1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กิจกรรมเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI และกิจกรรมจิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืช กลุ่ม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กิจกรรมเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI และกิจกรรมจิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืช กลุ่ม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

กิจกรรมเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI

และกิจกรรมจิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืช

กลุ่ม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          กระผม นายณัฐวัตร วีระเกียรติคุณ ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกระทุ่ม บ้านกระทุ่มนอก บ้านกรูด บ้านโคกสำราญ บ้านแคนเจริญ บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านปะคำสำโรง บ้านเมืองกับ บ้านสวายสอ บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านหนองบัว บ้านหนองบัวพัฒนา บ้านหนองไผ่ดง และบ้านใหม่เจริญสุข ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบในเดือนตุลาคม

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ  AG01(1) .ตูมใหญ่ .คูเมือง .บุรีรัมย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้า เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) กระผมได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทำการศึกษาด้าน TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI

กิจกรรมการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI มีวัตถุประสงค์เป็นการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) และสามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้ โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการทั้งหมด 11 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 11 แบบสอบถาม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามดังนี้

  1. ตำบลเป้าหมาย เช่น ประธานวิสาหกิจชุมชน, ผู้นำชุมชน, เกษตรกร ตำบลละ 3 ราย
  2. ลูกจ้างโครงการ เช่น บัณฑิต, นักศึกษา, ประชาชน ตัวแทนกลุ่มละ 3 ราย
  3. ครอบครัวลูกจ้าง 1 ครอบครัวต่อตำบล
  4. ชุมชนภายใน เช่น ชุมชน, วัด, แหล่งการเกษตรในพื้นที่ชุมชน 1 รายต่อตำบล
  5. ชุมชนภายนอก เช่น ชุมชน, แหล่งการเกษตร, ร้านค้านอกพื้นที่ชุมชน 1 รายต่อตำบล
  6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในแต่ละตำบล 1 คนต่อ 1 แบบสอบถาม
  7. เจ้าหน้าที่โครงการ (USI) 1 คนต่อ USI
  8. ผู้แทนตำบล เช่น เจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล 1 คนต่อตำบล
  9. หน่วยงานรัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น พัฒนาชุมชน, รพ.สต. 1 คนต่อหน่วยงาน
  10. อปท. ตัวแทน อปท.ที่มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน 1 คนต่อตำบล
  11. เอกชนในพื้นที่ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 1 รายต่อตำบล

 

 กิจกรรมจิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืช

          กิจกรรมจิตอาสา มีการลงพื้นที่เขียนป้ายต้นไม้ จำนวน และบันทึกข้อมูลของต้นไม้บริเวณหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ แต่ละบริเวณที่มีการลงพื้นที่จะมีชนิด และจำนวนของต้นไม้ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชเพิ่มมากขึ้น โดยโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นโครงการที่ให้ความรู้และยังสามารถส่งต่อความรู้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชในพื้นที่ให้คงอยู่สืบต่อไป

ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

จากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในเดือนตุลาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดีถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ และการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่อยู่ในบริเวณชุมชน รวมไปถึงการใช้ช้อนกลางในการตักอาหารนำมารับประทาน ซึ่งทางตูมใหญ่ได้มีการจัดพื้นที่กักตัวสำหรับผู้ที่มาจากเขตพื้นที่สีแดง เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด

นอกจากนี้การลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลยังทำให้ทราบว่าชาวบ้านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบจากโรคโควิด-19 โดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านที่มีการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายสินค้าจะมีลูกค้าลดน้อยลงเนื่องจากไม่มีลูกค้ามาจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้ามากเท่าก่อนการเกิดโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวบ้าน และไม่ได้จำกัดอยู่แค่ชาวบ้านที่มีอาชีพค้าขาย แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 เช่นเดียวกัน

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

จากการลงพื้นที่ในเดือนตุลาคมพบว่า สภาพอากาศในเดือนตุลาคมค่อนข้างมีความแปรปรวนพยากรณ์อากาศไม่แน่นอนเพราะมีพายุเข้า ส่งผลให้เส้นทางบางพื้นที่ไม่สะดวกในการเดินทางเนื่องจากฝนตก และยังส่งผลต่อการลงพื้นที่กิจกรรมจิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชเนื่องจากพื้นดินมีน้ำขังทำให้ยากต่อการทำกิจกรรมในป่า จึงได้มีการแก้ไขปัญหาโดยการเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางบางจุดที่ยากต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่

          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมการลงพื้นที่ในเดือนตุลาคม ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดจากอุปสรรคเกี่ยวกับสภาพอากาศที่แปรปรวน การเดินทาง และการดำเนินงานในการติดต่อสื่อสารขอความร่วมมือกับชาวบ้านในการทำแบบสอบถาม

 แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
  6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
  8. พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล

          หมายเหตุ แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู