1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AG01(2) การอบรมขั้นตอนและวัตถุดิบเกี่ยวกับการทำหญ้าหมักและอาหารข้น ด้านปศุสัตว์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กลุ่ม AG01(2) การอบรมขั้นตอนและวัตถุดิบเกี่ยวกับการทำหญ้าหมักและอาหารข้น ด้านปศุสัตว์

ดิฉัน นางสาวรุจิกร  บุญไธสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบคือ สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์และลงพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอท่องเที่ยว One Day Trip

 

  กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

  • วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ลงพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอ One Day Trip

  • วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ประชุมร่วมกับอาจารย์และทีมงาน AG01(2) ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนงานการจัดเตรียมอบรมในเรื่องการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในด้านปศุสัตว์ และการสร้างนักเล่าเรื่อง

 

  • วันที่ 30 ตุลาคม 2564 จัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดอบรมแนะนำให้ความรู้การเสริมสร้างอาชีพใหม่ในด้านปศุสัตว์

  • วันที่ 31 ตุลาคม 2564 จัดการอบรมขั้นตอนและวัตถุดิบเกี่ยวกับการทำหญ้าหมักและอาหารข้น ด้านปศุสัตว์

 

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก 

  1. หญ้าเนเปียร์สับ 2-3 เซนติเมตร 100 กิโลกรัม
  2. ถุงดำหรือกระสอบ
  3. ใบกระถิน 1 กระสอบ
  4. เกลือ 2 กิโลกรัม

ขั้นตอนในการทำหญ้าหมัก

นำหญ้าเนเปียร์สับจำนวน 100 กิโลกรัม มาผสมกับใบกระถินประมาณ 1 กระสอบ จากนั้นนำเกลือมาใส่จำนวน 2 กิโลกรัม นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ซึ่งเกลือนั้นมีส่วนช่วยในการจำกัดจุลินทรีย์ที่ไม่ดีทิ้งไป หลังจากที่ส่วนผสมเข้ากันแล้วก็นำส่วนผสมไปอัดใส่ถุงดำหรือกระสอบ ไล่อากาศออกให้ได้มากที่สุดแล้วปิดภาชนะบรรจุให้สนิท เก็บรักษาหญ้าหมักไว้ในที่เย็นหรือที่ร่มห้ามนำไปตากแดด  ประมาณ 21 วัน  เกิดการหมักเต็มที่สามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารข้น (กิโลกรัม)

  1. ข้าวโพดบด 50 กิโลกรัม
  2. ปลายข้าว 10 กิโลกรัม
  3. รำละเอียด 25 กิโลกรัม
  4. ปลาป่น (55% โปรตีน)
  5. กากถั่ว
  6. น้ำมันพืช
  7. แร่ธาตุวิตามินรวม (พรีมิกซ์)

ขั้นตอนในการทำอาหารข้น

นำกากถั่วมาผสมกับน้ำมันพืชเพื่อลดการฟุ้งกระจายจากฝุ่น จากนั้นนำข้าวโพดจำนวน 50 กิโลกรัม เทลงบนผ้าใบแล้วนำรำละเอียดจำนวน 25 กิโลกรัม และปลาป่น กากถั่ว พรีมิกซ์ มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยวิธีการย้ายกอง จากนั้นสามารถนำอาหารที่ผสมมาให้สัตว์เลี้ยงได้เลย ซึ่งสูตรนี้สามารถใช้ได้กับ สุกรและไก่ 16 % ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยเราสามารถผสมเข้ากับอาหารสูตรนี้ได้เลย

 

การฝึกอบรมทักษะ

ได้ทำการฝึกทักษะสำเร็จครบทุกด้านแล้ว ได้แก่

  1. ด้านดิจิทัล Digital Literacy
  2. ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
  3. ด้านการเงิน Financial Literacy
  4. ด้านสังคม Social Literacy

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้เรียนรู้ขั้นตอนในการทำหญ้าหมักและอาหารข้น
  2. ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมมากยิ่งขึ้น
  3. ได้เรียนรู้การรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น

 

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้าน และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
  3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
  4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

 

 

 

อื่นๆ

เมนู