1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AG01(2) อบรมเกี่ยวกับอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์และการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AG01(2) อบรมเกี่ยวกับอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์และการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น

     ดิฉัน นางสาวนงลักษณ์ แก้วคำชาติ ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายลงพื้นที่การอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ และการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
  • คณะทีมงาน AG01(2) ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  • ลงพื้นที่ถ่ายภาพเสื่อบ้านหนองผักบุ้ง เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาโพสต์จำหน่ายลงเพจFacebook
  • ลงพื้นที่ถ่ายถาพ และ VDO สถานที่พิกัดโปรแกรมท่องเที่ยว 1 𝗗𝗮𝘆 𝗧𝗿𝗶𝗽 ของตำบลบ้านคู และถ่ายภาพรีวิวผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
  • ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ลงพื้นที่ติดต่อ ประสานงานกับทางอบต. และกลุ่มทอผ้าไหม เรื่องจัดสถานที่อบรม และเรื่องศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าไหม
  • ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • รวบรวมเอกสารข้อมูลการอบรมเชิงปฏิบัติการนักเล่าเรื่องท้องถิ่น

ข้อมูลด้านการปศุสัตว์ของกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์”

ด้านโคขุน

บ้านโนนตะคร้อ

1.ปัญหาที่พบ

  • โรคลัมปีสกิน โรคปาก-เท้าเปื่อย
  • อายุได้เเต่ไม่เป็นสัด
  • ผสมไม่ค่อยติด ติดลูกยาก

2.อาหารและวัตถุดิบที่ใช้

  • หญ้าเนเปียร์ (ปั่น/บด), หญ้ากินรีสีม่วง (ต้นเเก่ต้องนำเอามาปั่น), หญ้าหวาน (ปั่น/บด), หญ้าธรรมชาติ
  • รำ

3.วัคซีนที่เคยใช้

  • วัคซีนโรคปาก-เท้าเปื่อย,
  • ยาเเก้ไข้ ยาฆ่าพยาธิ ยาฆ่าเห็บ หมัด เหา

บ้านคู (หมู่ที่ 14)

1.ปัญหาที่พบ

  • โรคลัมปีสกิน โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคไข้หลังแข็ง
  • เป็นตุ่ม
  • อุจจาระ
  • ผสมพันธุ์ยาก (อย่างน้อย3-5ครั้ง)

2.อาหารและวัตถุดิบที่ใช้

  • หญ้าตามธรรมชาติ หญ้าเนเปียร์ หญ้าลูซี่ หญ้าหวาน
  • ฟางอัด (จ้างมาอัดก้อน 16 บาท ซื้อ3 ก้อน 100 บาท)
  • หัวอาหาร (กระสอบละ 260-300)

3.วัคซีนที่เคยใช้

  • วัคซีนโรคปาก-เท้าเปื่อย (ใช้ตัวละ 2 cc ใช้กับวัวอายุ6เดือนขึ้นไป ห้ามใช้กับวัวที่ตั้งครรภ์)
  • วิธีป้องกันรักษา ยาเขียวใหญ่ ยาม่วง + ปูนแดง ยาถ่ายพยาธิ กำมะถัน

บ้านโนนสะอาด

1.ปัญหาที่พบ

  • โรคลัมปีสกิน โรคเรื้อน โรคปากเท้าเปื่อย โรคพยาธิ โรคเห็บเหา
  • ผสมพันธุ์ติดยาก
  • เป็นสัดเงียบ

2.อาหารและวัตถุดิบที่ใช้

  • หญ้าธรรมชาติ รำ หญ้าปลูก ฟางอัด อาหารเสริม(เกลือแร่สำหรับวัวให้นมลูก) ก้อนละ 35-50 บาท
  • หัวอาหารเสริม (กระสอบละ 340-370 บาท)

3.วัคซีนที่เคยใช้

  • โรคปากเปื่อย/เท้าเปื่อย

ด้านไก่พื้นบ้าน

บ้านโนนสะอาด

1.ปัญหาที่พบ

  • โรคตาตูม โรคหวัดไก่ โรคห่า

2.อาหารและวัตถุดิบที่ใช้

  • ข้าวเปลือก ข้าวสาร รำปลายข้าว

3.วัคซีนที่เคยใช้

  • ไม่เคยรับวัคซีน

บ้านโนนตะคร้อ

1.ปัญหาที่พบ

  • โรคห่า
  • ไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค

2.อาหารและวัตถุดิบที่ใช้

  • ข้าวเปลือก รำ

3.วัคซีนที่เคยใช้

  • ไม่เคยรับวัคซีน

บ้านโคกเมฆและบ้านทุ่งบ่อ

1.ปัญหาที่พบ

  • เป็นหวัด โรคขี้ขาว ไก่เหงา (โรคห่า)
  • ปัญหาช่วงโควิด (ขายไม่ได้)

2.อาหารและวัตถุดิบที่ใช้

  • เศษอาหาร
  • ข้าวเปลือก
  • หัวอาหาร (ถุงละ 450 บาท)
  • รำ (รำอ่อน 33 บ.)
  • ยาบำรุง วิตามีนซีไก่ ซองละ 15 บ. / สมุนไพรไทย เช่น ขมิ้น ฟ้าทะลายโจร

3.วัคซีนที่เคยใช้

  • ไม่เคยรับวัคซีน

*ปล่อยตามธรรมชาติ คอกไก่อยู่ในบริเวณบ้านและทุ่งนา

สคริปต์การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น”

กลุ่มทอผ้าไหม บ้านโนนตะคร้อ
      ชาวบ้านโนนตะคร้อเป็นหมู่บ้านที่ทำได้ทุกลาย ตั้งเเต่ลายดั้งเดิมจนถึงลายที่กำลังอินเทรนกันมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นลายหมี่จรวดน้อย ลายนางเอก ลายปลาซิล ลายนพเก้า ลายนกยูง ลายขอเจ้าฟ้า หรือลายอื่นๆ อีกมากมาย แต่ลายในปัจจุบันที่เป็นที่นิยมกันมาก คือ ลายขอเจ้าฟ้า เนื่องจากเป็นลายพระราชทาน ทางกลุ่มของเราทำอย่างพิถีพิถันและประณีตมาก ตั้งเเต่ขั้นตอนการปลุกและการเลี้ยงหม่อนไหม การมัดลาย การย้อมสีจนถึงการทอผ้า
      การเลี้ยงหม่อนไหม ทางเราได้รับการสนับสนุนจากเกษตรอำเภอเเละกรมหม่อนไหมโดยนำพันธุ์ของต้นหม่อนมาให้ คือ บร.60 และ นม.40 ให้ผลผลิตเยอะใบสูงและมีขนาดใหญ่
      ตัวไหม ได้มาจากเกษตรอำเภอและกรมหม่อนไหม
      เส้นไหมที่ใช้ในการทอผ้าทางเราได้มาจากตัวไหมที่เราเลี้ยงเอง เมื่อเราได้เส้นไหมจากตัวไหมเเล้วนำมามัดเป็นลวดลายและนำมาย้อมสีจะมีทั้งสีเคมีเเละสีธรรมชาติ พอได้สีหรือลวดลายที่ต้องการแล้วก็สามารถนำไปทอเป็นผ้าไหมได้เลย

หลวงพ่ออูป วัดบ้านดอนกลาง
ความเป็นมา
          เป็นพระพุทธรูปเก่าเเก่ สร้างด้วยเเก่นไม้จันทร์ (ศิลปะลาวโบราณ) เป็นพระพุทธรูปปรางค์กรัชกาย ดวงตาสร้างด้วยพลอยสีดำ มีอายุราว 200 กว่าปี สันนิษฐานมาจากมีสถูปสร้างด้วยอิฐมอญ ฉาบด้วยยางไม้ หลังคามุงสังกะสีครอบสถูปไว้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2480 ดวงตาของหลวงพ่ออูปเเต่เดิมได้ถูกขโมยไปและได้เปลี่ยนดวงตาใหม่เป็นเเก้ว
ด้านบูรณาการ
          เมื่อปี พ.ศ. 2543 เนื่องจากเห็นว่าสถูปซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่ออูปชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้มีการก่อสร้างวิหารครอบพระสถูปขึ้นใหม่ ให้สวยงาม
ด้านความเชื่อ
          ชาวบ้านเชื่อกันว่า เมื่อเดินทางผ่านต้องขออนุญาต บอกกล่าวและคารวะให้ท่านทราบ หากลบหลู่จะมีอันเป็นไป หรือประสบโชคร้ายในชีวิต ซึ่งหลวงพ่ออูป ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ในการการบไหว้ขอพรให้ประสบความสำเร็จในเรื่องราวต่างๆ

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โคกหนองนาโมเดล บ้านโคกเมฆ

  • นำเอาศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ทำให้เรามีอยู่ มีกิน มีสภาพจิตใจแข็งแรง มีสุขภาพดี
  • เพื่อจัดสรรส่วนนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ผักปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด

  • มีผักหลากหายชนิด
  • มีแปลงผักที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอนาโพธิ์
  • เป็นผักปลอดสารพิษ 100%
  • มีการทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ
  • มีการจัดเทศกาลกินผัก ช่วงเดือนมกราคม

สวนอินทผลัม บ้านโนนตะคร้อ

  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ (พ.ศ.2563)
  • สามารถเยี่ยมชม เยี่ยมชิม อินทผลัมได้อย่างจุใจ
  • คอนเซป คือ ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์
  • มีสถานที่กว้างขวาง มีมุมถ่ายรูปสวยๆ
  • มีของฝากไว้ให้ซื้อติดมือกลับบ้านในราคาไม่แพง

ฟาร์มโคขุน บ้านโคกพงาด

  • เป็นฟาร์มที่ต้องการ สร้างงาน สร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้
  • มีการจัดการเลี้ยงที่ดี มีความสะอาด และโคขุนทุกตัวมีสุขภาพดี
  • ไม่มีการใส่สารเร่งเนื้อแดง
  • นำมูลวัวไปทำเป็นปุ๋ยคอก ใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

ยูนาคาเฟ่

เป็นร้านกาแฟที่มีบรรยากาศแบบบ้านๆ กาแฟดีและส้มตำแซ่บๆ

  • เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีจุดเช็คอิน ถ่ายรูป
  • เป็นร้านกาแฟ อาหารและเครื่องดื่ม
  • มีจุดชมธรรมชาติ
  • เปิด เวลา 09:00-19:00 น.

            

ลงพื้นที่ถ่ายภาพเสื่อบ้านหนองผักบุ้ง เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาโพสต์จำหน่ายลงเพจFacebook

                 

ลงพื้นที่ถ่ายถาพ และ VDO สถานที่พิกัดโปรแกรมท่องเที่ยว 1 𝗗𝗮𝘆 𝗧𝗿𝗶𝗽 ของตำบลบ้านคู และถ่ายภาพรีวิวผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

 

ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ ณ หอประชุมองค์การบริหารเทศบาลตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

     

ลงพื้นที่ติดต่อ ประสานงานกับทางอบต. และกลุ่มทอผ้าไหม เรื่องจัดสถานที่อบรม และเรื่องศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าไหม

   

ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

การฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ
ได้ทำการฝึกทักษะสำเร็จครบทุกด้านแล้ว ได้แก่
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy

แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานดังนี้
1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านโนนสะอาด และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

อื่นๆ

เมนู