ดิฉันนางสาวแพรทอง เอี่ยมศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
ทีมงาน AG01(2) ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
สอนงานน้องสมาชิกใหม่ บอกรายละเอียดของการทำงาน
– วิธีและขั้นตอนการเขียนบทความประจำเดือน
– การเขียนรายงานประจำเดือน
– พูดคุยถึงเรื่องการทำงานของเดือนที่ผ่านๆมา และแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป
ประสานงานกับผู้นำชุมชนและประธานกลุ่มทอผ้าไหม เรื่อง ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T)
ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T)
– ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามกลุ่มตำบลเป้าหมาย คือกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโคกเมฆ
– ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามกลุ่มตำบลเป้าหมาย นางสาวกรองจิต ทะนงอาจ ผู้นำชุมชนบ้านโคกเมฆ
ลงพื้นที่ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม จังหวัดบุรีรัมย์
– ลงพื้นที่สถานที่ผลิตผ้าไหมทั้ง 4 กลุ่ม
– เซ็นเอกสารเพิ่มเติม
– แจ้งรายละเอียดของการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มผช.
สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานไตรมาสประจำเดือน กันยายน พร้อมกับนำเสนอต่อคณะกรรมการ โดยนำเสนอผ่านทางระบบออนไลน์
ถ่ายภาพผ้าไหมและอาหารของตำบลบ้านคู เพื่อลงในเพจ facebook ของตำบลบ้านคู
ชื่อเพจ บ้านผ้าไหม ผักอินทรีย์ รวมของดีตำบลบ้านคู
ถ่ายภาพอาหารร้านครัวคุนแม่ที่จะลงขายในเพจ facebook ของตำบลบ้านคู
ถ่ายภาพอาหารร้านครัวแม่ศรีที่จะลงขายในเพจ facebook ของตำบลบ้านคู
ถ่ายภาพผ้าไหมลายขอสิริวัลวลีจะลงขายในเพจ facebook ของตำบลบ้านคู
ถ่ายภาพผ้าไหมลายปลาซิวจะลงขายในเพจ facebook ของตำบลบ้านคู
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.การทำงานเป็นทีมมีความรักความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2.ทำให้กลุ่มสมาชิกทอผ้าและกลุ่มผักอินทรีย์ มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นมามากขึ้น
3.วิถีชีวิตของคนในชุมชนเรียบง่ายและอยู่อย่างพอเพียงและมีวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง
4.ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยของโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนในชุมชน
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
- คืนข้อมูลและองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ Standee การท่องเที่ยวของตำบลบ้านคูให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และมอบกล่องบรรจุภัณฑ์ผ้าไหม ตรายาง STICKER ให้กับกลุ่มทอผ้าไหมและกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษของตำบลบ้านคู
- คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว VDO 1 Day trip
- พัฒนาด้านการตลาด การท่องเที่ยว ผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ และผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ
- ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ เพื่อจัดกิจกรรมการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลบ้านคู
- ติดตามผลการดำเนินงานมาตรฐานผ้า เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ และดำเนินการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนให้แก่กลุ่มทอผ้าไหม บ้านโนนตะคร้อ บ้านโนนสะอาด บ้านทุ่งบ่อ บ้านโคกเมฆ และกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด
- ติดตามผลการดำเนินงานกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด เรื่องน้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ปุ๋ยหมักกลับกองกับทางสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อต่อยอดไปสู่กระบวนการเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล
หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าตรวจสถานที่ผลิตผ้าไหมทั้ง 4 กลุ่ม
สอนงานน้องสมาชิกใหม่ บอกรายละเอียดของการเขียนบทความประจำเดือนและเขียนรายงานประจำเดือน
ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T)