บทความประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 กลุ่ม AG01(1)
การลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T-SROI และ
กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ในท้องถิ่นในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
นายธงชัย ปัสยัง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายติดตามการดำเนินงานปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบลงพื้นสำรวจเก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T-SROIตำบล ทั้ง 19 หมู่บ้าน ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายในการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจด้านอาชีพใหม่ของพื้นที่ตำบลตูมใหญ่
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่จิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คณะ AG01(1) – อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T-SROI ตามที่มาหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
คณะ AG01(1) – คณะผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้าบ้านหนองดุม
คณะ AG01(1) – จัดทำบทความประจำเดือน ตุลาคม
การฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านและTDGA ได้เข้าไปฝึกทักษะครบ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด
การลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และสัตว์ในท้องถิ่น
ผลจากการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนร่วมกับคณะ อบต. ตูมใหญ่ ทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบุกรุกของคนในพื้นที่ทำให้ป่าไม้และพื้นที่ป่าหายไปจึงเกิดโครงการพัฒนาชุมชนโดยทางอบต. ตูมใหญ่มองเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ในพื้นที่จึงเกิดโครงการพัฒนาชุมชนเพื่อปลูกฝังให้ชาวบ้านอนุรักษ์ป่าเพื่อไว้ให้บุตรลูกหลานไว้ศึกษาต่อไป การลงพื้นที่พัฒนาชุมชนทำให้ทราบถึง ความแตกต่างของชนิดพันธุ์ไม้ ต่างกันอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร ผลการลงพื้นที่สำรวจสัตว์ในท้องถิ่นที่น่าสนใจ ส่งผลให้ทราบว่าสัตว์ในท้องถิ่นจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้บริโภคส่วนใหญ่ เช่น วัว สุกร หนู ไก่ เป็ด ห่าน แพะ เป็นต้น และสัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งานเช่น สุนัข กระบือ ม้า ส่วนใหญ่ชาวบ้านตำบลตูมใหญ่จะเลี้ยงสุกรเป็นส่วนมากรายได้จากการเลี้ยงสุกรค่อนข้างที่จะมีราคาเนื่องจากมีเขียงหมูในตำบลเป็นจำนวนมาก
การลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม U2T-SROI แบบสอบมีดังนี้
-ตำบลเป้าหมาย -ลูกจ้างโครงการ
-ครอบครัวลูกจ้างโครงการ -ชุมชนภายใน
-ชุมชนภายนอก -ผู้แทนตำบล
-หน่วยงานภาครัฐ -หน่วยงาน อปท. -เอกชนในพื้นที่ (ร้านค้า)
จากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม พบว่า ทุกคนและทุกหน่วยงาน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีความคิดเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของโครงการช่วยเพิ่มองค์ความรู้และพัฒนาทักษะให้แก่ชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ สมาชิกทุกคนในโครงการให้ความร่วมมือร่วมใจและจัดกิจกรรมออกมาได้เป็นอย่างดี อยากให้โครงการ U2T มีระยะเวลาดำเนินโครงการที่ยาวนานขึ้นกว่าเดิม และ สมาชิกในโครงการยังเป็นคนเดิมเพราะ คุ้นเคยกันแล้ว สามารถลงพื้นที่และจัดกิจกรรมได้สะดวก มีประสิทธิภาพ
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลปัญหาที่พบเจอในขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลนั้น คือ ประชาชน ชาวบ้านได้ออกไปประกอบอาชีพ จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นบางครัวเรือน ผมพร้อมทีมงานจึงตกลงเห็นพ้องกันว่าจะมาเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ตกสำรวจเพิ่มเติมในวันถัดไปและได้ทำการลงพื้นที่ติดต่อขอข้อมูลกับทางผู้นำชุมชนในบางส่วน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่
- ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาขณะลงพื้นที่จริง
- ได้เรียนรู้จากการประสานงานกับหน่วยงาน
- ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลด้านสัตว์ในท้องถิ่น
- ได้เรียนรู้ถึงปัญหาการลงพื้นที่ในช่วงโควิดระบาด
แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือน พฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
- ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
- คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
- ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
4.การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
- ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
- พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19