ข้าพเจ้า นางสาวเมธวี แคว้นไธสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ AG 02-(2) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์

หลักสูตร: AG02-(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ที่มาของการเริ่มลงทองบนผ้าไหมร้านกนกศิลป์ ไหมไทย
ผู้ลงเองพอมีความรู้ด้านศิลปะอยู่บ้างและสนใจในเสน่ห์ของผ้าไหมมานาน อีกทั้งยังมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่กับการผลิตผ้าไหมของครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งคุณย่าและแม่ของผู้ลงเป็นหนึ่งในชุมชนหลายๆคนที่มีความชำนาญในการทอผ้าไหม
ด้วยหน้าที่การงานในปัจจุบันของผู้ลงได้รับการสืบทอดธุรกิจผ้าไหมสืบจากเนื่องจากคุณย่าผู้ลงเองไม่ได้ลงทองแล้วเพราะวัยที่ชรา คุณย่าจึงสืบทอดการลงทองผ้าไหมให้แก่คุณ ธงชัย ลุ่มนอก สานต่อธุรกิจผ้าไหม

การลงทองผ้าไหม คือ การเพิ่มมูลค่าผ้าไหมมัดหมี่ธรรมดาทำให้ลายมีความโดดเด่น ซึ่งใช้ทองคำเปลวบดละเอียดผสมกาวยางพาราเคมีแบบดี ซึ่งราคาทองอยู่ที่กิโลละ1,000บาท และการลงทองแต่ละครั้งนั้น ใช้เวลา 1 ผืน ต่อ 1 วัน ราคาผืนละ 700 บาท

ลายที่นิยมลงทอง(ลายนกยูง)

    ิ์ 

วัสดุและอุปกรณ์
1 น้ำยางจากต้นไม้
2 ผงทอง
3 พู่กัน ขนาดเลือกได้ตามลวดลายที่ต้องการ ควรมีอย่างน้อย 2-3 อัน
4 ทินเนอร์ สำหรับแช่พู่กัน
วิธีการ
1 นำผ้าไหมวางบนโต๊ะที่มีความเรียบ ควรพับผ้าเป็นสองทบเพื่อให้ลดพื้นที่การทำงาน และลดการเกิดอุบัติเหตุสีหยดโดนผ้าไหม
2 ผสมอัตราส่วนทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยไม่ให้นำสีมีความหนืดและเหลวจนเกินไป
3 วาดลวดลายตามจินตนาการ
หมายเหตุ สีที่วาดลงบนผ้าไหมแห้งเร็วมาก ไม่สามารถแก้ไข ขูด ขัด หรือล้างออกได้ ต้องมีสมาธิในการเขียนตลอดเวลา

อื่นๆ

เมนู