บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1)
การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (U2T-SROI)
ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์ แก้วคำภา ประเภทนักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
- อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้า เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
- อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม
การปฏิบัติงานเดือนตุลาคม 2564 คณะอาจารย์ และทีมงาม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ มีการดำเนินงานในพื้นที่ ดังนี้
- การเก็บข้อมูลแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (U2T-SROI)
การเก็บข้อมูลแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมที่เหมาะสม และประเมินผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้ ทีมงาน AG01(1) ได้มีการเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้
1. ตำบลเป้าหมาย ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน และเกษตรกร
2. ลูกจ้างโครงการ ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต และประชาชน
3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ได้แก่ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
4. ชุมชนภายใน ได้แก่ ชุมชน วัด แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
5. ชุมชนภายนอก ได้แก่ ชุมชน แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน
6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้แก่ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในตำบล
7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
8. ผู้แทนตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อบต.ประจำตำบล หรือผู้ได้รับหมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล
9. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาลพัฒนาชุมชน และ รพ.สต.
10. หน่วยงาน อปท. ได้แก่ ตัวแทน อปท. มีส่วนร่วมดําเนินงานกับโครงการ เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. และเทศบาลตำบล
11. เอกชนในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก. และบริษัทภายในตำบล
- การติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลตูมใหญ่
ทีมงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ติดตามดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลตูมใหญ่ เพื่อนำผ้าทอมือส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สอดคล้องกับนโยบาย OTOP และเป็นสินค้าที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในตำบลตูมใหญ่ได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการทอผ้ามือจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม และกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่ พบปัญหาด้านการระบาดของ Covid-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากชาวบ้านต้องมีการระวังตัวค่อนข้างมาก และต้องมีการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี เพราะชาวบ้านกลัวคนจากต่างพื้นที่จะนำเชื้อมาแพร่กระจายในพื้นที่ของตน รวมถึงสภาพอากาศในขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝนผนวกกับมรสุมที่พัดผ่อน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้ง ทำให้เกิดอุปสรรคในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ทีมงานจึงต้องมีการวางแผนการเดินทางอย่างรอบคอบ
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในตำบลตูมใหญ่
1. ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชน
2. ได้เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนเพื่อให้เกิดความไว้ใจ และปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น
3. ได้เรียนรู้ถึงปัญหาจากการลงพื้นที่ และการแก้ปัญหา
4. ได้เรียนรู้การปรับตัวในการทำงานช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน
แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
- 1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
- 2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวิดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
- 3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
- 4. การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
- 5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- 6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- 7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
- 8. พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
AG01-1 Ep.09 กิจกรรมจิตอาสาและการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์