บทความประจำเดือน ธันวาคม 2564

กลุ่ม AGO1-(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เรื่อง การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และกิจกรรมภายในเดือนธันวาคม

ตำบลตูมใหญ่  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉันนางสาวดวงฤทัย  อินทร์แก้ว ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งภายในเดือนตุลาคม ดิฉันได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการ จัดทำสื่อวีดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น การจัดทำโปสเตอร์ และการเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาและจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ โดยมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 3 ศูนย์ คือ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปอาหาร(กล้วยฉาบ)กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย และศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมือสีธรรมชาติบ้านหนองดุม และภายในเดือนธันวาคมยังมีการจัดอบรมเกี่ยวกับสัตว์น้ำรวมไปถึงการลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวตามแผนที่ One day trip อีกด้วย

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยภายในทีม AG01(1) เพื่อแบ่งทีมการรับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่สำรวจเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ภายในตำบลตูมใหญ่
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรมทดลอง One Day Trip สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจตำบลตูมใหญ่
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์ตูมใหญ่การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบลตูมใหญ่
  • คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม

» ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ในเว็บไซต์ Thaimooc , TDGA และ set e-learning เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้

คณะปฏิบัติงานตำบลตูมใหญ่ได้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ก่อนจบโครงการในเดือนสุดท้าย โดยมีการจัดตั้งทั้งหมด 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปอาหาร(กล้วยฉาบ)กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย และศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมือสีธรรมชาติบ้านหนองดุม ในจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเตรียมสะถานที่รวมไปถึงจัดการภูมิทัศน์ให้สะอาดและสวยงามในแต่ละศูนย์ทางทีมงาน U2T ตำบลตูมใหญ่ได้มีการลงพื้นที่เตรียมความพร้อมช่วยกันในแต่ละกลุ่ม และดิฉันได้รับมอบหมายให้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมือสีธรรมชาติบ้านหนองดุม ซึ่งในการเตรียมสถานที่นี้ ทางทีมได้มีการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะอาด และเป็นระเบียบมากขึ้น ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้

 

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมือสีธรรมชาติบ้านหนองดุม

  1. ข้อมูล/ที่มา

ผ้าทอมือตูมใหญ่เป็นศิลปะหัตกรรมพื้นบ้านตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรัมย์มีการทอแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสานกันมาหลายร้อยปี ผ้าทอมือที่มีความสวยงาม   ด้วยการสอดใส่ลวดลายที่เป็นเอกลักลักษณ์ที่โดดเด่นมีย้อมจากสีธรรมชาติและทอมือแท้ 100% มีสีสันที่สวยงามสบายตาอ่อนโยนแสดงถึงคนที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย

กลุ่มทอผ้าไทยบ้านหนองดุม เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2561 ประธานกลุ่ม คือ นางอำพร หนองหล้า เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมนชมชนโดยมีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และสร้างอาชีพใหม่ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และภายหลังได้มีการจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอมือบ้านหนองดุมและการย้อมสี      ธรรมชาติ ณ บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการยกระดับการผลิตผ้าทอพื้นบ้านย้อมสีจากธรรมชาติให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งให้บริการเผยแพร่ ข้อมูลและองค์    ความรู้เรื่องการผลิตผ้าทอมือ การยกขิดผ้าทอมือตูมใหญ่และการย้อมสีธรรมชาติอย่างครบวงจร และสร้างรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าแบบดั้งเดิมและการย้อมสีจากเปลือกไม้ธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป

  1.  สตอรี่/ลายเอกลักษณ์

ภูมิปัญญาผ้าทอมือบ้านหนองดุม เป็นหัตถกรรมที่ต้องมีการใช้ฝีไม้ลายมือในการทอผ้า มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ “ยกขิตลายดอกหญ้า” ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “หญ้าตีนตุ๊กแก” (Coat Buttons, หรือ Mexican daisy) ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกที่พบมากในแถวบ้านเรา หญ้าตีนตุ๊กแกเป็นพืชที่ออกดอกตลอดทั้งปีและทนแล้ง    ได้ดี ความพิเศษของดอกหญ้าชนิดนี้ คือ เมื่อพระอาทิตย์ลาลับไปแล้ว ดอกหญ้าก็จะก้มหน้าและโค้งงอลง เปรียบเหมือนการแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของต้นหญ้า ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนในท้องถิ่นบ้านหนองดุม ที่สะท้อนออกมาผ่านลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม

          ฐานการเรียนรู้ที่ 1

  • การทอผ้า
  • อุปกรณ์
  • ขั้นตอนการทอผ้า
  • วัตถุดิบ
  • ชนิดของเส้นใย
  • กรรมวิธีในการทอผ้าลายขิด
  • วิธีการเก็บขิด

ฐานการเรียนรู้ที่ 2

  • การยอมสีธรรมชาติ
  • ชนิดของเส้นด้ายหรือเส้นใย
  • ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการย้อม
  • ปริมาณของวัตถุดิบที่ต้องการสกัดสี
  • การเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ
  • การเตรียมสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี
  • การใช้สารช่วยย้อมหลังการย้อมสี
  • การย้อมซ้ำ
  • วิธีการหมักโคลน
  • การฟอกเส้นด้าย
  • ขั้นตอนการฟอกสี
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการผอกสี
  • ทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
  • ทำกระเป๋ามัดย้อมสีธรรมชาติ

 

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ของตำบลตูมใหญ่และควบคุมดูแล Facebook fanpage

การจัดทำวิดโอประจำเดือนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลอัพโหลดผ่านช่องทางYoutue การเขียนคอนเทนต์ประจำวัน การจัดทำโปสเตอร์สื่อประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่าน Pratfrom Facebook สื่อออนไลน์ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการควบคุมดูและการจัดการตลาดออนไลน์ควบคู่กับไปกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้สมาชิกกลุ่มเข้าใจการตลาดมากที่สุด รวมไปถึงการจัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชน เช่น กล้วยฉาบ และผ้าทอมือของแม่ๆในชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางในการทำตลาดออนไลน์ เพราะแม่ๆเข้าถึงในส่วนนี้ได้ยาก ทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้เล็งเห็นถึงการเพิ่มรายได้ในส่วนนี้เลยได้มีการช่วยแม่ๆไปในช่องทางนี้ด้วย

ลงพื้นที่สำรวจเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ภายในตำบลตูมใหญ่

คณะผู้ปฏิบัติงานมีการสำรวจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของคนในชุมชนตำบลตูมใหญ่ว่ามีการเลี้ยงและมีการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไรบ้าง โดยทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมและจัดการแบ่งทีมย่อยลงแต่ละหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่ดิฉันได้รับผิดชอบ มีดังนี้ บ้านหนองกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านกระทุ่มนอก บ้านใหม่เจริญสุข จากการลงสำรวจ พบว่าชาวบ้านมีการเลี้ยงสัตว์อยู่จำนวนมาก อาทิเช่น ไก่ สุกร โค กระบือ แพะ เป็นต้น

 

กิจกรรม One  Day Trip และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบลตูมใหญ่

          คณะผู้ปฏิบัติงานมีการและอาจารย์ผู้รับผิดชอบประจำตำบลได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ตามที่ได้จัด กิจกรรม One  Day Trip บางส่วน โดยสถานที่ที่ไปสร้างความประทับใจและความตื่นเต้นสำหรับผู้ที่ไปเยี่ยมชมเป็นครั้งแรกอย่างมาก เช่น วัดบ้านปะคำสำโรง และแกรนด์แคนยอนหรือละลุ เป็นต้น

 

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ในส่วนของกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่

  • ได้เรียนรู้ถึงการทำงานกับคนหมู่มากและการวางตัวอย่างเหมะสม
  • ได้เรียนรู้ถึงการติดต่อประสานงานในองค์กรมากขึ้น
  • ได้เรียนรู้ถึงการการมีส่วนร่วมของคนในทีม
  • ได้เรียนรู้ถึงการย้อมสีจากธรรมชาติ
  • ได้เรียนรู้ถึงการทำการตลาดออนไลน์

แผนการดำเนินงานต่อไป

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้

  1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
  2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
  3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
  4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

อื่นๆ

เมนู