1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านคู หมู่ที่ 6, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10, บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 และบ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านคู หมู่ที่ 6, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10, บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 และบ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

      ดิฉันนางสาวศศิธร  ชัยเสน ประเภท บัณฑิตจบใหม่(กพร) ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านคู หมู่ที่ 6, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10, บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 และบ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายทีมงานร่วมกับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2)  

        ในช่วงวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ

ภาพที่ 2 ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2) เข้าพบนายก อบต. บ้านคู เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ

      ในช่วงวันที่ 7-18 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(2) เข้าพบนายก อบต. บ้านคู เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 8 หมู่บ้านคือ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านคู หมู่ที่ 6, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10, บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 และบ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 60 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน  ได้ทำการฝึกทักษะในส่วนของภาษาอังกฤษ ใน week ที่ 1 แล้ว และจะฝึกในด้านอื่น ๆ อีกต่อไป

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 8 หมู่บ้าน 

      ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ อาชีพทำนา
อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงวัว, เลี้ยงควาย, เลี้ยงไก่ไข่/ไก่พื้นบ้าน, เลี้ยงหมู
                        การทำผ้าไหม เช่น เลี้ยงหม่อนไหม, ทอผ้าไหม
                        การจักสาน เช่น สุ่มไก่, ตะกร้า, ไซดักปลา, ข้องใส่ปลา
                        การแปรรูปอาหาร เช่น ส้มวัว/ส้มหมู, เนื้อแดดเดียว
                        การทอเสื่อ, การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น

ภาพที่ 3 ลงพื้นที่เลี้ยงโคเนื้อตามธรรมชาติ บ้านโนนสะอาด หมู่ 13

      ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านโนนสะอาด หมู่ 13 จะมีการเลี้ยงโคเนื้อ(วัว) เป็นโคที่เลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อสัตว์ ที่เราเรียกกันว่า เนื้อวัว แทบทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านโนนสะอาดจะเลี้ยงโคเนื้อในคอกของตนเอง (ที่ชาวบ้านเรียกว่า คอกวัว) ซึ่งคอกวัวนั้นก็จะอยู่ไม่ไกลจากบ้านของเจ้าของวัวมากนัก เนื่องจาก ดูแลง่าย ลดความกังวลในเรื่องของการขโมยวัว และวัวอาจคลอดลูกหรือเจ็บป่วยกะทันหัน เจ้าของวัวจะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันที การเลี้ยงวัวของชาวบ้าน จะเลี้ยงตามทุ่งนาหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว จะปล่อยวัวออกเลี้ยงในช่วงเช้าและไล่ต้อนวัวกลับเข้าคอกในช่วงเย็น ซึ้งการเลี้ยงวัวนั้นชาวบ้านนิยมเลี้ยงตามธรรมชาติ ปล่อยให้วัวได้หากินหญ้าและฟางด้วยตัวของวัวเอง ซึ่งการเลี้ยงวิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนได้มากถึงมากที่สุด ชาวบ้านจะบำรุงวัวจากการซื้อหัวอาหารวัวและเกลือแร่ก้อน(อาหารเสริมสำหรับวัว) แต่การให้อาหารเสริมนี้จะให้เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก ชาวบ้านส่วนมากเลี้ยงวัวเพื่อจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นวัวเพศผู้หรือเพศเมีย ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาประมาณ 20,000 – 50,000 บาท การจำหน่ายวัวของชาวบ้าน จะมีนายฮ้อย(พ่อค้าคนกลาง) เข้ามารับซื้อเอง

ภาพที่ 4 ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่13

ภาพที่ 5 ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่13

ภาพที่ 6 ลงพื้นที่บ้านโนนสะอาด หมู่13

 

แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร

ภาพที่ 7 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

ภาพที่ 8 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

 

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

      พบว่าชาวบ้านโนนสะอาดมีความรู้และทราบข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีซึ่งมีผู้นำชุมชนคือผู้ใหญ่บ้านนายนิติพงษ์ มนต์ไธสง และ อสม.หมู่บ้าน คอยให้คำแนะนำให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์อัพเดทข่าวสารความคืบหน้าเกี่ยวกับจำนวนการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นและลดลงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นประจำทุกวัน

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
           1. ชาวบ้านส่วนมากค่อยข้างไม่มีเวลามานั่งตอบแบบฟอร์มเป็นเวลานานๆ

           2. ชาวบ้านไม่ค่อยอยู่บ้านในช่วงเวลากลางวัน
การแก้ไขปัญหา
          1. ดิฉันได้อธิบายเกี่ยวกับการตอบแบบฟอร์มคร่าว ๆ ให้ชาวบ้านทราบและให้ชาวบ้านเก็บแบบฟอร์มไว้ทำในช่วงเย็นหรือในช่วงเวลาที่ว่าง แล้วนำมาส่งรวบรวมได้ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน วันถัดไปดิฉันจะมาเก็บแบบฟอร์มและตรวจสอบข้อมูล พร้อมกับเก็บตกข้อมูลหลังคาเรือนที่หายไป
         2. ประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกบ้านรับทราบก่อนลงพื้นที่ 1-2 วัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

           1. ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตของชุมชนที่มีวิถีชีวิตการทำอาชีพเสริมที่แตกต่างกัน
           2. ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงโคเนื้อตามธรรมชาติ
           3. ได้เรียนรู้วิธีการทอผ้าไหม ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงตัวหม่อนไหมจนกระทั่งถึงขั้นตอนการทอผ้าไหมให้เสร็จสมบูรณ์
           4. ได้เรียนรู้วิธีการทำเกษตรอินทรีย์

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

      ทีม AG01-(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน มีนาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3, บ้านบง หมู่ที่ 4, บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8, บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9, บ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 และ บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

ภาพที่ 9 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านโสกดินแดง หมู่ 8 รับทราบ

ภาพที่ 10 ลงพื้นที่บ้านโคกพงาด หมู่ 9

ภาพที่ 11 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านโคกพงาด หมู่ 9 รับทราบ

ภาพที่ 12 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

ภาพที่ 13 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านหนองแอ่ หมู่ 5 รับทราบ

ภาพที่ 14 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านโสกดินแดง หมู่ 8 รับทราบ

ภาพที่ 15 ลงพื้นที่แจ้งผู้ใหญ่บ้านเก่าโก หมู่ 3 รับทราบ

ภาพที่ 16 ลงพื้นที่บ้านหนองจาน หมู่ 10

ภาพที่ 17 ลงพื้นที่บ้านโสกดินแดง หมู่ 8

ภาพที่ 18 ลงพื้นที่บ้านเก่าโก หมู่ 3

ภาพที่ 19 ลงพื้นที่บ้านบง หมู่ 4

ภาพที่ 20 ลงพื้นที่บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ 15

ภาพที่ 21 ลงพื้นที่บ้านคู หมู่ 6

อื่นๆ

เมนู