1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวปิ่นญาภา แนบทางดี ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ในการปฏิบัติงานดิฉันได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ และ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ในส่วนของกิจกรรมการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ดิฉันได้รับผิดชอบ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองกระทุ่ม บ้านกระทุ่มนอก บ้านใหม่เจริญสุข และบ้านปะคำสำโรง และมีการลงพื้นที่ติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือของกลุ่มผ้าไหมทอมือบ้านหนองดุมเพื่อเป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและผู้สวมใส่

         กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้า เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทำการศึกษาด้าน TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์

         ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน

ได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านสังคม  ด้านภาษาอังกฤษ  ด้านการเงิน และด้านดิจิทัล    ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด

         การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

การนำผ้าทอมือส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สอดคล้องกับนโยบาย OTOP และเป็นสินค้าที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในตำบลตูมใหญ่ได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการทอผ้ามือจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย  กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม    กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา

         กล้วยเบรกแตกบ้านใหม่เจริญสุข

กล้วยเบรกแตกบ้านใหม่เจริญสุข เป็นการร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของหมู่บ้าน ซึ่งมีผู้ดูแล คือ   นายสมพร ดารินรัมย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านใหม่เจริญสุข และเป็นประธานของกลุ่มวิสาหกิจ  กล้วยเบรกแตกบ้านใหม่เจริญสุขเป็นกล้วยเบรกแตกสูตรดั้งเดิมซึ่งมี “แม่แดง” เป็นคนในชุมชนมีฝีมือทางด้านการทำขนมต่างๆ ได้นำสูตรการทำกล้วยเบรกแตกมาถ่ายทอดให้กับกลุ่มวิสาหกิจบ้านใหม่เจริญสุข ซึ่งตอนแรกกล้วยเบรกแตกสูตรของ“แม่แดง”มีเพียง 1 ชนิด เท่านั้น คือ รสหวาน ต่อมาทางกลุ่มได้มีการดัดแปลงสูตรของ“แม่แดง”เพื่อให้มีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น เป็น 4 รสชาติ คือ

  • รสดั้งเดิม
  • รสหวาน
  • รสเค็ม
  • รส 3 รส

ซึ่งกล้วยทีใช้ในการทำกล้วยฉาบที่ 4 รสชาติ ได้แก่ กล้วยเปลือกหนา กล้วยหักมุก กล้วยไข่ กล้วยน้ำหว้า และกล้วยหอมทอง ซึ่งการทำกล้วยฉาบนั้นส่วนใหญ่จะใช้กล้วยที่ไม่ดิบและไม่สุกจนเกินไปถึงแม้จะสุขก็ไม่นิ่มมาก และเมื่อตัดกล้วยเสร็จแล้วทางกลุ่มวิสาหกิจนิยมที่จะใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน เนื่องจากหากตัดกล้วยเกิน 2 วันแล้วกล้วยจะนิ่มและสุขใช้ทำกล้วยฉาบไม่ได้

 

         ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนตุลาคมพบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 1 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังปฏิบัติตามมาตรการของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด

         สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

         แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
  6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
  8. พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล

อื่นๆ

เมนู