1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กลุ่ม AG01(2) เก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้นำ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564 กลุ่ม AG01(2) เก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้นำ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางศรัณย์พร พลแสน  ประชาชน ตำบลบ้านคู  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่บ้านทุ่งบ่อและบ้านโคกเมฆเพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ( U2T ) กับผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนกลุ่มทอผ้าไหม  โดยแบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)


ภาพประชุมวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานก่อนลงพื้นที่

             ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ได้รับประโยชน์และมีการเปลี่ยนแปลงในระดับใด  โดยสอบถามจาก นางสาวองศา  ใจเที่ยง  ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งบ่อ และนางทองสัว  มาตรนอก  ตัวแทนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านทุ่งบ่อ  นางสาวกรองจิต  ทะนงอาจ  ผู้ใหญ่บ้านบ้านโคกเมฆ และนางบุญเพ็ง  หมื่นไธสง  ตัวแทนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโคกเมฆ  ผลปรากฏว่าทุกท่านให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี  และยังมีข้อแนะนำข้อเสนอแนะเป็นที่น่าสนใจ เช่น  การทำระบบน้ำในหมู่บ้านให้เพียงพอต่อการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์  ทุกท่านได้ประโยชน์จากการอบรมและปฏิบัติจริง  เช่น  การออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือได้ออกแบบผ้าไหมลายใหม่  การทำผ้านุ่ม  ผ้าลื่น  ผ้าหอม  แต่ก่อนยังไม่มีการอบรมขายผ้าไหมได้ผืนละ  1800 – 2000  บาท  เมื่อได้อบรมแล้วจะขายผ้าได้ผืนละ  2300 -2500 บาท  เป็นการเพิ่มมูลค่าของผ้าทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นที่สนใจของลูกค้าทั่วไป


ภาพลงพื้นที่สอบถามข้อมูลหน่วยงาน อปท. นางสาวองศา  ใจเที่ยง  ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งบ่อ

 



ภาพลงพื้นที่สอบถามข้อมูลตำบลเป้าหมาย นางทองสัว  มาตรนอก  สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านทุ่งบ่อ

 


ภาพลงพื้นที่สอบถามข้อมูลหน่วยงาน อปท. นางสาวกรองจิต  ทะนงอาจ  ผู้ใหญ่บ้านบ้านโคกเมฆ

 


ภาพลงพื้นที่สอบถามข้อมูลตำบลเป้าหมาย นางบุญเพ็ง  หมื่นไธสง ประธานกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโคกเมฆ

 


ภาพลงพื้นที่ดูผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของตำบลบ้านคู

            นอกจากนี้ดิฉันยังได้ลงพื้นที่ดูน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักกลับกอง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด ที่ได้ทำไว้ในวันอบรมที่ผ่านมาว่ามีการเปลี่ยนสีเป็นสีแดงหรือไม่ และพบว่าส่วนใหญ่เป็นสีแดงแล้ว


ภาพลงพื้นที่ติดตามผลปุ๋ยหมักกลับกองและจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง บ้านโนนสะอาด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การทำงานเป็นทีมมีความรักความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • วิถีชีวิตของคนในชุมชนเรียบง่ายและอยู่อย่างพอเพียงและมีวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง
  • ชุมชนมีส่วนร่วมในการปฏบัติงานมากขึ้น
  • ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยของโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนในชุมชน
  • มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
  • สร้างมาตรฐานสินค้าขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช.)

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

มีแผนการดำเนินงานต่อไป ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  2. คืนข้อมูลและองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ Standee การท่องเที่ยวของตำบลบ้านคูให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และมอบกล่องบรรจุภัณฑ์ผ้าไหม ตรายาง STICKER ให้กับกลุ่มทอผ้าไหมและกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษของตำบลบ้านคู
  3. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว VDO 1 Day trip
  4. พัฒนาด้านการตลาด การท่องเที่ยว ผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ และผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ เพื่อจัดกิจกรรมการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลบ้านคู
  6. ติดตามผลการดำเนินงานมาตรฐานผ้า เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ และดำเนินการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนให้แก่กลุ่มทอผ้าไหม บ้านโนนตะคร้อ บ้านโนนสะอาด บ้านทุ่งบ่อ บ้านโคกเมฆ และกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด
  7. ติดตามผลการดำเนินงานกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด เรื่องน้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ปุ๋ยหมักกลับกองกับทางสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อต่อยอดไปสู่กระบวนการเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ
  8. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

อื่นๆ

เมนู