1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 การเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 การเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

การเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉัน นางสาวพัชริดา แก้วกูล ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติงานดิฉันได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

1. กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

          อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

          ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน และด้านสังคม ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

          การเก็บข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมที่เหมาะสม และประเมินผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ

การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

          จากการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนร่วมกับคณะองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่และปราชญ์ชาวบ้าน ส่งผลให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและคนในชุมชนที่เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ และส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงพันธุ์พืชแต่ละชนิดที่มีลักษณะเด่นและสรรพคุณที่มีความแตกต่างกันไป

3. ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

          จากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในเดือนตุลาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหมู่บ้าน การเข้าวัดทำบุญ การจ่ายตลาดในชุมชน รวมไปถึงการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

4. ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนตุลาคม ในส่วนของการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พบปัญหาด้านความเข้าใจเนื่องจากเป็นสมาชิกใหม่ที่พึ่งเข้าร่วมโครงการ และพบการเปลี่ยนแปลงของพยากรณ์อากาศ เนื่องจากเกิดพายุเข้า ส่งผลให้ในพื้นที่มีฝนตกหนักเป็นระยะเวลานานหลายวันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงแก้ไขปัญหาโดยการลงพื้นที่ในวันอื่นๆทดแทน

5. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม ได้เรียนรู้พันธุ์ไม้ต่างๆ และได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

6. แผนการดำเนินงานต่อไป

          ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน

2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปสเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

4. การ​เผยแพร่​สื่อประชาสัมพันธ์​การท่องเที่ยวและการพัฒนา​ตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์​ชุมชนผ่าน​แพลตฟอร์ม​เฟสบุ๊ค

5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่

6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

8.พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

 

อื่นๆ

เมนู