุมชนของ ตำบลบ้านคู
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน และได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคม
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน กะผมได้เข้าไปฝึกทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานจนครบทั้ง 24 ชั่วโมง จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน 8 ชั่วโมง ส่วนทักษะพลเมืองดิจิทัล กะผมจะดำเนินการอบรมภายในระยะเวลาที่กำหนด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน
ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การทอผ้า การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว
แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 หมู่บ้าน พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน ขาดแหล่งซื้อขายผลผลิต จากการทำนา และปลูกผักสวนครัว
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ มีแต่บ้านแต่ไม่มีคนอยู่อาศัย ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01(2) จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนของหมู่บ้านที่ได้รับผิดชอบเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนให้ช่วงกระจ่ายข่าวสาร และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน เมษายน 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล สรุปผล และถ่ายทำวีดีโอสื่อในแต่ละด้านของชุมชน เพื่อมานำเสอนให้ทุกท่านได้รับชมกันต่อไป