บทความประจำเดือนตุลาคม 2564
การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ
การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม
และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน
กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การติดตามการดำเนินงานการทอผ้าขาวม้าบ้านตูมน้อย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวรินลดา แทนพลกรัง ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายติดตามการดำเนินงานปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบลงพื้นสำรวจกลุ่มทอผ้าไหม บ้านตูมน้อย บ้านปะคำ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายในการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจด้านการทอผ้าไทยให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและเป็นอาชีพหลักที่หารายได้ให้คนในชุมชน
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
คณะ AG01(1) – อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่จิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T-SROI ตามที่มาหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
คณะ AG01(1) – คณะผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้าขาวม้าบ้านตูมน้อย
คณะ AG01(1) – จัดทำบทความประจำเดือน ตุลาคม
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านและTDGA ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะครบ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
กลุ่มทอผ้ามือทั้งหมดจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มทอผ้าไทยบ้านตูมน้อย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
2.กลุ่มสาธรผ้าไทย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
3.กลุ่มทอผ้าไทยบ้านหนองดุม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
โดยทั้ง 3กลุ่มทำการส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)เป็นที่เรียบร้อยและทำการตรวจผ้าเรียบร้อยอย่างถูกต้องอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการตามขั้นตอนการของผลิตภัณฑ์ชุมชน
การดำเนินการทอผ้าไทย ทั้ง 3 กลุ่ม
กลุ่มการทอผ้าไทย (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ทั้ง 3 หมู่บ้าน มีสมาชิกทั้งหมดรวม 75 คน ซึ่งจะมีทั้งสมาชิกที่ทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย การทอผ้าไทย สมาชิกจะทอผ้าที่บ้านของตนเอง ไม่ได้รวมกลุ่มกันทำ แต่เมื่อมีการประชุมประจำเดือนสมาชิกถึงจะรวมกลุ่มกันทอผ้า การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ เป็นการจดแบบต่อเนื่องทุกปี เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแต่ยังไม่เป็นสินค้า OTOP
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในตำบลตูมใหญ่ รู้เกี่ยวกับโรคระบาดแต่ไม่รู้ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคโควิค-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การกินอาหาร วิธีการล้างมือ การออกจากพื้นที่เสี่ยง การเว้นระยะห่าง ทำให้คนในชุมชนตื่นตระหนกในช่วงแรกที่มีโรคระบาดเข้ามาในจังหวัดส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพค้าขายการเดินทางไปทำงานของคนในชุมชน
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม พบปัญหาด้านสำรวจกลุ่มทอผ้าไหมทอมือเนื่องจากตำบลตูมใหญ่มีผู้ติดเชื้อโควิด ในหมู่บ้านที่ทอผ้าจำนวนหลายราย ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มทอผ้าไหมทอมือได้ไม่เต็มที่ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติทุกคนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและรักษาสุขภาพ จึงมีผู้นำชุมชนและ อสม.คัดกรองก่อนเข้าและออกจากพื้นที่ตลอดเวลา
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
-ได้เรียนรู้ถึงการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
-ได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขสถานการณ์ หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้า
-ได้ทราบถึงการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของคนในชุมชน ความต้องการ ที่จะพัฒนาของกลุ่มทอผ้า
แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือน พฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
- ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
- คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
- ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
4.การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
- ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
- พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19