1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉัน นางสาวบุณฑริกา ต้ายไธสง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข

          ในการปฏิบัติงานดิฉันได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายผ้าทอมือตำบลตูมใหญ่ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย หมู่ที่ 5 กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 และกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 โดยการนำผ้าทอมือส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สอดคล้องกับนโยบาย OTOP และเป็นสินค้าที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในตำบลตูมใหญ่ได้

          นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อวีดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น การจัดทำโปสเตอร์ การจัดทำแผ่นพับ และการเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

                  

   

1. กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้า เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

          อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

          ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทำการศึกษาด้าน TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

2.1 การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

          การนำผ้าทอมือส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สอดคล้องกับนโยบาย OTOP และเป็นสินค้าที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในตำบลตูมใหญ่ได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการทอผ้ามือจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

          1. กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย

สถานที่ตั้ง : บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้อมูลของกลุ่มโดยสังเขป คือ กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2559 ประธานกลุ่ม คือ นางปัณฑิตา แก้วกูล

ชนิดผ้าที่ต้องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 1 ชนิด ได้แก่

1. ผ้าขาวม้า เลขที่ มผช. 197/2557

          2. กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม

สถานที่ตั้ง : บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้อมูลของกลุ่มโดยสังเขป คือ กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2561 ประธานกลุ่ม คือ นางอนงค์ ทบแก้ว

ชนิดผ้าที่ต้องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่

1. ผ้าคลุมไหล่ เลขที่ มผช. 246/2557

2. ผ้าพันคอ เลขที่ มผช. 247/2557

          3. กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18

สถานที่ตั้ง : บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้อมูลของกลุ่มโดยสังเขป คือ กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2559 ประธานกลุ่ม คือ นายกาล เจียมจิตร

ชนิดผ้าที่ต้องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่

1. ผ้าขาวม้า เลขที่ มผช. 197/2557

2. ผ้ามัดหมี่ เลขที่ มผช. 17/2557

3. ผ้าพันคอ เลขที่ มผช. 247/2557

   

2.2 การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

          การเก็บข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมที่เหมาะสม และประเมินผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้

     1. ตำบลเป้าหมาย ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน และเกษตรกร

     2. ลูกจ้างโครงการ ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต และประชาชน

     3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ได้แก่ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ

     4. ชุมชนภายใน ได้แก่ ชุมชน วัด แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน                 

     5. ชุมชนภายนอก ได้แก่ ชุมชน แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน                  

     6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้แก่ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในตำบล

     7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ

     8. ผู้แทนตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อบต.ประจำตำบล หรือผู้ได้รับหมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล                              

     9. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาลพัฒนาชุมชน และ รพ.สต.                 

     10. หน่วยงาน อปท. ได้แก่ ตัวแทน อปท. มีส่วนร่วมดําเนินงานกับโครงการ เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. และเทศบาลตำบล                

     11. เอกชนในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก. และบริษัทภายในตำบล  

                             

2.3 การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

          จากการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนร่วมกับคณะองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่และปราชญ์ชาวบ้าน ส่งผลให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและคนในชุมชนที่เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ และส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงพันธุ์พืชแต่ละชนิดที่มีลักษณะเด่นและสรรพคุณที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ทั้งเถาวัลย์ ไม้เลื้อย และไม้ยืนต้น อาทิ ต้นแดง ต้นมะค่า ต้นติ้ว ต้นประดู่ ต้นดูกหิน ต้นโพธิ์ ต้นเครือไทรโยง และต้นเครือผักหวาน เป็นต้น ซึ่งป่าไม้ชุมชนนี้สามารถพัฒนาต่อยอดและจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เชิงธรรมชาติของตำบลตูมใหญ่ได้ จึงควรแก่การอนุรักษ์ไว้ต่อไป

          

3. ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

          จากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในเดือนตุลาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหมู่บ้าน การเข้าวัดทำบุญ การจ่ายตลาดในชุมชน รวมไปถึงการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร เป็นต้น

          ทั้งนี้ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ อาจสืบเนื่องมาจากลักษณะของการทำงาน กลุ่มอาชีพ และข้อจำกัดด้านเวลาหรือการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน รวมถึงชาวบ้านบางส่วนไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ตลอดเวลา เนื่องจากสภาพอากาศร้อน ทำให้การหายใจไม่สะดวก นอกจากนั้นชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 และการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจัดตั้งโครงการเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ เพื่อให้คนในชุมชนและกลุ่มผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี

          นอกจากนี้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ยังส่งผลให้ทราบถึงความคิดเห็นของชาวบ้านตำบลตูมใหญ่เกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามาทุกชนิด เป็นวัคซีนที่มีคุณภาพ ได้มีการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขว่ามีความปลอดภัย และเป็นวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในทุกวันนี้ แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับตัววัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามา เนื่องจากมีการเสพข่าวสารในสื่อสังคม หรือโซเชียลมีเดียค่อนข้างมากและหลากหลายช่องทาง ส่งผลให้ทางคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมกับให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการลงชื่อเข้ารับวัคซีน การปฏิบัติตนก่อนและหลังการเข้ารับวัคซีน และผลข้างเคียงหลังจากการเข้ารับวัคซีน ให้กับผู้ใหญ่บ้านตำบลตูมใหญ่ทุกหมู่บ้าน ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับลูกบ้านหรือประชาชนในตำบลตูมใหญ่ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไป

4. ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

           จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนตุลาคม ในส่วนของการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พบปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของพยากรณ์อากาศ เนื่องจากเกิดพายุเข้า ส่งผลให้ในพื้นที่มีฝนตกหนักเป็นระยะเวลานานหลายวันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงแก้ไขปัญหาโดยการลงพื้นที่ในวันอื่นๆทดแทน

5. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

6. แผนการดำเนินงานต่อไป

          ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน

2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

4. การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค

5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

8. พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล

 

 

อื่นๆ

เมนู