1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG02(2) - ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์
  4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 และ 06 บ้านโศกกะฐิน หมู่ที่ 7 บ้านหนองต่อ หมู่ที่ 8 และบ้านหนองหญ้ารังกา หมู่ที่ 9 ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 และ 06 บ้านโศกกะฐิน หมู่ที่ 7 บ้านหนองต่อ หมู่ที่ 8 และบ้านหนองหญ้ารังกา หมู่ที่ 9 ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายดุสิต บุผาโต ประเภท ประชาชน ต.นาโพธิ์(2)  อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร: AG02-(2)     โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOPโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร

เมื่อวันที่ 3-15 เดือน กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. ณ หมู่บ้านหนองต่อ บ้านโศกกะฐิน และบ้านหญ้ารังกา

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงฟื้นที่ หมู่บ้านหนองต่อ บ้านโศกกะฐิน และบ้านหญ้ารังกา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนของท่าน จึงใคร่ขอความกรุณา

ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและตอบคำถามในทุกคำถามเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนา

ชุมชนตามเป้าหมาย

ข้าพเจ้าได้เข้าไปเก็บแบบสอบถาม บ้านเลขที่ 18/2 ม. 7 บ้านโศกกะฐิน ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหนึ่งตัวอย่างของการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับบุคคล และได้เข้าร่วมพูดคุยในการประชุมของหมู่บ้านด้วยเพื่อในการทำรายงานนี้

การนี้ได้พูดคุยส่วนตัวกับ นาย ชิตพล เวินเสียง ซึ่งเป็นเจ้าบ้าน และเป็นคนในพื้นที่อยู่อาศัยทำมาหากิน มานานหลายปี หลังจากที่ได้พูดคุย ซักถาม ถึงความเป็นมาในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงแล้วข้าพเจ้าได้ให้ซักถามข้อมูลรายละเอียดตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางให้มา   และให้ข้อมูลแก่ข้าพเจ้า รายละเอียดตามเอกสารที่แนบมานี้ แบบฟอร์ม (01)  ในการนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูล ดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการ

ซึ่งจากการพูดคุย ได้ทราบว่าความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์มาอย่างยาวนานของหมู่บ้านโศกกะฐินคือการปลูกพืชผักสวนครัว โดยทำเกือบทุกครัวเรือนและตลอดทั้งปี จึงเป็นที่รู้จักของพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อผักไปจำหน่าย และถือว่าเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงด้านการปลูกผักของอำเภอนาโพธิ์เลยทีเดียว  แต่ด้วยยังเข้าไม่ถึงระบบเทคโนโลยีนวัตกรรมในการทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ ชาวบ้านยังตักน้ำรด หรือใช้สายยางรดผัก ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองน้ำและเสียเวลามาก รวมถึงการทำการเกษตรยังต้องพึ่งปุ๋ยเคมีอยู่ แม้จะทำกันเป็นล่ำเป็นสันแต่ชาวบ้านก็ยังเจอปัญหา สินค้าล้นตลาด หรือสินค้าราคาตกต่ำ  จึงทำให้เกิดปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนกันกว่าร้อยละ 80 ของคนในชุมชนเลยทีเดียว ในสภาพสังคมของคนในชุมชนถือว่าสมัครสมานสามัคคีกันดีมาก ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็มีบทบาทสำคัญในการนำพาชุมชน นำโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐเข้ามาขับเคลื่อนนำพาชาวบ้านทำอยู่เป็นประจำ แต่ก็ยังมีเสียงสะท้อนออกมาบ้างว่า การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง บางโครงการก็ทำพอแล้ว ๆ จัดฉากถ่ายรูปเอาผลงาน แล้วก็ไม่เกิดผลประโยชน์ที่ยั่งยืนมาสู่ชุมชน  ในด้านภูมิศาสตร์หมู่บ้านแห่งนี้ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่มีน้ำใต้ดินดี คือมีชาวบ้านบางส่วนที่พอมีเงินทุน ได้เจาะบ่อบาดาล และสูบน้ำขึ้นมาใช้ด้วยระบบโซล่าเซลล์ น้ำจืดดี สามารถอุปโภคบริโภคได้ ทำการเกษตรได้ดีเยี่ยม แต่ภาพรวมชาวบ้านก็ยังเผชิญกับความแห้งแล้ง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ไม่มีเงินทุนในการทำระบบสูบน้ำโซล่าเซลล์มาใช้

ในภาพรวมความต้องการของคนในชุมชนก็อยากให้ชุมชนได้รับการพัฒนาแก้ปัญหาภัยแล้ง ให้มีน้ำใช้ในภาคการเกษตรตลอดทั้งปี เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพในภาคเกษตรให้ได้ผล และทำได้ตลอดปี และการทำการเกษตร ก็อยากได้รับการพัฒนาให้เป็นเกษตรอินทรีย์ โดยให้มีเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาช่วย เช่นการสั่งการรดน้ำผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นต้น ในส่วน กลางน้ำก็อยากได้การพัฒนาให้เกิดการแปรรูปสินค้าภาคเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาด รวมถึงอยากให้มีการจัดการให้มีการตลาดที่สมบูรณ์แบบ ทั้งออนไลน์ และ ออฟไลน์ ซึ่งหากมีการส่งเสริมดังกล่าวที่เกริ่นมาก็จะเป็นการช่วยลดภาระหนี้สินในครัวเรือนได้ และหากได้รับการพัฒนาถึงขั้นเกษตรสมัยใหม่ smart farmer ทางชุมชนก็มั่นใจว่าน่าจะเกิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นในชุมชนก็จะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าจะสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกทาง และลูกหลานก็คงจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดมากขึ้น หากการเกษตรถูกยกระดับให้เป็นเกษตรสมัยใหม่ ให้เกิดการบริหารจัดการให้ทำงานง่ายขึ้น ทันสมัยขึ้นนั่นเอง

ไฟล์แนบ

อื่นๆ

เมนู