1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านตูมน้อย หมู่ที่5 บ้านแคนเจริญ หมู่ที่17 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่10 บ้านหนองดุม หมู่ที่8 และบ้านสวายสอ หมู่ที่2 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านตูมน้อย หมู่ที่5 บ้านแคนเจริญ หมู่ที่17 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่10 บ้านหนองดุม หมู่ที่8 และบ้านสวายสอ หมู่ที่2 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

     

ดิฉัน นางสาวบุณฑริกา ต้ายไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูล จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตูมน้อย หมู่ที่5 บ้านแคนเจริญ หมู่ที่17 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่10 บ้านหนองดุม หมู่ที่8 และบ้านสวายสอ หมู่ที่2 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1)

ในช่วงวันที่ 2-6 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของการดำเนินการทำงานอย่างเป็นระบบ และตัวแทนคณะปฏิบัติงานเข้าพบรองปลัด อบต.ตูมใหญ่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลประชากรในตำบลตูมใหญ่ ทั้ง 19 หมู่บ้าน

ในวันที่ 10 มีนาคม 2564 ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าพบท่านเกษตรอำเภอ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อขอสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนของแต่ละหมู่บ้านในตำบลตูมใหญ่

ในช่วงวันที่ 11-16 มีนาคม 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยแบ่งกลุ่มที่รับผิดชอบเพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นจริงมากที่สุด ทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตูมน้อย หมู่ที่5 บ้านแคนเจริญ หมู่ที่17 บ้านโนนเจริญ หมู่ที่10 บ้านหนองดุม หมู่ที่8 และบ้านสวายสอ หมู่ที่2 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน

ในช่วงวันที่ 18-20 มีนาคม 2564 ประชุมสรุปแผนการดำเนินงาน เขียนบทความและแบบรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชน

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ดำเนินการเข้าศึกษาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงินและด้านสังคม ซึ่งด้านภาษาอังกฤษพื้นฐาน ดิฉันได้เรียนรู้และสอบได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน

ผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหมู่บ้านสวายสอ พบว่า ชาวบ้านสวายสอ มีอาชีพการทำไร่ ทำนา ทำสวนและเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น แต่อาชีพหลักที่ชาวบ้านในชุมชนทำ คือ การทำไร่และการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้ที่สูงที่สุดในแต่ละปี การทำไร่ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือ การทำไร่อ้อย ซึ่งอ้อยเป็นพืชที่ปลูกง่าย จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการร่วมทำกิจกรรมในชุมชนและการให้ข้อมูลเป็นอย่างดี คนในชุมชนมีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีการถามไถ่ทุกข์สุขและเอ็นดูเปรียบเสมือนบุตรหลานของตนเอง ในการสอบถามข้อมูลไม่เพียงแต่บอกเล่าให้ข้อมูล แต่ยังพาไปดูพาไปชมด้วยตนเอง ในส่วนของผลิตภัณฑ์สินค้าและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้านการจัดการน้ำในแหล่งน้ำ ซึ่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคในชุมชนยังสะอาดไม่เพียงพอ และในหน้าแล้งยังขาดแคลนน้ำอีกด้วย

ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนบ้านสวายสอ รู้เกี่ยวกับโรคระบาด รู้ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคระบาดโควิด-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนกลาง วิธีการล้างมือที่ถูกต้องด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การหลีกเลี่ยงจากพื้นที่เสี่ยง การเว้นระยะห่าง ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้คนในชุมชนตื่นตระหนกในช่วงแรกที่มีโรคระบาดเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพค้าขายและการเดินทางไปทำงานของคนในชุมชน

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ปัญหาที่พบเจอในขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลนั้น คือ ประชาชนในชุมชนได้ออกไปประกอบอาชีพของตนเอง จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือน ดิฉันพร้อมทีมงานจึงตกลงเห็นพ้องกันว่าจะมาเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ตกสำรวจเพิ่มเติมในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งได้ทำการลงพื้นที่ติดต่อขอข้อมูลกับทางอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จึงทำให้ได้ข้อมูลของครัวเรือนที่ตกสำรวจจนครบถ้วน ซึ่งในการปฏิบัติงาน ดิฉันได้ดำเนินการทำงานประจำเดือนมีนาคมที่ทางส่วนกลางมอบหมายให้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  1. ได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบแบบแผน
  2. ได้เรียนรู้การประสานงานและการทำงานเป็นทีม
  3. ได้เห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน
  4. ได้ทราบถึงปัญหาภายในชุมชน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

คณะทำงาน AG­01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานในเดือนเมษายน 2564 ดังนี้

วันที่ 1-6 เมษายน 2564 นำข้อมูลที่ได้จากเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม มาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของชุมชน

วันที่ 7-8 เมษายน 2564 นำข้อมูลความต้องการที่ได้จากการลงพื้นที่ มาจัดทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ และนำเสนอโครงการต่อ อบต.ตูมใหญ่ เพื่อพิจารณา

วันที่ 9 เมษายน 2564 จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

วันที่ 10-15 เมษายน 2564 วันหยุดเทศกาลสงกรานต์

วันที่ 16-20 เมษายน 2564 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือน ชี้แจงการทำโครงการเขียนบทความและรายงานประจำเดือน

วันที่ 9 และวันที่ 23 เมษายน 2564 จัดอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า

อื่นๆ

เมนู