บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น
และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์
กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
กระผม นายเอกวรนันท์ เครื่องไธสง ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข
ในการปฏิบัติงานดิฉันและสมาชิกคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการพัฒนาการสื่อสารในการนำเสนอเรื่องเล่าที่กระตุ้นความสนใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมไปถึงการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ให้กับคนในชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้หลักหรือรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว ทำให้เกิดรายได้ในชุมชนและชุมชนรอบข้างจนถึงระดับจังหวัดและภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน
- กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์
มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่พบเจอในสัตว์ ภายใต้กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์
มีการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้สถานที่หอประชุมในการจัดกิจกรรมการอบรมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ จำนวน 2 ครั้ง”
อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน
ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) กระผมได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น” และ “กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์”
2.1 กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น
การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสวิถีชุมชนแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจในการสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในระหว่างการท่องเที่ยว และสนใจเรื่องเล่าที่อยู่เบื้องหลังการท่องเที่ยว เรื่องเล่าจึงกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเพื่อเรียนรู้ สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ร่วมกับชุมชนและเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงได้มีการนำองค์ความรู้ด้านศิลปะการสื่อสารในการนำเสนอเรื่องเล่าที่กระตุ้นความสนใจ ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และแนวทางการร้อยเรียงเรื่องเล่าสู่รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำไปปรับใช้ในการเล่าประสบการณ์และเรื่องเล่าในท้องถิ่น เพื่อเป็นการดึงดูดใจและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น โดยมีการให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมใจกันเขียนสคริปการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในชุมชุนพร้อมกับนำเสนอการเล่าเรื่อง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนร่วมวิเคราะห์บริบทชุมชน ค้นหาเรื่องเล่าของชุมชน กำหนดเกณฑ์การสร้างนักสื่อความหมายท้องถิ่นและพัฒนาเป็นนักสื่อความหมายที่สามารถนำเที่ยวและถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ตรงในชุมชน เกิดความภาคภูมิใจ หวงแหนในทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน โดยผู้เข้าร่วมอบรมมีการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในท้องถิ่น ดังนี้
- ภูมิปัญญาผ้าทอมือบ้านหนองดุม
ภูมิปัญญาผ้าทอมือบ้านหนองดุม เป็นหัตถกรรมที่ต้องมีการใช้ฝีไม้ลายมือในการทอผ้า มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ “ยกขิตลายดอกหญ้า” ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “หญ้าตีนตุ๊กแก” (Coat Buttons, หรือ Mexican daisy) ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกที่พบมากในแถวบ้านเรา หญ้าตีนตุ๊กแกเป็นพืชที่ออกดอกตลอดทั้งปีและทนแล้งได้ดี
ความพิเศษของดอกหญ้าชนิดนี้ คือ เมื่อพระอาทิตย์ลาลับไปแล้ว ดอกหญ้าก็จะก้มหน้าและโค้งงอลง เปรียบเหมือนการแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของต้นหญ้า ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนในท้องถิ่นบ้านหนองดุม ที่สะท้อนออกมาผ่านลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม
กรรมวิธีการทอและย้อมสีธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม สีที่นำมาย้อมจะเป็นสีที่ได้จากเปลือกไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น สีเขียวจากใบมะม่วง สีแดงจากเปลือกประดู่ สีเหลืองจากแก่นขนุน และสีน้ำตาลจากเปลือกมะพร้าว
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยจะมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผ้าคลุมไหล่ และผ้าพันคอ เหมาะสำหรับคนรักษ์โลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคาจับต้องได้ สินค้าดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ใครไม่ซื้อกลับถือว่ามาไม่ถึงตูม ใหญ่ ไม่ซื้อไม่ได้แล้ว! สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดสินค้าคลิกลิงก์ m.me/timyaimarket หรือผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก “ของดีตูมใหญ่”
- ร้านดวงตาผ้าไทย
ร้านดวงตาผ้าไทย ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 8 คน
ผ้าที่จำหน่ายในร้าน คือ ผ้าพันคอ ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้า ซึ่งผ้าแต่ละประเภทมีความโดดเด่นและน่าสนใจแตกต่างกัน เช่น ผ้าพันคอ มีลายหมากรุกเป็นลายพื้นบ้าน ผ้ามัดหมี่ มีลายข้าวหลามตัดที่มีความเรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ผ้าขาวม้า มีลายพื้นบ้าน Basic คือ ลายหมากรุก ที่นิยมสำหรับผู้สวมใส่มากที่สุด
ผ้าไทยภายในร้านมีกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่มีการสืบทอดมาแต่โบราณและเป็นงานหัตถกรรมที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอน ส่งผลให้การผลิตมีความปราณีตสวยงามและเกิดคุณค่าทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีการนำเศษผ้าที่ไม่ได้ใช้มาประยุกต์ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า และกระเป๋าถือ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ชื้อมากขึ้น
ราคาสินค้าที่จัดจำหน่าย
ผ้าพันคอ ราคาเริ่มต้นผืนละ 200 บาท
ผ้ามัดหมี่ ราคาเริ่มต้นผืนละ 600 บาท
ผ้าขาวม้า ราคาเริ่มต้นผืนละ 150 บาท
ร้านดวงตาผ้าไทย มีการจัดจำหน่ายสินค้า 2 ช่องทาง คือ จัดจำหน่ายหน้าร้านและจัดจำหน่ายผ่านทางแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ก (ของดีตูมใหญ่) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
- กลุ่มตูมน้อยผ้าไทยกับผ้าขาวม้าสีพาสเทล
พลิกโฉมจากผ้าขาวม้าสไตล์เดิมๆ เพิ่มเอกลักษณ์โดยการใช้สีพาสเทลที่มีความทันสมัยทอลายด้วยโทนสีต่างๆ โดยใช้สีหวานๆ เก๋ๆ ลวดลายของผ้าออกแบบเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร จนได้ผ้าขาวม้าสีพาสเทลที่ให้ความหวานละมุนในแบบฉบับของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทย นอกจากนี้ผ้าไทยของกลุ่มยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันสวยงามและมีเสน่ห์ มองแล้วรู้สึกสบายตา เหมาะกับผู้สวมใส่ทุกเพศทุกวัย
ผ้าขาวม้าสีพาสเทล มี 2 ขนาด คือ
-
-
- ขนาด 85×225 เซนติเมตร ราคาผืนละ 299 บาท เหมาะสำหรับนำไปตัดเสื้อ
- ขนาด 75×225 เซนติเมตร ราคาผืนละ 199 บาท เหมาะสำหรับใช้สอยทั่วไป
-
สนใจสั่งซื้อได้ที่ Page Facebook “ของดีตูมใหญ่”
- กลุ่มกล้วยฉาบเบรกแตก บ้านใหม่เจริญสุข
นายสมพร ดารินรัมย์ ได้คิดค้นสูตรการทำกล้วยฉาบเบรกแตก เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน โดยคิดค้นกล้วยฉาบ 4 รสชาติ คือ กล้วยฉาบรสดั้งเดิม กล้วยฉาบรสหวาน กล้วยฉาบรสเค็ม และกล้วยฉาบรส 3 รส ดังนี้
กล้วยฉาบรสดั้งเดิม
-
-
- มีกลิ่นหอมจากใบเตย
- รสชาติกรอบมัน
- เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ
-
กล้วยฉาบรสหวาน
-
-
- มีรสหวานจากน้ำตาลทรายขาว
- รสชาติหวานกำลังดี ไม่หวานจนเกินไป
-
กล้วยฉาบรสเค็ม
-
-
- อร่อยกลมกล่อม รสชาติเค็มกำลังดี
-
กล้วยฉาบรส 3 รส
-
-
- รสชาติหอม หวาน เค็ม และมีกลิ่นเครื่องเทศเป็นเอกลักษณ์
-
กล้วยที่ใช้
-
-
- เป็นกล้วยที่ปลูกในชุมชนโดยเฉพาะบ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5
- กล้วยที่ใช้เป็นการปลูกแบบปลอดสารพิษ
- กล้วยลูกใหญ่ เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ (กล้วย 1 เครือ จะได้ประมาณ 8-10 หวี โดย 1 หวี จะมีถึง 10-15 ลูก)
-
การทำกล้วย
-
-
- ปอกเปลือกแช่กล้วยในน้ำมะนาวเพื่อไม่ให้ฝาดและดำ แล้วนำไปล้างน้ำเปล่า
- ฝานกล้วยและนำไปทอดในน้ำมันที่สะอาดและใหม่
- เพิ่มกลิ่นหอมโดยการใช้ใบเตยสดและเนยหอมลงไปในน้ำมันขณะทอด
-
บรรจุภัณฑ์
-
-
- บรรจุกล้วยฉาบเบรกแตกในถุงซิปล็อค
- มีฉลาก ว/ด/ป ที่ผลิต
- ขนาดห่อละ 180 กรัม ราคาห่อละ 35 บาท 4 ห่อ 100 บาท
- 1 กิโลกรัม ราคา 120 บาท
-
สถานที่จำหน่าย
-
-
- สามารถสั่งซื้อได้ที่กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข ตั้งอยู่หมู่ที่ 19 บ้านใหม่เจริญสุข
- หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ เพจ “ของดีตูมใหญ่”
-
-
- วัดประคำสำโรง
วัดประคำสำโรง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตำบลตูมใหญ่ โดย พระมหาวินัย ธรชาติ กิติธโร ท่านได้บูรณะพระนอน ปางไสยาสน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อตาหวาน” นอกจากความงามขององค์พระนอนแล้ว ยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน เพื่อขอพร สักการะ เพื่อเสริมเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต ในส่วนประเพณี จะมีพิธีเปลี่ยนพระจีวร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน หลังออกพรรษาของทุกปี
นอกจากนี้วัดประคำสำโรงยังมีองค์เทพทันใจ หรือนัตโบโบยี ซึ่งเป็นเทวดาที่คอยอำนวยโชคลาภ เป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป เชื่อว่าเมื่อมากราบไหว้ขอพร จะได้รับพรสมใจสมชื่อเทพ เมื่อสมหวังจากพร ก็จะนำผลไม้ มะพร้าว กล้วยนาคสีแดง มาเป็นเครื่องบูชา เพราะเชื่อว่าเป็นผลไม้มงคล และเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต
ทั้งนี้ยังมีต้นตะเคียน ที่มีอายุกว่า 100 ปี โดยมีที่มาของชาวบ้านเล่าขานกันว่ามีคนฝันว่ามีผู้หญิงอุ้มเด็กมาบอกว่าอยากขึ้นจากน้ำ โดยในฝันบอกว่ามีต้นตะเคียน จำนวน 6 ท่อน เมื่อรถแบคโฮเข้าไปทำงานก็พบไม้ขนาดเส้นรอบลำต้นประมาณ 200 ซม. ยาว 25 เมตร ทั้ง 6 ต้นตามที่ฝัน จากนั้นชาวบ้านได้ลงความเห็นว่าจะต้องเอามาเก็บไว้ที่วัดประคำสำโรง เพื่อให้เป็นสิริมงคลต่อหมู่บ้าน จากนั้นพระมหาวินัย ธรชาติ กิติธโร จึงสร้างพระนอนขึ้นมาโดยใช้ต้นตะเคียนทั้ง 6 ต้น ทำเป็นเสาอาคารพระนอน เพื่อให้เป็นสถานที่กราบไว้ขอพรและสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านตำบลตูมใหญ่สืบไป
- ตลาดท้องถิ่นสุขใจ ตูมใหญ่รักศรัทธา
ตลาดท้องถิ่นสุขใจ ตูมใหญ่รักศรัทธา เปิดตัวขึ้นเมื่อปี 2563 เป็นตลาดนัดชุมชนที่เปิดทุกวัน เวลา 15.00 – 19.00 น. ปัจจุบันเป็นถนนคนเดินตูมใหญ่รักศรัทธา มีร้านค้ามากกว่า 116 ร้าน ตั้งอยู่บริเวณบ้านกรูด หมู่ที่ 12 บนถนนเส้นหลังโรงเรียนบ้านตูม ช่วงศูนย์เด็กเล็กเก่าไปจนถึงประตูหลังโรงเรียนบ้านตูม
