ดิฉัน นางสาวศศิธร ชัยเสน ประเภท บัณฑิตจบใหม่(กพร) ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบคือ 15 หมู่บ้าน ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น” ของชุมชนในตำบลบ้านคู
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
ภาพถ่ายการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น” ของชุมชนในตำบลบ้านคู
ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น” ของชุมชนในตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการพัฒนาเรื่องเล่าเกี่ยวกับ:
1. โครงเรื่อง เนื้อหา สู่การพัฒนาเรื่องเล่าท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว
2. การสร้างพิมพ์เขียว การตรวจสอบองค์ประกอบของเรื่องเล่าที่สำคัญ
วัตถุประสงค์การจัดอบรม
- เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการจัดการมาตรฐานการท่องเที่ยวในชุมชน
การพัฒนาเรื่องเล่าเกี่ยวกับการปฏิบัติการสร้างเรื่องเล่าและการอภิปราย
**** ประเด็นเรื่องต้องชัดเจน โดยปกติ เรื่องเล่ามาจากประเด็นที่มีฐานความคิดหรือคติธรรมที่ทำหน้าที่เสมือนประเด็น หลักตลอดทั้งเรื่อง ให้ผู้ชมหรือผู้ฟังเข้าใจและสะท้อนคิดจากประเด็นที่แฝงในเรื่องเล่าได้ดี และเรื่องเล่าควรมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว
การเล่าเรื่อง การนำเสนอเรื่องเล่าและการอภิปราย
1. ระบุประเภทของเรื่องเล่า ลักษณะตัวละคร เค้าโครงเรื่อง วาทศิลป์และแก่นของเรื่อง ซึ่งขั้นตอนนี้ เกี่ยวข้องกับการเลือก รูปแบบของเรื่องเล่า บทนำ เนื้อเรื่อง และตอนจบ โดยมีเค้าโครงเรื่องที่ สามารถนำมาวิเคราะห์และระบุถึงประเภทของเรื่องเล่าได้
2. ประเมินอารมณ์ที่แฝงอยู่ในเรื่องเล่า การบรรยายถึงอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเล่าประสบการณ์ช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเห็นอก เห็นใจ อีกทั้งยังช่วยให้เรื่องเล่านั้นมีความลึกซึ้งและสอดคล้องกับบริบทที่เล่าอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการผูกอารมณ์เข้ากับ เหตุการณ์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเรื่องเล่า ซึ่งการบ่งบอกถึงอารมณ์ช่วยเสริมบทสรุปของเรื่องเล่า
3. ค้นหาจินตนาการ ความปรารถนาและความต้องการที่แฝงอยู่ในเรื่องเล่า โดยความต้องการและความปรารถนาที่ปรากฏอยู่ ในเรื่องเผยให้เห็นเจตนาของเรื่องเล่าจะรู้ว่าเจตนาที่เข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบได้จากเรื่องเล่าเรื่องนั้น ว่ามีความไม่ สมเหตุสมผล หรือไม่สมจริง ที่ไม่สอดคล้องกับเจตนาที่ต้องการจะสื่ออยู่หรือไม่
4. ทำความเข้าใจความหมายและคุณค่าของเรื่องเล่าที่มีต่อผู้ชมในขั้นตอนนี้ จะมีการกำหนดเคราะห์กรรม เหตุการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆ อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ตามลำดับเวลาที่กำหนด การติดตามดูจุดสูงสุดของเรื่องเล่าสามารถดูได้จากภาวะวิกฤตและภาวะคลี่คลายที่อยู่ในเค้าโครงเรื่องเล่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของเรื่องเล่าตลอดทั้งเรื่อง
บทสรุปเรื่องเล่า-การเล่าเรื่อง และแนวทางการร้อยเรียงเรื่องเล่าสู่รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน
เค้าโครงเรื่องสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ บทนำ เนื้อเรื่อง และตอนจบ ในส่วนของบทนำ มีการกำหนด ฉากเริ่มต้น ส่วนเนื้อเรื่องมีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งเพื่อสร้างตัวแปรต่าง ๆ ให้กับเรื่องเล่า เมื่อตัวแปรต่าง ๆ เข้มข้นขึ้น แล้วคลี่คลายลงก็จะกลายเป็นจุดจบของเรื่องเล่าไปในที่สุด
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้เทคนิคการคิด การพูด การเล่าเรื่องเล่าให้ดึงดูดผู้ฟังได้เป็นอย่างดี
- ได้เรียนรู้แนวทางในการร้อยเรียงเรื่องเล่าธรรมดาสู่รูปแบบการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- ได้รู้จักการขายออนไลน์ที่ทันสมัยและมีไหวพริบในการสร้าง Content จำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ ออนไลน์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
แผนการดำเนินงานต่อไป ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานดังนี้
1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านโนนสะอาด และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป