1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 การเล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น และ การอบรมสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 การเล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น และ การอบรมสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

การเล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น

และ การอบรมสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

                     ดิฉัน นางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบเข้าร่วม กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น”เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนและ อบต ตำบล ตูมใหญ่ โดยมีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆของตำบลตูมใหญ่ อาทิเช่น 1. ภูมิปัญญาผ้าทอมือบ้านหนองดุม 2. ร้านดวงตาผ้าไทย 3.กลุ่มตูมน้อยผ้าไทยกับผ้าขาวม้าสีพาสเทล 4. กลุ่มกล้วยฉาบเบรกแตก บ้านใหม่เจริญสุข 5. วัดประคำสำโรง  6.ตลาดท้องถิ่นสุขใจ ตูมใหญ่รักศรัทธา 7. แกรนด์แคนยอน หรือละลุ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอก รู้จักมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมขับเคลื่อนศรษฐกิจภายในชุมชน และเข้าร่วม กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์” เพื่อเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ และสอบถามปัญหาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ อาทิเช่น สุกร โค แพะ ไก่พื้นเมือง เป็นต้น

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์เพื่อสรุปแผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคมและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงาน หลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนพฤศจิกายน เพื่อที่จะได้ แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจน  แบ่งฝ่ายงานตามความเหมาะสมและเข้าใจงานในส่วนที่ได้รับผิดชอบ

            คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่พบเจอในสัตว์ ภายใต้กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์

            คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้สถานที่ในการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์และกิจกรรมการพัฒนานักเล่าเรื่อง

            คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น”เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนและมีการคืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดีโอการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

            คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์” เพื่อเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจภายในชุมชน

            การลงพื้นที่เก็บข้อมูลภายในเดือนพฤศจิกายน ดิฉันได้มีการประสานงานกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอลงพื้นที่(เพิ่มเติม) ในการเก็บข้อมูลตามกลุ่มเป้าหมายที่ทางกลุ่ม AG01(1) และได้ขอความอนุเคราะห์จากทางรองปลัด อบต. ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆภายในตำบลตูมใหญ่

           ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน  ดิฉันได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ได้เรียนและสอบได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์  ผ่านตามเกณฑ์การวัดผล และได้เข้าไปศึกษา TDGA ในรายวิชาดิจิทัล เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการปศุสัตว์ ของกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์”

กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงไก่

ปัญหาการเลี้ยงไก่ไข่ที่ต้องระวังก็คือ โรคระบาดต่าง ๆ ที่มาจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย เช่น โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ โรคอหิวาต์ไก่ และโรคฝีดาษไก่ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนตามอายุไก่และให้วัคซีนอย่างสม่ำเสมอ เพราะวัคซีนแต่ละชนิดมีระยะคุ้มกันโรคไม่เหมือนกัน 

วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

      1.ข้าวสวยรำ และหัวอาหาร อัตราส่วน 1 : 1 : 1

      2.ข้าวเปลือก และปลายข้าวอัตราส่วน1 : 1

      3.ข้าวสวย และรำ อัตราส่วน1 : 1

      4.ต้นกล้วยสับ

1.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

      1.ซื้อวัคซีนน้ำแดง และพรมน้ำ (สำหรับลูกไก่)

      2.ปล่อยเลี้ยงรักษาตามธรรมชาติ

      3.แยกตัวป่วยออกมารักษา

2. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงโคและกระบือ

2.1 ปัญหาที่พบเจอจากการสอบถามเกษตรกร

      1.โรคลัมปีสกิน 2.โรคปากเท้าเปื่อย 3.คอบวม 4.มดลูกทะลัก  5.แม่วัวไม่มีน้ำนม  6.อาหารหายาก 7.สถานที่เลี้ยงไม่เพียงพอ 8.ต้นทุนอาหารสูง 9.ผสมพันธุ์ไม่ค่อยติด

2.2วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

      1.ฟางแห้ง  2.หญ้าเนเปียรื 3.หญ้าหวาน  4.หญ้ากินนี  5.หญ้ารูซี  6.หญ้าขน 7.รำข้าว  8.กากน้ำตาล

 2.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

      1.ยาบำรุง  2.ยาฆ่าเชื้อ  3.ยาถ่ายพยาธิ 4.ยาม่วง  5.ยาเขียว6.เพนิซิลลิน 7.ยารักษาโรคลัมปีสกิน  8.วัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย

ข้อแนะนำ เมื่อพบปัญหาโคป่วยเป็นโรค ในกระบวนการดูแลรักษาเมื่อโคเนื้อป่วยนั้นเกษตรกรหรือเจ้าของฟาร์มควรปรึกษาสัตวแพทย์ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ หรืออาจปรึกษาโดยตรงจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ตามกระบวนการทางวิชาการที่ถูกต้อง

      ความต้องการในการพัฒนา

      1.วิธีการป้องกันการเกิดโรคทางผิวหนังของโคและกระบือ

      2.วิธีการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของโคและกระบือ

      3.วิธีการเลี้ยงโคและกระบือให้อายุยืนยาว

      4.ช่องทางการขายโคและกระบือให้ได้ราคาสูง

กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงแพะ

3.1 ปัญหาที่พบเจอ

      1.ราคาและตลาด (กลุ่มสหกรณ์แพะ) 2. ขาดความรู้ด้านการสร้างและออกแบบโรงเรือน 3. ไม่มีความรู้ด้านการจัดการการเลี้ยงแพะที่เป็นระบบ 4. ขาดความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันและรักษาโรค 5. ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตอาหารเพื่อลดต้นทุนการผลิต 6. ขาดความรู้ควา มเข้าใจในการให้อาหารแพะ

3.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

      1.ใบกระถิน2. หญ้าเนเปียร์บด 3. หญ้าหวานบด 4. หัวอาหารเสริมสำเร็จรูป

3.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

      1.วัคซีนปากและเท้าเปื่อย 2. ยาบำรุง 3. ยาถ่ายพยาธิ

3.4 ความต้องการในการพัฒนา

      1.การหาตลาดในการขายสัตว์เศรฐกิจที่เลี้ยงให้ได้ราคาสูง

      2.การจัดหาวัคซีนและตารางการทำวัคซีนตามฤดูกาล

      3.การเลี้ยงสัตว์ยังไงให้ง่ายและมีความชัดเจนในเรื่องต้นทุนการผลิตและราคาขาย

4. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงหมู

4.1 ปัญหาที่พบเจอ

      1.โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร 2.โรคปากเท้าเปื่อย 3.โรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์

4.ต้นทุนอาหารสูง

4.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

      1.อาหารสัตว์สำเร็จรูป  2.รำหยาบ และรำอ่อน   3.ปลายข้าว

4.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

      1.วิตามิน    2. ยาม่วง   3. ยาเขียว

4.4ความต้องการในการพัฒนา

      1.การเรียนรู้วิธีการผสมเทียมสุกร

      2.วิธีการผสมอาหารสัตว์สำเร็จรูปเพื่อเป็นการลดต้นทุนอาหาร

ผลการวิเคราะห์กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น”เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน และ อบต ตำบล ตูมใหญ่

            โดยมีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆของตำบลตูมใหญ่ ทางกลุ่มของดิฉันได้รับผิดชอบ เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ วัดประคำสำโรง  เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตำบลตูมใหญ่ โดย พระมหาวินัย ธรชาติ กิติธโร ท่านได้บูรณะพระนอน ปางไสยาสน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อตาหวาน” นอกจากความงามขององค์พระนอนแล้ว ยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน เพื่อขอพร สักการะ เพื่อเสริมเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตในส่วนประเพณี จะมีพิธีเปลี่ยนพระจีวร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน หลังออกพรรษาของทุกปี

นอกจากนี้วัดประคำสำโรงยังมี องค์เทพทันใจ หรือนัตโบโบยี ซึ่งเป็นเทวดาที่คอยอำนวยโชคลาภ เป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป เชื่อว่าเมื่อมากราบไหว้ขอพร จะได้รับพรสมใจสมชื่อเทพ เมื่อสมหวังจากพรก็จะนำผลไม้ มะพร้าว กล้วยนาคสีแดง มาเป็นเครื่องบูชา เพราะเชื่อว่าเป็นผลไม้มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต

ทั้งนี้ยังมี ต้นตะเคียน ที่มีอายุกว่า 100 ปีโดยมีที่มาของชาวบ้านเล่าขานกันว่ามีคนฝันว่ามีผู้หญิงอุ้มเด็กมาบอกว่าอยากขึ้นจากน้ำ โดยในฝันบอกว่ามีต้นตะเคียน จำนวน 6 ท่อน เมื่อรถแบคโฮเข้าไปทำงานก็พบไม้ขนาดเส้นรอบลำต้นประมาณ 200 ซม.ยาว 25 เมตร ทั้ง 6 ต้นตามที่ฝัน จากนั้นชาวบ้านได้ลงความเห็นว่าจะต้องเอามาเก็บไว้ที่วัดประคำสำโรง เพื่อให้เป็นสิริมงคลต่อหมู่บ้านจากนั้นพระมหาวินัย ธรชาติ กิติธโร จึงสร้างพระนอนขึ้นมาโดยใช้ต้นตะเคียนทั้ง 6 ต้น ทำเป็นเสาอาคารพระนอน เพื่อให้เป็นสถานที่กราบไว้ขอพรและสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านตำบลตูมใหญ่สืบไป

 

ผลการสำรวจโควิด-19 เดือนตุลาคม

            ผลจากการสำรวจในพฤศจิกายน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดขณะนี้ และในจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการฉีดวัคซีนได้ประมาณ 70% จากประชากรทั้งหมดของจังหวัดบุรีรัมย์  และตอนนี้ชาวตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับบุคคลกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม และทางด้านหน้ารักษาคนไข้ เช่น หมอ พยาบาล ได้รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นการทำงานเป็นที่เรียบร้อย ในส่วนเด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ต่างเริ่มได้รับวัคซีนสำหรับนักเรียนเพื่อทีจะสามารถได้เข้าเรียนตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามชาวตูมใหญ่ก็ยังมีความกระตือรือร้นในการรับมือกับทุกปัญหาที่จะเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา     

            ผลจากทำงานภายในเดือนพฤศจิกายนได้พบปัญหาในการเตรียมการวางแผนในการทำOne Day Tripรวมที่เที่ยวไปเช้าเย็นกลับ ตำบลตูมใหญ่เนื่องจากภายในต้นเดือนพฤศจิกายนเกิดพายุเข้าจังหวัดบุรีรมย์ ทำให้การถ่ายทำคลิปการท่องเที่ยวใช้เวลาในการทำค่อนข้างนานกว่ากำหนด ทางทีม AG01(1)ได้แก้ปัญหาโดยการแบ่งทีมการทำงานเป็น 2 ทีม เพื่อจะได้กระจายตัวทำงานได้เร็วขึ้นและส่งผลให้การทำงานของ One Day Trip รวมที่เที่ยวไปเช้าเย็นกลับ ตำบลตูมใหญ่สามารถเสร็จเรียบร้อยตามระยะเวลาที่มาหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่

ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอการเล่าเรื่องท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์

-ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นในรูปแบบของการตลาดออนไลน์

-ได้เรียนรู้การติดต่อประสานงานในองค์กรมากขึ้น

-ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการทำอาหารสำหรับสัตว์

-ได้เรียนรู้ถึงการทำหญ้าหมักและอาหารข้นสำหรับสัตว์

. แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
  3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
  4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู