1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AG01(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านโนนเจริญ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองดุม บ้านตูมน้อย บ้านสวายสอ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AG01(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านโนนเจริญ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองดุม บ้านตูมน้อย บ้านสวายสอ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉันนางสาวอธิฏฐา สุทธิมาลา ประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแคนเจริญ บ้านโนนเจริญ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านสวายสอ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01

          ในช่วงวันที่ 2-6 มีนาคม 2564   อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของการดำเนินงานทำงานอย่างเป็นระบบ  และตัวแทนคณะปฏิบัติงานเข้าพบรองปลัดอบต.ตูมใหญ่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลประชากรในตำบลตูมใหญ่ ทั้ง 19 หมู่บ้าน          

ประชุมชี้แจงรายละเอียดงาน

 

           ในวันที่ 10 มีนาคม 2564 ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าพบท่านเกษตรอำเภอ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอคูเมือง เพื่อขอสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน ของแต่ละหมู่บ้าน ในตำบลตูมใหญ่   

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าพบท่านเกษตรอำเภอ

                                                         

          ในช่วงวันที่ 11-16 มีนาคม 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยแบ่งกลุ่มที่รับผิดชอบเพื่อความสะดวกประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูลและให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นจริงมากที่สุด ทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ  หมู่บ้านคือ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโนนเจริญ บ้านโนนเจริญ บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านสวายสอ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยแบ่งกลุ่มที่รับผิดชอบ

          ในช่วงวันที่ 18-20 มีนาคม 2564 ประชุมสรุปการดำเนินงาน เขียนบทความและแบบรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชน

          ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะทั้ง4ด้านด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐานได้ได้เรียนและสอบได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน

          ผลจากการลงเก็บข้อมูลในหมู่บ้านโนนเจริญ พบว่า ชาวบ้านโนนเจริญเจริญ มีอาชีพการทำไร่ ทำนา ทำสวนและเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น แต่อาชีพหลักที่ชาวบ้านในชุมชนทำ คือ การทำไร่ ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้ที่สูงที่สุดในแต่ละปี และการทำไร่ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือไร่อ้อย ซึ่งอ้อยเป็นพืชที่ปลูกง่าย จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการร่วมทำกิจกรรมในชุมชนและการให้ข้อมูลเป็นอย่างดี    คนในชุมชนยิ้มแย้มแจ่มใส มีการถามไถ่ทุกข์สุขเอ็นดูเปรียบเสมือนบุตรหลานของตนเองในการสอบถามข้อมูลไม่เพียงแต่บอกเล่าให้ข้อมูล แต่ยังพาไปดูพาไปชมด้วยตนเองทั้งผลิตภัณฑ์สินค้าและอุตสาหกรรมในครัวเรือนชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำใน แหล่งน้ำ ซึ่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคในชุมชนยังสะอาดไม่เพียงพอ และในหน้าแล้งยังขาดแคลนน้ำอีกด้วย

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

           ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนบ้านโนนเจริญ  รู้เกี่ยวกับโรคระบาด รู้ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของโรค
โควิค-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การกินอาหาร วิธีการล้างมือ การออกจากพื้นที่เสี่ยง การเว้นระยะห่าง ทำให้คนในชุมชนตื่นตระหนกในช่วงแรกที่มีโรคระบาดเข้ามาในจังหวัดส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพค้าขายการเดินทางไปทำงานของคนในชุมชน

ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลปัญหาที่พบเจอในขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลนั้น คือ ประชาชน ชาวบ้านได้ออกไปประกอบอาชีพ จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นบางครัวเรือน ดิฉันพร้อมทีมงานจึงตกลงเห็นพ้องกันว่าจะมาเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ตกสำรวจเพิ่มเติมในวันเสาร์และวันอาทิตย์และได้ทำการลงพื้นที่ติดต่อขอข้อมูลกับทางอำเภอคูเมืองในส่วนข้อมูลครัวเรือนจึงทำให้ได้ข้อมูลขอครัวเรือนที่ตกสำรวจในการนี้ ดิฉันได้ดำเนินงานประจำเดือนมีนาคมที่ทางส่วนกลางได้มอบหมายสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  1. ได้รู้จักชุมชนที่อยู่อาศัยมากขึ้น
  2. ได้เห็นวิถีชีวิตในชุมชน
  3. ได้เรียนรู้การประสานงาน การทำงานเป็นทีม
  4. ได้ทราบปัญหาภายในชุมชน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

คณะทำงาน AG­01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์มีแผนการดำเนินงานในเดือน เมษายน 2564

        วันที่1-6 เมษายน 2564 นำข้อมูลที่ได้จากเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม มาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของชุมชน

        วันที่ 7-8 เมษายน 2564 นำข้อมูลความต้องการที่ได้มาจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ และนำเสนอโครงการต่ออบต.ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา

วันที่ 9 เมษายน 2564 จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์

        วันที่ 10-15 เมษายน 2564 วันหยุดเทศกาล

        วันที่ 16-20 เมษายน 2564 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการำเนินงานประจำเดือนชี้แจงการทำโครงการ เขียนบทและรายงานประจำเดือน

วันที่  23 เมษายน 2564 จัดอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า

 

อื่นๆ

เมนู