บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

และการลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวธีรฎา สร้อยสูงเนิน ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – ธันวาคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ และการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ณ บ้านตูมใหญ่ บ้านตูมน้อย บ้านโนนเจริญ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองดุม ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T – SROI

1.กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1)

         อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ และทำความรู้จักกับสมาชิกในกลุ่มทั้งสมาชิกเก่า และสมาชิกใหม่ และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยทำการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ (Google Meet)

         คณะผู้ปฏิบัติงาน ได้นัดหมายลงพื้นที่ติดป้ายต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ  ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

         คณะผู้ปฏิบัติงานได้จัดประชุมปรึกษาหารือในการลงพื้นที่การเก็บข้อมูลตามที่อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้ ซึ่งเป็นแบบสอบถาม U2T – SROI คณะผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมายแบ่งฝ่ายงาน ตามความเหมาะสม และแบ่งกลุ่มออกสำรวจเขตพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ และดิฉันได้รับผิดชอบงานเก็บรวบรวมข้อมูล ณ บ้านตูมใหญ่ บ้านตูมน้อย บ้านโนนเจริญ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองดุม ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T – SROI

         ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบทุกทักษะ

2. ผลวิเคราะห์จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน และการประเมินผลกทบทางเศรษฐกิจและสังคม

2.1 การลงพื้นที่เก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

               จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนร่วมกับคณะองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่และปราชญ์ชาวบ้าน ส่งผลให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและคนในชุมชนที่เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ และส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงพันธุ์พืชแต่ละชนิดที่มีลักษณะเด่นและสรรพคุณที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ทั้งเถาวัลย์ ไม้เลื้อย และไม้ยืนต้น อาทิ ต้นติ้ว ต้นดูกหิน ต้นประดู่ ต้นไข่เน่า ต้นโพธิ์  ต้นสะเดา ต้นเครือไทรโยง และต้นเครือผักหวาน เป็นต้น ซึ่งป่าไม้ชุมชนนี้สามารถพัฒนาต่อยอดและจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เชิงธรรมชาติของตำบลตูมใหญ่ได้ จึงควรแก่การอนุรักษ์ไว้ต่อไป   

      

2.2 การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

               การเก็บข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมที่เหมาะสม และประเมินผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้

    1. ตำบลเป้าหมาย                   ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน และเกษตรกร
    2. ลูกจ้างโครงการ                   ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต และประชาชน
    3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ   ได้แก่ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
    4. ชุมชนภายใน                       ได้แก่ ชุมชน วัด แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
    5. ชุมชนภายนอก                    ได้แก่ ชุมชน แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน
    6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ       ได้แก่ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในตำบล
    7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI       ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
    8. ผู้แทนตำบล                         ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อบต.ประจำตำบล หรือผู้ได้รับหมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล
    9. หน่วยงานภาครัฐ                  ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาลพัฒนาชุมชน และ รพ.สต.
    10. หน่วยงาน อปท.                   ได้แก่ ตัวแทน อปท. มีส่วนร่วมดําเนินงานกับโครงการ เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. และเทศบาลตำบล
    11. เอกชนในพื้นที่                     ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น  ร้านขาย วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ภายในตำบล

 

3. ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

         ปัญหาและอุปสรรคในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของดิฉันคือ ไม่ทราบเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการมาที่ปฏิบัติมาก่อนหน้า และในเรื่องของการทำงาน ด้วยความที่ดิฉันเป็นสมาชิกใหม่จึงต้องศึกษา เรียนรู้งานจากทีมปฏิบัติงานค่อนข้างมาก การลงพื้นที่ติดป้ายต้นไม้ได้ดำเนินงานลุล่วงผ่านไปได้ด้วยดี เนื่องจากทีมปฏิบัติงานคอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาในการทำงาน

4. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

         จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และได้เรียนรู้การดำเนินงานของโครงการจากทีมปฏิบัติงานรวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

5. แผนการในการดำเนินงานต่อไป

       ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
  6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
  8. พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล                                                                                                                                                                                        หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู