ข้าพเจ้านางสาวปิยะธิดา เดชนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG 02(2) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร : AG02(2)โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โรคไหม้ข้าวเกิดจากเชื้อรา  พบระบาดมากในนาน้ำฝน และในช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง กลางคืนมีความขึ้นสูง กลางวันอากาศร้อน ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการระบาดของโรคไหม้ข้าว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม

ลักษณะอาการ
ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ าตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ ๒ – ๕
มิลลิเมตร และความยาวประมาณ ๑๐ – ๑๕ มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรค
รุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของล่าต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า
แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ าสีน้ าตาลด่า และมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าท าลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็น
โรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ าสีน้ าตาลที่บริเวณคอรวง ท าให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่น
เสียหายมาก
การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ท าให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวัน
และชื้นจัดในตอนกลางคืน ลมแรงจะแพร่กระจายโรคได้ดี

 

วิธีการป้องกันก าจัด ดังนี้
๑. ส ารวจแปลงนา อย่างสม่ าเสมอถ้าพบอาการของโรคไหม้ข้าวควรปฏิบัติ ดังนี้
– พ่นเชื้อบีเอส (บาซิลลัส ซับทีลิส) อัตราตามค าแนะน าในฉลาก
– พ่นเชื้อไตรโครเดอร์มาอัตรา ๑ กิโลกรัมต่อน้ า ๒๐๐ ลิตร
๒. ถ้ามีความจ าเป็นให้ใช้สารเคมีพ่นเฉพาะบริเวณที่พบการระบาดเพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อราแพร่กระจายขยาย
เป็นวงกว้างออกไป สารเคมีที่แนะน ามี ดังนี้

– อิดิเฟนฟอส ๕๐ เปอร์เซ็นต์อีซี อัตรา ๒๐ – ๒๕ ซีซี ผสมน้ า ๒๐ ลิตร
– บลาสติซิดิน – เอส ๒ เปอร์เซ็นต์อีซี อัตรา ๒๐ – ๒๕ ซีซี ผสมน้ า ๒๐ ลิตร
– ไตรไซคราโซล ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพีอัตรา ๑๐ – ๑๖ กรัม ผสมน้ า ๒๐ ลิตร
ควรพ่นในแปลงข้าวที่มีประวัติว่าเคยมีโรคระบาดมาก่อน การใช้สารเคมีพ่นซ้ ากันหลายครั้งเชื้อราจะ
ต้านทานสารเคมีหรือดื้อยา ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราต้านทานสารเคมี จึงควรเลือกใช้สารเคมีบางชนิดพ่นสลับกัน
ทั้งนี้ในการใช้สารเคมีควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และค านึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้และสภาพแวดล้อม
ในฤดูถัดไป
๑. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันก าจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล คาซูกาไมซิน คาร์เบนดาซิมโพรคลอราซ
อัตราตามค าแนะน าในฉลาก
๒. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม ๑๕ – ๒๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

 

                           

 

 

อื่นๆ

เมนู