1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) การสาธิตการผสมอาหารสัตว์แบบสูตรอาหารข้นและTMR ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรมย์

บทความประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) การสาธิตการผสมอาหารสัตว์แบบสูตรอาหารข้นและTMR ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรมย์

บทความประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AGO1(1)

กลุ่ม AGO1-(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เรื่อง การสาธิตการผสมอาหารสัตว์แบบสูตรอาหารข้นและTMR

ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรมย์

กระผม นายพงษ์เรศ จันทร์อินทร์ ประเภทประชาชน  ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ รายงานข้อมูล CBD  รวมทั้งติดตามผ้าพันคอเพื่อส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ม.18

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์     

  • อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet และรับทราบการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดหาอุปกรณ์และวัตถุดิบในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์“
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์“
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ดำเนินการติดตามการการส่งขอมาตรฐานผ้า มผช. บ้านหนองบัวพัฒนา(เพิ่มเติม)
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนพฤศจิกายน

        ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้รับความอนุเคราะห์และได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้สถานที่ในการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน

       กระผมได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

การผสมอาหารสัตว์แบบสูตรอาหารข้นและTMR

ลักษณะของอาหาร TMR

          ปกติการย่อยอาหารจะเกิดขึ้นในกระเพาะรูเมนเป็นส่วนใหญ่ โดยกิจกรรมทางกายภาพของสัตว์ และกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกระเพาะที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารเป็นกรดไขมัน ในสูตรอาหาร TMR จำเป็นต้องลดขนาดของอาหารหยาบลง เพื่อการผสมให้เข้ากันดีกับอาหารข้นลดความฟ่ามของอาหาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการกินได้ และลดการเลือกกินอาหารการลดขนาดของอาหารหยาบจะทำให้ลดการเคี้ยวเอื้อง การหมุนเวียนของน้ำลายน้อยลง ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน ดังนั้นอาหาร TMR ควรมีลักษณะดังนี้

  1. ประกอบด้วยอาหารหยาบ และอาหารข้นในสัดส่วนที่เหมาะสมควรมีระดับพลังงาน และโปรตีนครบตามความต้อง การของสัตว์ระยะต่างๆ โดยคำนวณจากน้ำหนักแห้งตามอายุ และผลผลิตของโค
  2. คุณภาพของอาหารหยาบ และอาหารข้นต้องมีคุณภาพดี ควรมีระดับโปรตีนไหลผ่าน 30-35% ของโปรตีนทั้งหมดในอาหารมี NDS ไม่เกิน 35% โดยเฉพาะอาหารหยาบ ถ้ามีคุณภาพต่ำจะไม่ช่วยให้การใช้ประโยชน์ของอาหาร TMR  สูงสุด
  3. ขนาดตามยาวของอาหารหยาบไม่สั้นจนเกินไป ความยาวที่แนะนำให้ใช้อยู่ระหว่าง 3-5 ซม. หรือยาวกว่านี้ และมีเยื่อใย ADF ประมาณ 20-25% หรือ NDF 30-35% จึงจะทำให้การย่อยได้ในกระเพาะรูเมนมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ และสามารถรักษาความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะให้คงที่ได้
  4. การกระจายตัวของอาหารหยาบ และอาหารข้นควรสม่ำเสมอทั่วถึง
  5. สภาพอาหารต้องไม่มีรา หรือมอด และควรมีความน่ากินเป็นที่สนใจของโค

ผสมในอาหาร TMR

  ในการประกอบสูตรอาหาร TMR ต้องใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณสมบัติที่ดี เช่นเดียวกับการประกอบสูตรอาหารข้น อาหาร TMR จะประกอบด้วย

  1. แหล่งอาหารหยาบใช้พืชอาหารสัตว์ได้ทุกชนิด และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เยื่อใยสูง อาหารหยาบที่ใช้ควรมีศักยภาพในด้านการย่อยได้ และอัตราการย่อยได้สูง มีความสามารถทำให้อัตราการหมักสูง มีอัตราการสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีนสูงกว่าอัตราการผลิตกรดไขมันที่ระเหยได้
  2. แหล่งอาหารข้นประกอบด้วยแหล่งอาหารโปรตีน เช่น พวกกากถั่วเหลืองๆ กากเมล็ดทานตะวัน กากงา กากเมล็ดฝ้าย ใบพืชโปรตีนสูง เช่น ใบกระถินแห้ง ใบมันสำประหลังแห้ง เป็นต้น แหล่งอาหารพลังงาน เช่น มันเส้น ข้าวโพด รำ ข้าวฟ่าง เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้ TMR

  1. โคอาจได้รับโภชนะบางตัวมาก หรือน้อยกว่าความต้องการ โดยเฉพาะพลังงาน และโปรตีน ทั้งนี้ เนื่องจากการประกอบสูตร TMR มักใช้เพื่อเลี้ยงโคในระดับเฉลี่ยทั่วไป ดังนั้น โคที่มีความต้องการโภชนะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจะได้รับโภชนะมากกว่าความต้องการ ซึ่งอาจทำให้โคอ้วน และในทางกลับกันโคที่ให้ผลผลิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยจะได้รับไม่เพียงพอ
  2. ต้นทุนค่าอาหารจะสูงขึ้น ทั้งนี้ เพราะมีการใช้เครื่องจักรกลเพื่อผสมอัดเม็ด หรือบดวัตถุดิบ โดยเฉพาะอาหารหยาบ อย่างไรก็ตาม ราคาของ TMR จะต้องไม่แพงไปกว่าอาหารข้นโดยทั่วไป จึงจะทำให้ผู้เลี้ยงได้รับผลตอบแทนเต็มที่
  3. แหล่งของเยื่อใยใน TMR โดยเฉพาะในแง่การค้าผู้ผลิตมักนิยมใช้ของที่บดง่าย เช่น ซังข้าวโพด,เปลือกถั่วลิสง หรืออื่นๆ ผสม ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นเส้นใย ดังนั้น สัตว์จะย่อยไปใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าปกติ นอกจากนั้น ยังมีการนิยมใช้กากปาล์ม ซึ่งมีกะลาปาล์มปนค่อยข้างมากเป็นแหล่งเยื่อใย ซึ่งจะทำให้โคมีอาการเบื่ออาหาร และการให้ผลผลิตลดลง
  4. มีการสูญเสียโภชนะระหว่างขบวนการเตรียม TMR เช่น การอัดเม็ด หรือการหมัก โดยเฉพาะกรณีหลังนี้ จะมีการทำลายโปรตีน และแป้งใน TMR ระหว่างการหมักโดยจุลินทรีย์ทำให้สัตว์ได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ประมาณการไว้
  5. มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดจากการได้รับสาร NPN (Nonprotein Nitrogen) สูงค่อนข้างมากทั้งนี้เพราะ ผู้ผลิตมักนิยมผสมยูเรียลงไปเพื่อเพิ่มโปรตีน และแนะนำให้กินเฉพาะ TMR อย่างเดียวเต็มที่ ดังนั้น ถ้าสัตว์ได้รับยูเรียมากกว่าวันละ 30 กรัม/น้ำหนักตัว 100 กก. จะทำให้เกิดพิษ ซึ่งผู้ผลิตและผู้ใช้จะต้องระวังที่จุดนี้ให้มาก ในทางปฏิบัติอาหาร TMR ไม่ควรใส่ยูเรียเกิน 1% และมักผสมกากน้ำตาลด้วยในปริมาณ 5 – 10 %

ที่มา:  กรมปศุสัตว์

ผลจาการสำรวจเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

           ผลจากการสำรวจข้อมูลในเดือนธันวาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่กระผมรับผิดชอบทราบข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้  ทางคณะองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่พร้อมกับโรงบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูมใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ได้มีความเตรียมพร้อมในการรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆ เช่น จัดเป็นศูนย์พักพิง  ในส่วนของเรื่องการฉีดวัคซีนชาวบ้านตำบลตูมใหญ่ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 80 % จากประชากรทั้งหมด และเริ่มฉีดวัคซีนให้สำหรับกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามชาวตูมใหญ่ก็ยังมีความกระตือรือร้นในการรับมือกับทุกปัญหาที่จะเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

ปัญหาอุปสรรคในการทำงานและการแก้ไขปัญหา                                                                      

ในการทำงานเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  ได้มีอุปสรรคของการทำงานในเรื่องการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการอบรมการทำการผสมอาหารสัตว์แบบสูตรอาหารข้นและTMR เนื่องจากวัสดุบางชนิดหาได้ค่อนข้างยากในพื้นที่ ได้แก้ปัญหาโดยการโทรสอบถามอาจารย์ประจำหลักสูตรก่อนมีการอบรมล่วงหน้า เพื่อที่จะให้ทางทีมได้ดำเนินการหาวัสดุและอุปกรณ์ได้ทันเวลาในการอบรมในส่วนวัสดุที่หาตามพื้นที่ไม่ได้ทางทีมได้ไปซื้อตามนอกพื้นที่และตามร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  • ได้เห็นถึงการทำงานของทีม
  • ได้เรียนรู้ถึงการทำการผสมอาหารสัตว์แบบสูตรอาหารข้นและTMR
  • ได้เรียนรู้การแบ่งงานเพื่อหาวัสดุในการทำอาหารสัตว์
  • ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยี
  • ได้เรียนรู้ถึงการทำงานร่วมกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

แผนการดำเนินงาน เดือนธันวาคม

        ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป                                           

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู