กระผม นายนรภัทร มะโน ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ กระผมและทีมงานได้ร่วมกับองค์กรบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมกันในการพัฒนาชุมชนทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน ผ่านกิจกรรมต่างๆที่ได้ดำเนินการแล้ว เช่น การจัดอบรมเพื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ กลุ่มทอผ้ามือ ตำบลตูมใหญ่ การเผยแพร่ความรู้เรื่องที่หน้าสนที่มีในตำบลตูมใหญ่ ผ่านFacbook เพจของดีตูมใหญ่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

  • อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ชนิดต่างๆ และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

        ในส่วนการฝึกทักษะ 4 ด้าน ด้านการเงิน ด้านดิจิตอล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านสังคมเสร็จสิ้นแล้ว และ ได้ทำการศึกษาด้าน TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์

การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

      จากการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลสำรวจต้นไม้จากป่าไม้ชุมชนทำเลเลี้ยงสัตว์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ร่วมกับองค์กรบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ทำให้ทราบถึงข้อมูลของพรรณไม้ ลักษณะของพรรณไม้แต่ละชนิด ร่วมประโยชน์ของพรรณไม้ที่สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งเป็น ยาสมุนไพร เป็นอาหาร หรืออื่นๆอีกมากมาย โดยทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่ในป่าไม้ชุมชนทำเลเลี้ยงสัตว์ มีพรรณไม้ต่างๆมากมาย มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้เถาวัลย์ ไม้เลื้อย เช่น ต้นแดง ต้นมะค้าแต้ ต้นติ้ว ต้นประดู่ เป็นต้น นอกจากนี้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯยังแสดงให้เห็นถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีในชุมชนและเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ที่เหลือน้อยให้คงอยู่ต่อไป

 

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

       การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนาการประเมินผลตอบแทนทางสังคมของโครงการเพื่อตอบโจทย์ความคุ้มค่าของการลงทุนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม

โดยโดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้

  1. ตำบลเป้าหมาย
  2. ลูกจ้างโครงการ
  3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
  4. ชุมชนภายใน
  5. ชุมชนภายนอก
  6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
  7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI
  8. ผู้แทนตำบล
  9. หน่วยงานภาครัฐ
  10. หน่วยงาน อปท.
  11. เอกชนในพื้นที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์

    

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

     จากการลงพื้นที่ทำให้ทราบถึงการใช้ชีวิตของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดย  คนในชุมชนแม้ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19อย่างต่อเนื่อง แต่คนในชุมชนหลายส่วนได้รับวัคซีนแล้ว ทั้งกลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และคนในชุมชนรวมถึงนักเรียน ที่พึ่งได้รับการชีดวัคซีน ทำให้เขาส่วนใหญ่ในชุมชนเริ่มออกมาใช้ชีวิตแบบปกติมากขึ้น เช่น การเดินตลาด การทานอาหารที่ร้านอาหาร การเลือกซื้อของตามร้านค้า  เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามคนในชุมชนยังคงสวมแมสเพื่อป้องกัน และ ใช้เจลล้างมือตลอดเวลา เพื่อป้องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

     ปัญหาที่พบจากการลงพื้นที่ภายในเดือนตุลาคม เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่สภาพมีการเปลี่ยนแปลง มีฝนตกติดกันหลายวันจึงทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้สะดวก รวมถึงสถานะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ยังมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่รวมกลุ่มของคนจำนวนมากได้ และ ต้องสวมแมสระวังตัวเองทุกครั้งที่ทำการลงพื้นที่

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่

     ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่การทำงาน การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

แผนการดำเนินงานต่อไป

          ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปสเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. การ​เผยแพร่​สื่อประชาสัมพันธ์​การท่องเที่ยวและการพัฒนา​ตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์​ชุมชนผ่าน​แพลตฟอร์ม​เฟสบุ๊ค
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่
  6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

อื่นๆ

เมนู