ภายในตลาดมีการตกแต่งที่สร้างสรรค์สวยงาม ให้ความรู้สึกถึงบรรยากาศแบบพื้นบ้าน โดยมีการใช้หวดนึ่งข้าวมาตกแต่งเป็นโคมไฟ รวมถึงมีการตกแต่งภายในตลาดด้วยผ้าขาวม้าและหลอดไฟดวงเล็กเพื่อความสวยงาม เมื่อท่านมาถึงตลาด จะได้พบสินค้าและอาหารมากมายหลากหลายอย่าง ซึ่งเอกลักษณ์ของตลาดถนนคนเดินตูมใหญ่รักศรัทธา คือ พืชผักพื้นบ้าน หรือพืชผักตามฤดูกาลที่มีความสดใหม่และสะอาด หากท่านมาเยือนช่วงฤดูร้อน ท่านจะได้เลือกซื้ออาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็น ไข่มดแดง แมงดา หรือแมงตับเต่า อาหารพื้นบ้านช่วงฤดูฝนจะพบ หน่อไม้ ผักติ้ว ผักหวาน หรือดอกกระเจียว ช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบ เห็ดขอน เห็ดขม เห็ดไค เห็ดปลวก หรือเห็ดละโงก ส่วนช่วงฤดูหนาวท่านจะได้เลือกซื้อปูนา ปลาน้ำแห้ง แมงจีซอน หรือหนูนา เป็นต้น
ลูกค้าแต่ละท่านที่มาเลือกจับจ่ายใช้สอยมีหลากหลายกลุ่มทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคนชอบสังสรรค์ ภายในตลาดจะมีอาหารจำพวกหมึกย่างน้ำจิ้มรสเด็ด หม่าล่า ต้มแซ่บ ต้มขม หรือลาบเป็ด กลุ่มคนรักครอบครัว จะมีอาหารจำพวกข้าวแกงปักษ์ใต้ หรือไก่ทอด กลุ่มสายหวาน จะมีร้านขนมเบเกอรี่ โรตี ขนมดอกบัว ดอกจอก และขนมครกให้เลือกซื้อ ซึ่งลูกค้าที่มาเลือกซื้อสินค้าชุมชนที่ตลาดถนนคนเดินตูมใหญ่รักศรัทธา สามารถเลือกซื้อสินค้าที่อร่อย สดใหม่ สะอาด และราคาถูกได้มากมายหลากหลายประเภทตามความต้องการ นอกจากนั้นยังได้สัมผัสกับบรรยากาศชุมชนท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของพ่อค้าแม่ค้าภายในตลาดอีกด้วย
- แกรนด์แคนยอน หรือละลุ
แกรนด์แคนยอน หรือละลุ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14 การเดินทางเริ่มต้นจากศาลเจ้าพ่อหลวงอุดม เลี้ยวเข้าหมู่บ้านกระทุ่มนอกไปตามขอบสระของหมู่บ้าน จากนั้นเข้าไปลึกอีกประมาณ 300 เมตร จะสังเกตเห็นธารน้ำเล็กๆ ทางด้านขวามือ เพื่อเป็นการเพิ่มความท้าทายสำหรับคนที่ชอบธรรมชาติและรักในการเดินป่า เราจะใช้วิธีการเดินเท้าข้ามธารน้ำเล็กๆ ก่อนเข้าสู่พื้นที่จะมีเส้นทางการเดินเท้าขนาดเล็กให้ผู้ที่มาสัมผัสเดินเรียงแถวกันเหมือนมด เข้าสู่แกรนด์แคนยอน หรือละลุ
แกรนด์แคนยอน หรือละลุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีเนื้อที่ขนาดกว้าง สภาพดินเป็นดินผสม เมื่อถูกกัดเซาะจะมีลักษณะเป็นรูปทรงต่างๆ มีรูปทรงคล้ายกำแพงเมือง หรือหน้าผา ด้านบนมีต้นไม้ขนาดเล็กและมีหญ้าปกคลุมชั้นดิน ทำให้เกิดความสวยงาม และแปลกตาต่อผู้พบเห็น เวลาที่เหมาะสมต่อการไปท่องเที่ยว ถ่ายภาพ หรือพักผ่อน คือช่วงเช้าและช่วงเย็น ยามแสงแดดอ่อนๆ ของทุกวัน
นับได้ว่าแกรนด์แคนยอน หรือละลุ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของตำบลตูมใหญ่ ซึ่งควรแก่การอนุรักษ์ไว้สืบไป
2.2 กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์” ขึ้นจำนวน 2 ครั้ง โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้หลักหรือรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว ทำให้เกิดรายได้ในชุมชนและชุมชนรอบข้างจนถึงระดับจังหวัดและภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน โดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมบอกถึงปัญหาที่พบเจอในสัตว์ วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้ วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้น โดยได้ข้อสรุป ดังนี้
- กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง
1.1 ปัญหาที่พบเจอ
-
-
- ไก่เหงา
- ไก่หน้าซีด
- ไก่เป็นห่า
- ไก่ผอม
- โรคฝีดาษ
- โรคอหิวาต์
- โรคคอบิด
- โรคขี้ขาว
-
1.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้
-
-
- ข้าวสวย รำ และหัวอาหาร อัตราส่วน 1 : 1 : 1
- ข้าวเปลือก และปลายข้าว อัตราส่วน 1 : 1
- ข้าวสวย และรำ อัตราส่วน 1 : 1
- ต้นกล้วยสับ
-
1.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค
-
-
- ซื้อวัคซีนน้ำแดง และพรมน้ำ (สำหรับลูกไก่)
- ปล่อยเลี้ยงรักษาตามธรรมชาติ
- แยกตัวป่วยออกมารักษา
-
1.4 ความต้องการในการพัฒนา
-
-
- วิธีการรักษาไก่เหงา
- วิธีการรักษาไก่ตัวซีด
- วิธีการรักษาไก่เบื่ออาหาร
- ช่องทางการขายไก่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
-
2. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงโคและกระบือ
2.1 ปัญหาที่พบเจอ
-
-
- โรคลัมปีสกิน
- โรคปากเท้าเปื่อย
- คอบวม
- มดลูกทะลัก
- แม่วัวไม่มีน้ำนม
- อาหารหายาก
- สถานที่เลี้ยงไม่เพียงพอ
- ต้นทุนอาหารสูง
- ผสมพันธุ์ไม่ค่อยติด
-
2.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้
-
-
- ฟางแห้ง
- หญ้าเนเปียร์
- หญ้าหวาน
- หญ้ากินนี
- หญ้ารูซี
- หญ้าขน
- รำข้าว
- กากน้ำตาล
- อาหารสำเร็จรูป
-
2.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค
-
-
- ยาบำรุง
- ยาฆ่าเชื้อ
- ยาถ่ายพยาธิ
- ยาม่วง
- ยาเขียว
- เพนิซิลลิน
- ยารักษาโรคลัมปีสกิน
- วัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย
-
2.4 ความต้องการในการพัฒนา
-
-
- วิธีการป้องกันการเกิดโรคทางผิวหนังของโคและกระบือ
- วิธีการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของโคและกระบือ
- วิธีการเลี้ยงโคและกระบือให้อายุยืนยาว
- ช่องทางการขายโคและกระบือให้ได้ราคาสูง
-
3. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงแพะ
3.1 ปัญหาที่พบเจอ
-
-
- ราคาและตลาด (กลุ่มสหกรณ์แพะ)
- ขาดความรู้ด้านการสร้างและออกแบบโรงเรือน
- ไม่มีความรู้ด้านการจัดการการเลี้ยงแพะที่เป็นระบบ
- ขาดความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันและรักษาโรค
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตอาหารเพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการให้อาหารแพะ
-
3.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้
-
-
- ใบกระถิน
- หญ้าเนเปียร์บด
- หญ้าหวานบด
- หัวอาหารเสริมสำเร็จรูป
-
3.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค
-
-
- วัคซีนปากและเท้าเปื่อย
- ยาบำรุง
- ยาถ่ายพยาธิ
-
3.4 ความต้องการในการพัฒนา
-
-
- การหาตลาดในการขายสัตว์เศรฐกิจที่เลี้ยงให้ได้ราคาสูง
- การจัดหาวัคซีนและตารางการทำวัคซีนตามฤดูกาล
- การเลี้ยงสัตว์ยังไงให้ง่ายและมีความชัดเจนในเรื่องต้นทุนการผลิตและราคาขาย
-
4. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสุกร
4.1 ปัญหาที่พบเจอ
-
-
- โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
- โรคปากเท้าเปื่อย
- โรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์
- ต้นทุนอาหารสูง
-
4.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้
-
-
- อาหารสัตว์สำเร็จรูป
- รำหยาบ และรำอ่อน
- ปลายข้าว
-
4.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค
-
-
- วิตามิน
- ยาม่วง
- ยาเขียว
-
4.4 ความต้องการในการพัฒนา
-
-
- การเรียนรู้วิธีการผสมเทียมสุกร
- วิธีการผสมอาหารสัตว์สำเร็จรูปเพื่อเป็นการลดต้นทุนอาหาร
-
จากการจัดกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ เบื้องต้นพบว่าเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชน โดยเฉพาะไก่พื้นเมือง สุกร รวมไปถึงโคและกระบือ ประสบกับปัญหาราคาอาหารสัตว์ หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง ในขณะเดียวกันผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์กลับมีราคาไม่สมดุลกับต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ทางคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการปศุสัตว์ อาจารย์ เอกสิทธิ์ สมคุณา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สมคุณา และอาจารย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์ จึงได้มีการแนะนำและสาธิตวิธีการประกอบสูตรอาหารสัตว์ต่างๆ ที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายทั่วไปในชุมชน อาทิ วิธีการประกอบสูตรอาหาร TMR วิธีการประกอบสูตรอาหารข้นโคและกระบือ และวิธีการประกอบสูตรอาหารหมักยีสต์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ อีกทั้งยังสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานานอีกด้วย
วิธีการประกอบสูตรอาหาร TMR
-
-
- หญ้าเนเปียร์ (หมัก) 65%
- ใบกระถิน + กิ่งอ่อน 8%
- ใบมันสำปะหลัง + ก้านอ่อน 8%
- รำละเอียด 6%
- Pre-mix 0.5%
- กากถั่วเหลือง 4%
- ยูเรีย 2%
- เกลือ 0.5%
-
วิธีการประกอบสูตรอาหารข้นโคและกระบือ
- มันสําปะหลัง 50%
- กากถั่วเหลือง 19%
- ปลาป่น 5%
- เกลือ 0.5 %
- Pre-mix 0.5%
- รำละเอียด 8 %
- ปลายข้าว 17 %
วิธีการประกอบสูตรอาหารหมักยีสต์
- ยีสต์ขนมปัง 500 กรัม
- กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
- น้ำสะอาด 20 ลิตร
- วัตถุดิบ 50 กิโลกรัม
หมายเหตุ : สูตรหมักยีสต์ควรทำการหมัก 7-14 วัน
- ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19
จากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในเดือนพฤศจิกายน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหมู่บ้าน การเข้าวัดทำบุญ การจ่ายตลาดในชุมชน รวมไปถึงการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร เป็นต้น
ทั้งนี้ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ อาจสืบเนื่องมาจากลักษณะของการทำงาน กลุ่มอาชีพ และข้อจำกัดด้านเวลาหรือการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน รวมถึงชาวบ้านบางส่วนไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ตลอดเวลา เนื่องจากสภาพอากาศร้อน ทำให้การหายใจไม่สะดวก นอกจากนั้นชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 และการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจัดตั้งโครงการเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ เพื่อให้คนในชุมชนและกลุ่มผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี
นอกจากนี้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ยังส่งผลให้ทราบถึงความคิดเห็นของชาวบ้านตำบลตูมใหญ่เกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามาทุกชนิด เป็นวัคซีนที่มีคุณภาพ ได้มีการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขว่ามีความปลอดภัย และเป็นวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในทุกวันนี้ แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับตัววัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามา เนื่องจากมีการเสพข่าวสารในสื่อสังคม หรือโซเชียลมีเดียค่อนข้างมากและหลากหลายช่องทาง ส่งผลให้ทางคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมกับให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการลงชื่อเข้ารับวัคซีน การปฏิบัติตนก่อนและหลังการเข้ารับวัคซีน และผลข้างเคียงหลังจากการเข้ารับวัคซีน ให้กับผู้ใหญ่บ้านตำบลตูมใหญ่ทุกหมู่บ้าน ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับลูกบ้านหรือประชาชนในตำบลตูมใหญ่ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไป
- ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ในส่วนของกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น
- สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
จากการลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอการเล่าเรื่องท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจต่อผู้ฟัง ได้เรียนรู้วิธีการทำสูตรอาหารสัตว์ต่างๆ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด
- แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
- ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
- ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
- จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
- จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป