1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. AGO1(1) บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 – การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

AGO1(1) บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 – การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

AGO1(1) บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 – การลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

 

          ดิฉัน นางสาวนารีรัตน์ ดวงนิล ผู้ปฏิบัติงานประจำพื้นที่ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเภทนักศึกษา โดยในเดือนตุลาคมนี้ได้มีการปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ และทีมงาม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ในการดำเนินงานในพื้นที่ ดังนี้

 

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ตำบลตูมใหญ่

          ทางทีมงานได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยในการเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้

  1. ตำบลเป้าหมาย ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน และเกษตรกร
  2. ลูกจ้างโครงการ ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต และประชาชน
  3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ได้แก่ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
  4. ชุมชนภายใน ได้แก่ ชุมชน วัด แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
  5. ชุมชนภายนอก ได้แก่ ชุมชน แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน
  6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้แก่ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในตำบล
  7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
  8. ผู้แทนตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อบต.ประจำตำบล หรือผู้ได้รับมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล
  9. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาล พัฒนาชุมชน และ รพ.สต.
  10. หน่วยงาน อปท. ได้แก่ ตัวแทน อปท. มีส่วนร่วมดําเนินงานกับโครงการ เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. และเทศบาลตำบล
  11. เอกชนในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก. และบริษัทภายในตำบล

          นอกจากนี้ดิฉันยังได้มีการร่วมปฏิบัติงานกับทีมงานในด้านอื่น ๆ ได้แก่ การติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประกอบไปด้วยกลุ่มวิสาหกิจผ้าทอมือจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม และกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา  ซึ่งความสำคัญของการนำผ้าทอมือส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) นั้น จะเป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ และเป็นสินค้าที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในตำบลตูมใหญ่ให้มีความเจริญ เป็นที่รู้จัก และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ นอกจากนี้ทางทีมงานยังได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันในการโปรโมตเพจเฟซบุ๊ก “ของดีตูมใหญ่” เพื่อเชิญชวนผู้คนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ทางโลกออนไลน์ ให้รู้จักกับสถานที่น่าสนใจ วัฒนธรรม ประเพณี และสินค้าต่าง ๆ ในตำบลตูมใหญ่ รวมทั้งสนับสนุนและช่วยเหลือร้านค้าต่าง ๆ ในตำบล โดยการเป็นพื้นที่ช่วยโปรโมตผ่านเพจดังกล่าวอีกด้วย

 

ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน

          ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานช่วงเดือนตุลาคมนี้ ประกอบด้วย ปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาด และมียอดผู้ป่วยในประเทศจำนวนหลายราย ก่อให้เกิดความวิตกกังวลในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งในด้านของผู้ปฏิบัติงานและด้านชุมชน และปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูมรสุม มีฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลต่อการเดินทางในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน

          สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม คือ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประสานงานกับชุมชน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน และแนวทางการป้องกันตนเองขณะลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19

 

แผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป

          การวางแผนการดำเนินงานต่อไปของทีม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ ในเดือนตุลาคม 2564 มีดังนี้

1) ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม

2) คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปสเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

3) ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักรักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

4) การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก

5) ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่

6) ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

7) นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

วิดีโอการปฏิบัติงานของกลุ่ม AG01(1) ประจำเดือนตุลาคม

……..(รอลิงก์)…..

อื่นๆ

เมนู