1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กิจกรรมการพัฒนานักเล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กิจกรรมการพัฒนานักเล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

กิจกรรมการพัฒนานักเล่าเรื่องท้องถิ่น

และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉัน นางสาวสุภาพร อดุลสุข ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข

          ในการปฏิบัติงานดิฉันและสมาชิกคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการจัดสถานที่ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ร่วมทำกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและกระตุ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนรวมไปถึงการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ให้กับคนในชุมชน เพื่อให้เกษตรกรสามารสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

1. กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่พบเจอในสัตว์ ภายใต้กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์

        คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมการพัฒนานักเล่าเรื่อง และกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์

        คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์จำนวน 2 ครั้ง

          อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน

          ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะตามที่มหาวิทยาลัยราชภับุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์

2.1 กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มีการนพความรู้ในการนำเสนอเรื่องเล่าเพื่อกระตุ้นแหล่งท่องเที่ยว ในชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำไปปรับใช้ในการเล่าประสบการณ์และเรื่องเล่าในท้องถิ่น โดยมีการให้ผู้เข้าร่วแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในชุม เพื่อเปิดโอกาสให้คนในชุมชสามารถถ่ายทอด และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว อันเกิดจากประสบการณ์ตรงในชุมชน ให้เกิดความน่าสนใในทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนได้อย่างยอดเยี่ยม

2.2 กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์” ขึ้นจำนวน 2 ครั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายให้แก่ครอบครัว โดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมบอกถึงปัญหาที่พบเจอในสัตว์ วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้ วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้น โดยได้ข้อสรุป ดังนี้

1. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง

1.1 ปัญหาที่พบเจอ

1. ไก่เหงา

2. ไก่หน้าซีด

3. ไก่เป็นห่า

4. ไก่ผอ

5. โรคฝีดาษ

6. โรคอหิวาต์

7. โรคคอบิด

8. โรคขี้ขาว

1.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

1. ข้าวสวย รำ และหัวอาหาร  อัตราส่วน 1 : 1 : 1

2. ข้าวเปลือก และปลายข้าว อัตราส่วน 1 : 1

3. ข้าวสวย และรำ       อัตราส่วน 1 : 1

4. ต้นกล้วยสับ

1.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

1. ซื้อวัคซีนน้ำแดง และพรมน้ำ (สำหรับลูกไก่)

2. ปล่อยเลี้ยงรักษาตามธรรมชาติ

3. แยกตัวป่วยออกมารักษา

1.4 ความต้องการในการพัฒนา

1. วิธีการรักษาไก่เหงา

2. วิธีการรักษาไก่ตัวซีด

3. วิธีการรักษาไก่เบื่ออาหาร

4. ช่องทางการขายไก่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

2. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงโคและกระบือ

2.1 ปัญหาที่พบเจอ

1. โรคลัมปีสกิน

2. โรคปากเท้าเปื่อย

3. คอบวม

4. มดลูกทะลัก

5. แม่วัวไม่มีน้ำนม

6. อาหารหายาก

7. สถานที่เลี้ยงไม่เพียงพอ

8. ต้นทุนอาหารสูง

9. ผสมพันธุ์ไม่ค่อยติด

2.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

1. ฟางแห้ง

2. หญ้าเนเปียร์​​

3. หญ้าหวาน​​

4. หญ้ากินนี​​

5. หญ้ารูซี​​

6. หญ้าขน

7. รำข้าว

8. กากน้ำตาล

9. อาหารสำเร็จรูป

2.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

1. ยาบำรุง

2. ยาฆ่าเชื้อ

3. ยาถ่ายพยาธิ

4. ยาม่วง​​

5. ยาเขียว​​

6. เพนิซิลลิน

7. ยารักษาโรคลัมปีสกิน

8. วัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย

2.4 ความต้องการในการพัฒนา

1. วิธีการป้องกันการเกิดโรคทางผิวหนังของโคและกระบือ

2. วิธีการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของโคและกระบือ

3. วิธีการเลี้ยงโคและกระบือให้อายุยืนยาว

4. ช่องทางการขายโคและกระบือให้ได้ราคาสูง

3. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงแพะ

3.1 ปัญหาที่พบเจอ

1. ราคาและตลาด (กลุ่มสหกรณ์แพะ)

2. ขาดความรู้ด้านการสร้างและออกแบบโรงเรือน

3. ไม่มีความรู้ด้านการจัดการการเลี้ยงแพะที่เป็นระบบ

4. ขาดความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันและรักษาโรค

5. ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตอาหารเพื่อลดต้นทุนการผลิต

6. ขาดความรู้ความเข้าใจในการให้อาหารแพะ

3.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

1. ใบกระถิน

2. หญ้าเนเปียร์บด

3. หญ้าหวานบด

4. หัวอาหารเสริมสำเร็จรูป

3.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

1. วัคซีนปากและเท้าเปื่อย

2. ยาบำรุง

3. ยาถ่ายพยาธิ

3.4 ความต้องการในการพัฒนา

1. การหาตลาดในการขายสัตว์เศรฐกิจที่เลี้ยงให้ได้ราคาสูง

2. การจัดหาวัคซีนและตารางการทำวัคซีนตามฤดูกาล

3. การเลี้ยงสัตว์ยังไงให้ง่ายและมีความชัดเจนในเรื่องต้นทุนการผลิตและราคาขาย

4. กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสุกร

4.1 ปัญหาที่พบเจอ

1. โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

2. โรคปากเท้าเปื่อย

3. โรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์

4. ต้นทุนอาหารสูง

4.2 วัตถุดิบ/อาหารที่ใช้

1. อาหารสัตว์สำเร็จรูป

2. รำหยาบ และรำอ่อน

3. ปลายข้าว

4.3 วัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาโรค

1. วิตามิน

2. ยาม่วง​​

3. ยาเขียว

4.4 ความต้องการในการพัฒนา

1. การเรียนรู้วิธีการผสมเทียมสุกร

2. วิธีการผสมอาหารสัตว์สำเร็จรูปเพื่อเป็นการลดต้นทุนอาหาร

จากการจัดกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ พบว่าเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชน ได้เห็นถึงปัญหาอาหารสัตว์ที่มีราคาสูงแต่ผลผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง สุกรโคและกระบือ กลับมีราคาไม่สมดุลกับต้นทุนค่าอาหาร ทางคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร จึงเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการปศุสัตว์ อาจารย์ เอกสิทธิ์ สมคุณา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สมคุณา และอาจารย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์ มาอบรมและแนะนำสาธิตวิธีการประกอบสูตรอาหารสัตว์ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถหา วัตถุดิบได้ในชุมชน เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานอีกด้วย

วิธีการประกอบสูตรอาหาร TMR

1. หญ้าเนเปียร์ (หมัก)  ​​65%      

2. ใบกระถิน + กิ่งอ่อน ​​8%    

3. ใบมันสำปะหลัง + ก้านอ่อน8%    

4. รำะเอียด​​​6%

5. กากน้ำตาล ​​​3%

6. Premix ​​​0.5%  

7. กากถั่วเหลือง ​​​4%      

8. ยูเรีย ​​​​2%        

9. เกลือ ​​​0.5%

วิธีการประกอบสูตรอาหารข้นโคและกระบือ

1. มันสําปะหลัง ​​50%            

2. กากถั่วเหลือง ​​19%          

3. ปลาป่น ​​5%

4. เกลือ ​​0.5 %                                  

5. Premix ​​0.5%

6. รำละเอียด ​​ 8 %                  

7. ปลายข้าว ​​17 %      

วิธีการประกอบสูตรอาหารหมักยีสต์

1. ยีสต์ขนมปัง ​​500 กรัม

2. กากน้ำตาล ​​1 กิโลกรัม

3. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม

4. น้ำสะอาด ​​20 ลิตร

5. วัตถุดิบ ​​50 กิโลกรัม

หมายเหตุ : สูตรหมักยีสต์ควรทำการหมัก 7-14 วัน

3. ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

          จากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในเดือนพฤศจิกายน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน เป็นต้น

 4. ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ในส่วนของกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงมีการแก้ไขปัญหโดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น          

5. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          จากการลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอการเล่าเรื่องท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจต่อผู้ฟัง

ได้เรียนรู้วิธีการทำสูตรอาหารสัตว์ที่สามารถลดต้นทุน แตคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบา

6. แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ

2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านหนองดุม และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล

3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้

4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

ลิ้งก์วีดีโอ

อื่นๆ

เมนู