1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) การอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) การอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

บทความประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กลุ่ม AG01(1)

การอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉันนางสาวดุจเดือน ดูเรืองรัมย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายติดตามการดำเนินงานปฏิบัติหน้าที่เข้าจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายในการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจด้านอาชีพใหม่ให้ชาวบ้านในชุมชนเป็นอาชีพหลักที่หารายได้ให้คนในชุมชน

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

คณะ AG01(1) –  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานใน เดือนพฤศจิกายน 2564

คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่จัดหาอุปกรณ์และวัตถุดิบในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์“

คณะ AG01(1) – คณะผู้ปฏิบัติงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์“

คณะ AG01(1) – จัดทำบทความประจำเดือน พฤศจิกายน

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านและTDGA ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะครบ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด

การทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์

หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบนํ้า ในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่สามารถถนอมไว้ใช้ได้ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก
– เครื่องตัดหญ้า หรือเครื่องสับหญ้า
– ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสำหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก
– สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากนํ้าตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จำเป็นต้องเสริม
– ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก

วัตถุดิบและจำนวนโปรตีน

มันสําปะหลัง 2%         ข้าวโพด 8%                       ปลายข้าว 12 %
รำผสม 12%                 ใบมันสำปะ 20-21%           แพงโกล่า 22%
กากถั่วเหลือง  38%    ปลาป่น 60%                       ยูเรีย
ปุ๋ยเกลือ 20%               หญ้าขน  8%                     เนเปียร์

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

-การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดีและหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด

-การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก

– เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง

– หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดนํ้าในภาชนะหมักมากเกินไปและหญ้าหมักเก็บได้ไม่นานให้หญ้าหมักเสียได้

ที่มา : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน พบปัญหาการจัดอบรมเนื่องจากตำบลตูมใหญ่เป็นพื้นที่ทำเกษตรกรเป็นจำนวนมากผู้เข้าอบรมจึงสนใจที่จะเข้าอบรมมากทางผู้ปฏิบัติงานจึงต้องจัดสถานที่อบรมแบบเว้นระยะเพื่อตอบสนองของณโยบายทางตำบลและทางทีมงานได้จัดอบรมได้อย่างราบรื่นเป็นที่เรียบร้อย

สิ่งที่ได้เรียนรู้       

-ได้เรียนรู้ถึงการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

-ได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขสถานการณ์ หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้า

-ได้ทราบถึงการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของคนในชุมชน ความต้องการ ที่จะพัฒนาของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่

แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนธันวาคม2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู