ข้าพเจ้านางสาวเมธาวี จิตไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG 02 (02) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์
หลักสูตร: AG02-(01-03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ในกลุ่มงาน ต.นาโพธิ์ ได้ลงพื้นที่ไปปลูกป่าปลูกต้นไม้ที่บ้านหนองหว้า ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ ร่วมกับหน่วยงานอบต. และชาวบ้านบางส่วน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีร่วมกัน โดยมีการรักษามาตรการการป้องกันโรคระบาดโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ทุกคนที่มาร่วมงานสวมหน้ากากอนามัยและมีการตรวจวัดอุณหภูมิ

ซึ่งการปลูกป่าหรือการปลูกต้นไม้นั้น มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาประเทศนั่นคือ การปลูกป่า ท่านมีความเชื่อว่าการปลูกป่าที่อุดมสมบูรณ์จะทำให้ทรัพยากรของไทยอยู่ได้ เมื่อทรัพยากรอยู่ได้ คนไทยก็อยู่ได้ แม้ท่านจะไม่ได้บอกให้เรารีบเข้าไปปลูกป่าโดยตรง แต่ท่านทรงเลือกที่จะวางแนวคิดในการปลูกป่าให้กับคนไทยแทน เราขอรวบรวมแนวคิดคำสอนเกี่ยวกับการปลูกป่า ของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 อีกครั้ง

ให้ปลูกป่าในใจคน

คำสอนแรกเป็นแนวคิดที่ตรงและสำคัญมากที่สุดในการปลูกป่า นั่นคือ ให้เราปลูกป่าในใจคนเสียก่อน หมายถึง ให้เราสร้างความตระหนักรู้แก่คนในพื้นที่ และคนในประเทศเกี่ยวกับความสำคัญของป่าเสียก่อน หากคนมีความคิดรักป่า รักทรัพยากรของชาติแล้ว เค้าก็จะเกิดพฤติกรรมเพื่อตอบสนองแนวคิดนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า ไม่ตัดต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าพ่อหลวงให้ปลูกป่าในใจเราแล้วทุกคน

ปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก

แนวคิดถัดมา อาจจะเป็นแนวคิดที่หลายคนไม่เข้าใจ นั่นคือ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ท่านอธิบายว่าการปลูกป่าที่ดีคือไม่ต้องไปทำอะไรกับมันเลย ปล่อยไปตามธรรมชาติจะดีที่สุด แนวคิดนี้บอกอะไรเราได้หลายอย่างคือ เราไม่ควรปลูกป่าด้วยความไม่รู้ แทรกพันธุ์ไม้ที่ไม่เข้ากันลงไปบนพื้นที่สุดท้ายจะทำให้ระบบนิเวศน์เสียไป และการปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัวด้วยตัวเองจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ไม่มีใครเข้าใจป่าไม้ได้ดีกว่าป่าไม้ด้วยกัน

ปลูกป่าเพื่อประโยชน์

ป่าไม้ไม่เพียงเป็นแค่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น ยังเป็นพื้นที่ใช้สอยแก่คนในพื้นที่และนอกพื้นที่อีกด้วย ท่านทรงดำริไว้ว่า ให้ปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ปลูกป่าสำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับไม้ผล ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้สามารถนำไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเพียงพอแล้ว เมื่อทำทั้ง 3 อย่าง เราจะได้รับอย่างที่ 4 นั่นคือ การอนุรักษ์ดินและน้ำ เรียกว่าได้ทั้งใช้งาน ดำรงชีวิต และอนุรักษ์ไปด้วยพร้อมกัน

การปลูกป่าทดแทน

บางพื้นที่ในประเทศไทย โดยรุกรานตัดไม้ทำลายป่าไปเยอะ ทำให้กลายเป็นพื้นที่ร้าง เขาหัวโล้น ท่านได้ให้แนวทางไว้ว่าให้รีบปลูกป่าทดแทนให้เร็ว เริ่มจากปลูกพืชที่โตเร็ว เน้นคลุมร่องน้ำ เพื่อให้เกิดความชื้นไปทั่วพื้นที่ จากนั้นความชื้นจะทำให้ต้นไม้งอกงามได้ง่าย และป้องกันไฟป่าได้อีก จากนั้นก็ปลูกไล่ระดับขึ้นจากจะทำให้ความชื้นแผ่ขยายไปทั่ว นับว่าเป็นพระอัจฉริยภาพที่สามารถพลิกเขาหัวโล้นให้กับมาเป็นเขาสีเขียวได้อย่างน่าทึ่งมาก

 

 

อื่นๆ

เมนู