1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนและการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI)

การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนและการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI)

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

 

การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนและการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI)

 

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564

       กระผม นายวุฒิพงษ์ โมรารัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

       ในการปฏิบัติงานกระผมได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือกลุ่มตูมน้อยผ้าไทย การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนและการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) กระผมได้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูล จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตูมใหญ่ บ้านตูมน้อย บ้านแคนเจริญ บ้านหนองดุมและบ้านโนนเจริญ มีการลงพื้นที่ติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทยเพื่อเป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและมีการจัดกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยีสามารถเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอได้

 

1.กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

       อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

       คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการทอผ้า เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

       คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่ประสานงานกับผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน เกษตรกร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน เพื่อขอข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

       คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

       อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

หมายเหตุ : ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่และคณะครูโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมทุกครั้ง

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน กระผมได้ทำการฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน และได้เข้าไปศึกษา TDGA เพิ่มเติม ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

2.การติดตามการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าผ้าทอมือ

       การนำผ้าทอมือส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สอดคล้องกับนโยบาย OTOP และเป็นสินค้าที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในตำบลตูมใหญ่ได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการทอผ้ามือจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

     1.กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย  

     2.กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม

     3.กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา

 

 

การลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชน

 

 

3.การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI)

        การเก็บข้อมูลในการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมที่เหมาะสม และประเมินผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้

  • ตำบลเป้าหมาย ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นําชุมชน และเกษตรกร
  • ลูกจ้างโครงการ ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต และประชาชน
  • ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ได้แก่ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
  • ชุมชนภายใน ได้แก่ ชุมชน วัด แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
  • ชุมชนภายนอก ได้แก่ ชุมชน แหล่งการเกษตร และร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน
  • อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้แก่ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในตำบล
  • เจ้าหน้าที่โครงการ USI ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
  • ผู้แทนตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อบต.ประจำตำบล หรือผู้ได้รับหมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล
  • หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาลพัฒนาชุมชน และ รพ.สต.
  • หน่วยงาน อปท. ได้แก่ ตัวแทน อปท. มีส่วนร่วมดําเนินงานกับโครงการ เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. และเทศบาลตำบล
  • เอกชนในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก. และบริษัทภายในตำบล

 

4.กิจกรรมเพิ่มเติม       

       ช่วยกลุ่มสัมมาชีพบ้านใหม่เจริญสุขในการวัตถุดิบมาทำผลิตภัณฑ์ คือกล้วยฉาบ และช่วยทางกลุ่มในการทำกล้วยฉาบ   

 

5.ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

       ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนตุลาคมพบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 1 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังปฏิบัติตามมาตรการของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด

 

6.ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

       จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนตุลาคม ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 1 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นส่งผลกระทบถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมข่อนข้างล่าช้ากว่าปกติ รวมไปถึงการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ในการติดป้ายต้นไม้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงฤดูฝนยังมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้และอ่าวไทยในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคมที่ผ่านมา สวนร่องมรสุมพัดผ่านส่งผลให้มีฝนตกหนักบางแห่งในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่กิจกรรมนี้จึงมีความล่าช้ากว่ากำหนด แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ทุกคนได้เลื่อนกิจกรรมนี้ออกไปไม่มีกำหนดเพื่อรักษาสุขภาพและความปลอดภัยระหว่างการเดินทาง

 

7.สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

       จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

 

8.แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  • ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  • คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  • ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  • การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
  • ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ อาทิ การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
  • ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
  • พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล        

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส Covid-19

                      

อื่นๆ

เมนู