บทความประจำเดือนธันวาคม 2564

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            กระผม นายเอกวรนันท์ เครื่องไธสง ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข

ในการปฏิบัติงานกระผมและสมาชิกคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น และกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการพัฒนาการสื่อสารในการนำเสนอเรื่องเล่าที่กระตุ้นความสนใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมไปถึงการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ให้กับคนในชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้หลักหรือรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว ทำให้เกิดรายได้ในชุมชนและชุมชนรอบข้างจนถึงระดับจังหวัดและภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน

               กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น

ได้ปรับปรุงและจัดเตรียมสถานที่ เพื่อรอการเตรียมเปิดศูนย์การเรียนรู้กลุ่มกล้วยฉาบเบรกแตก บ้านใหม่เจริญสุข โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมกำกับดูแล คณะผู้ปฏิบัติงาน AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง และชาวบ้านใหม่เจริญสุข ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหรือผู้ที่สนใจสินค้า ได้เข้ามาศึกษาและจับจ่ายซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก จนสำเสร็จลุล่วงได้อย่างราบรื่น

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) กระผมได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์

 

                  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ

             

กิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น

            การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสวิถีชุมชนแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจในการสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในระหว่างการท่องเที่ยว และสนใจเรื่องเล่าที่อยู่เบื้องหลังการท่องเที่ยว เรื่องเล่าจึงกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเพื่อเรียนรู้ สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ร่วมกับชุมชนและเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงได้มีการนำองค์ความรู้ด้านศิลปะการสื่อสารในการนำเสนอเรื่องเล่าที่กระตุ้นความสนใจ ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และแนวทางการร้อยเรียงเรื่องเล่าสู่รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำไปปรับใช้ในการเล่าประสบการณ์และเรื่องเล่าในท้องถิ่น เพื่อเป็นการดึงดูดใจและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น โดยมีการให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมใจกันเขียน   สคริปการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในชุมชุนพร้อมกับนำเสนอการเล่าเรื่อง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนร่วมวิเคราะห์บริบทชุมชน ค้นหาเรื่องเล่าของชุมชน กำหนดเกณฑ์การสร้างนักสื่อความหมายท้องถิ่นและพัฒนาเป็นนักสื่อความหมายที่สามารถนำเที่ยวและถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ตรงในชุมชน เกิดความภาคภูมิใจ หวงแหนในทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน โดยผู้เข้าร่วมอบรมมีการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในท้องถิ่น ดังนี้

 

 

  ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

 

ข้อมูล/ที่มา

ผ้าทอมือตูมใหญ่เป็นศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านตำบลตูมใหญ่ และการทอผ้าเองก็ยังเป็นวัฒนธรรมอย่าง หนึ่งที่สืบทอดกันมา นอกจากคุณค่าทางศิลปะแล้วยังเป็นการแสดงถึงแบบแผนความเป็นอยู่ในสังคม กรรมวิธี และเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ จึงเป็นเทคนิคและความสามารถของแต่ละคน ซึ่งผู้ทอสามารถ จดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ถึง แม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถ นำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงามแสดงถึงภูมิปัญญา และความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตูมน้อย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2559 ประธานกลุ่มคือ นางปัณฑิตา แก้วกูล เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 25 คน กลุ่มทอผ้าบ้านตูมน้อย เป็นกลุ่ม แม่บ้านช่างทอผ้าที่รวมตัวกันทอผ้าเป็นอาชีพเสริม และนำออกขายในลักษณะสหกรณ์ โดยมีโครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ หน่วยงาน อว.ร่วมกับ มหาวิทยาลัยลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างอาชีพ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีในพื้นที่ สร้างมูลค่าเพิ่มได้และภายหลังได้มีการจัดตั้งให้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการเสริมสร้างการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ระดมความคิด ประสบการณ์ของ ทางกลุ่มไปยังผู้ที่สนใจภายนอกชุมชน รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งให้บริการเผยแพร่ และการยกระดับการผลิตผ้า ทอมือพื้นบ้านผ้าขาวม้าทอมือสู่สากล รวมถึง รายละเอียดแต่ละขั้นตอน มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไรบ้างกว่าจะ มาเป็นผ้าขาวม้าแต่ละผืน และมุ่งพัฒนาผ้าทอมือให้ตรงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเพิ่มทักษะด้านความคิด ด้าน’ฟิมือและสร้างองค์ความรู้การออกแบบ เพื่อเอามาเป็นจุดขายและสร้างรายไดให้กับชุมชน และ เพื่อให้เกิด การสืบสานภูมิปัญญาและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมสืบต่อไป

สตอรี่ /ลายเอกลักษณ์

ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย เป็นงานหัตถกรรมที่พัฒนารูปแบบ ลวดลาย สี ด้วยการสร้าง จากนวัตกรรมจากวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว โดยการพลิกโฉม จากผ้าขาวม้าสไตล์เดิมๆ เพิ่มเอกลักษณ์โดยการใช้สีพาสเทลที่มีความทันสมัยทอลายด้วยโทนสีต่างๆ โดยใช้สี หวานๆ เก๋ๆ ลวดลายของผ้าออกแบบเฉพาะตัวไม่ซํ้าใครจนได้ผ้าขาวม้าสีพาสเทลที่ให้ความหวานละมุนใน แบบฉบับของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทย นอกจากนี้ผ้าไทยของกลุ่มยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันสวยงามและมีเสน่ห์ มอง แล้วรู้สึกสบายตา และยังเป็นโทนสีของผ้าขาวผ้าที่สุภาพหรือโทนสีที่ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป สามารถสวมใส่ใช้ได้ ทุกเพศทุกวัย และทุกโอกาส

ขั้นตอนการเตรียมด้ายทอผ้าขาวม้า

ขั้นตอนการเตรียมด้ายทอผ้าขาวม้า มีดังนี้

  1. การเตรียมด้ายยืน คือ ด้ายที่ใช้เป็นพื้นในการทอผ้าเป็นด้ายแกนกลางของผ้า ซึ่งเริ่มจากการแยกเส้น ใยผ้าด้าย ออกเป็นเส้นแยกสืต่างๆ แล้วนำด้ายที่แยกออกมาไดใปปันใส่อัก เมื่อได้เส้นด้ายที่ปันใส่อักมาก พอแล้ว จึงนำไปค้นใส่หลัดเผ้อง(หลักค้น) เมื่อได้เส้นด้ายที่ค้นใส่หลักเผ้องมากพอแล้ว จะเก็บผ้าเป็นเครือ แล้วจึง นำเครือผ้าที่ไดไปสืบใส่พืเม
  2. การเตรียมด้ายพุ่ง คือ ด้ายที่ทอในหลายขวางของเนื้อผ้า เป็นด้ายที่อยู่ในหลอดด้ายมีสืต่างๆ ตามต้องการ แล้วนำไปบรรจุใส่กระสวยก่อนนำไปทอ


สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในหูกแต่ละชุดและพืเม ดึง ปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอกด้ายเข้า กระสวย เพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง

ขั้นตอนการทอผ้าขาวม้า มีดังนี้

  1. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่หูก ด้วยเส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้าย พุ่งผ่าน สลับเขาหูกชุดที่ 1 ยกเข้าชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
  2. การกระทบฟ้นพืเม เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟ้นพืเม เพื่อให้ด้ายพุ่งแน่นหนาติดกันได้ เนื้อผ้าที่แน่นหนา
  3. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้ คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ
  4. ทอผ้าต่อไปเสื่อยๆ จนหมดด้ายในเครือด้ายแล้วจึงทำการเก็บผ้าที่ทอเสร็จ ซึ่งในการทอผ้า 1 เครือ จะใช้เวลาโดยประมาณ 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับความชำนาญในการทอผ้าและความขยันของผู้ทอ
  5. ในการท่อผ้าขาวม้าของกลุ่ม 1 ผืน จะมีความกว้าง 85 เซนติเมตร มีความยาว 25 เซนติเมตร 

 

การตกแต่งสำเร็จให้นุ่มลื่นด้วยสารตกแต่งทำให้ผ้านุ่ม + ลื่น

 

การตกแต่งสำเร็จให้นุ่มลื่นด้วยสารตกแต่งทำให้ผ้านุ่ม + ลื่น

การตกแต่งผ้าให้นุ่มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเส้นใยทุกประเภท ปัจจุบันมีการกระทำกันอย่างกว้างขวาง โดยไม่เพียงแต่ในอุสาหกรรมสิ่งทอเท่านั้น แม้แต่ในครัวเรือนก็มีการทำผ้าให้นุ่มภายหลังการซักล้างกันอย่าง แพร่หลาย การตกแต่งให้ผ้ามีคุณสมบัตินุ่มลื่น นอกจากจะทำให้ผ้ามีคุณสมบัติสวมใส่สบายแล้ว ยังทำให้ผ้ามี เนื้อนุ่มมากขึ้น และช่วยลดการยับ ทำให้ผ้ามีคุณสมบัติคืนตัวได้ดีอีกด้วย

ขั้นตอน

เตรียมสาร แช่ที่อุณหภูมิ 50 องศา (นั้าอุ่น) เวลา 20-30 นาที ผึ่งลมให้แห้ง นำมารีดด้วยเตารีด

สารเคมี

สารทำนุ่ม (Softener) + สารทำลื่น (Silicone)

อัตราส่วนผสม

นํ้าหนักผ้า

(ขีด)

ปริมาณนํ้า

(ลิตร)

สารทำนุ่ม

(กรัม)

สารทำลื่น

(กรัม)

สารตกแต่ง

(ซ้อนแกง)

ไม่เกิน 1 0.5 2.5 กรัม 2.5 กรัม
1-2 1 5 กรัม 5 กรัม
2-3 1.5 7.5 กรัม 7.5 กรัม ผสมรวมกัน 1 ช้อน

แกง เท่ากับ 15 กรัม

3-4 2 10 กรัม 10 กรัม

ข้อควรระวัง  ไม่ควรตกแต่งผ้าที่มีสีแตกต่างกันในภาชนะเดียวกัน

ขั้นตอนการตกแต่งสำเร็จให้ผ้านุ่มลื่น

  1. แยกผ้ามีเดียวกัน หานั้าหนักของผ้าโดยใช้ตาชั่ง
  2. หาปริมาณนั้า (อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส) ตวงนั้าใส่กะละมังที่ล้างสะอาดแล้ว
  3. ตวงสารทำนุ่ม และสารทำลื่น ตามอัตราส่วนในตารางที่ 1
  4. นำสารทำนุ่ม และสารทำลื่น ไปให้ความร้อน โดยละลายผสมสารในนั้าอุ่น (อุณหภูมิ 50 องศา เซลเซียส) คนให้เข้ากัน
  5. นำผ้าไหม หรือผ้าฝืาย ลงแช่ให้ทั่ว บีบด้วยมือเบาๆ แช่ไว้นาน 20-30 นาที
  6. ยกผ้าขึ้นกางออกวางบนโต๊ะ นวดผ้าด้วยไม้นวดแป้ง เพื่ออัดนั้ายาเข้าเส้นใยทั้งสองด้านของผืนผ้า
  7. นำผ้าผึ่งไว้ในที่ร่ม ให้หมาดๆ
  8. นำผ้ามารีดด้วยเตารีด จนผ้าเรียบทั้งสองด้าน

  1. การตกแต่งสำเร็จให้ผ้ามีกลิ่นหอมด้วยไมโครแคปซูล

การตกแต่งสำเร็จเพื่อให้มีกลิ่นหอม สามารถนำไปประยุกต์ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย โดยการตกแต่ง กลิ่นผ้าด้วยแคปซูลกลิ่นหอม ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัมผัสพิเศษให้กับผ้า เนื่องจากแคปซูลที่บรรจุกลิ่นจะแตกออกเมื่อ ได้รับแสง หรือการสัมผัส ทำให้เทคโนโลยีการตกแต่งกลิ่นหอมลงบนผ้าได้รับความนิยมที่แพร่หลายอย่างมาก เนื่องจากเราสามารถบรรจุกลิ่นที่ต้องการลงไปภายในแคปซูลตามที่ต้องการได้ เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นมะลิ และกลิ่นกุหลาบ เป็นต้นการตกแต่งสำเร็จให้ผ้ามีกลิ่นหอมด้วยไมโครแคปซูล

ส่วนผสม

ปริมาณ

สารเคมี

เตรียม

1 ลิตร

เตรียม

2 ลิตร

เตรียม

3 ลิตร

เตรียม

4 ลิตร

เตรียม

5 ลิตร

ไมโครแคปซูล กลิ่นต่าง

(10 กรัม/ลิตร)

10 กรัม 20 กรัม 30 กรัม 40 กรัม 50 กรัม
สารช่วยยึดติด (ไบเดอร์)

(5 กรัม/ลิตร)

5 กรัม 10 กรัม 15 กรัม 20 กรัม 25 กรัม

 

ขั้นตอนการตกแต่ง

  1. เตรียมส่วนผสมตามตารางด้านบน
  2. นำผ้าที่ต้องการตกแต่งให้ผ้ามีกลิ่นหอม แช่ลงในสารละลายที่เตรียมไวในข้อ 1 เป็นเวลา 10-15 นาที โดยในระหว่างการแช่ให้ทำการบีบผ้าเบาประมาณ 1 นาที เพื่อให้สารละลายซึมลงไปในผืนผ้า
  3. นำผ้าขึ้นมาตากแห้ง

 

 

กลุ่มกล้วยฉาบเบรกแตก บ้านใหม่เจริญสุขข้อมูลและที่มา

 

ชื่อกลุ่ม/ผู้ประกอบการ

  • กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข

ประเภทผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

  • กลุ่มผู้ผลิตชุมชน

รหัสผู้ประกอบการ

  • 3102000155

วันที่ก่อตั้งกลุ่ม

  • 31 ธันวาคม 2562

ที่อยู่สถานประกอบการ

  • 209 หมู่ที่ 19ใหม่เจริญสุข ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์31190

ข้อมูลและที่มา

นายสมพร ดารินรัมย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 บ้านใหม่เจริญสุข ได้รับงบประมาณจากพัฒนาชุมชน อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อที่จะนำมาเสริมสร้างรายไดให้กับชาวบ้านและผู้สูงอายุในชุมชนจึงได้มีการ จัดตั้งกลุ่มขึ้นมา โดยเสนอเป็นการทำกล้วยฉาบ ในชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข

กล้วยฉาบบ้านใหม่เจริญสุขเป็นกล้วยฉาบสูตรดั้งเดิมซึ่งมี “แม่เกิด” คุณแม่เกิด บัวบุญมา เป็นคนใน ชุมชนมีความรู้ทางด้านการทำขนมต่างๆ ได้นำสูตรการทำกล้วยฉาบมาถ่ายทอดให้กับกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้าน ใหม่เจริญสุข ซึ่งแต่เดิมกล้วยฉาบสูตรของ“แม่เกิด” มีเพียง 1 สูตร เท่านั้น คือ รสหวาน ต่อมามีการดัดแปลง สูตรของ“แม่เกิด”โดยคิดค้นสูตรกล้วยฉาบขึ้นมาอีก 3 รสชาติ คือ กล้วยฉาบรสดั้งเดิม กล้วยฉาบรสเค็ม และ กล้วยฉาบรส 3 รส เพื่อให้มีความหลากหลายต่อความต้องการของตลาด

ปัจจุบันกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข มีสูตรกล้วยฉาบอยู่ทั้งหมด 4 สูตร ได้แก่ กล้วยฉาบรส ดั้งเดิม กล้วยฉาบรสหวาน กล้วยฉาบรสเค็มและกล้วยฉาบรส 3 รส

วัตถุประสงในการก่อตั้งกลุ่ม

    • เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้เสริม
    • เพื่อนำทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุดิบ

  1. กล้วยดิบ

– กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’

รสชาติหวานไม่ฟาด จะมีสรรพคุณ แก้โลหิตจาง โดยเฉพาะผลห่ามๆ และสุก จะมีธาตุ เหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และมียังแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นด้น อีกทั้งยัง แก้เลือดออกตามไรฟ้นด้วย

– กล้วยหักมุก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa ABB group

รสชาติอมเปรี้ยว มีสรรพคุณสามารถแกโรคกระเพาะได้ เพราะมี ไซโตอินโดไซด์ ซึ่งสามารถ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร และยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่มาจากอาการท้องเสียได้ด้วย

กล้วยส้มหรือกล้วยเปลือกหนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (ABB group) “Kluai Som “

รสกล้วยส้มเมื่อยังไม่สุกมีรสชาติเปรี้ยวแต่ไม่มาก เมื่อแก่ผลสีเหลืองเข้มจะมีรสชาติหวานยิ่ง งอมยิ่งหวานจัดมาก ข้อดีอีกอย่างคือกล้วยส้มเนื้อไม่ค่อยดำ ลืผลสวย เก็บได้นาน และ ประการสำคัญคือปลูกง่าย ด้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง

  1. มะนาว

  1. นามันพืช

  1. เนยเทียม

5. ใบเตย

6. น้ำตาลทรายขาว

7. เกลือแกง

เคล็ดลับ : วิธีการเลือกกล้วยดิบ
เพื่อความแน่ใจฝานกล้วยหนึ่งลูกดูสีของเนื้อกล้วยที่มีสืออกเหลืองทำเหมือนกันทุกชนิดวิธีการเลือกกล้วย ใ-กล้วยแก่มีขนาดไม่เล็กเกินไป

1. ไม่ควรเลือกมาทอดกล้วยอ่อนลูกขนาดเล็ก

2. ฝานดูเนื้อกล้วยแล้วมีสืขาวมากๆคือกล้วยอ่อน

3. กล้วยนิ่มหรือกล้วยใกล้สุกเนื้อกล้วยจะเละไม่สามารถนำมาทอดได้

   ขั้นตอนการทำกล้วยฉาบ

กล้วยฉาบรสดั้งเดิม

1. นำกล้วยดิบมาปลอกเปลือก แล้วนำไปแช่ในนํ้าสะอาดผสมนํ้ามะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้วย

ดำและทำให้รสฝาดของกล้วยลดลง

2.  นำกล้วยออกจากนาที่ทำการแช่นาสะอาดผสมนามะนาว มาทำการล้างด้วยนาสะอาด

3. นำกล้วยที่ทำการล้างแล้วมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตามความยาวของผลกล้วย

4. ทำการเรียงกล้วยใส่ภายในจานหรือถาดให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการทอด 1 กระทะ เพื่อไม่ให้กล้วยที่จะนำลงไปทอดเกาะติดกัน

5. ตั้งกระทะใส่นํ้ามันเพื่อเตรียมทอดกล้วย

6. เมื่อกระทะได้อุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว นำกล้วยที่เตรียมใส่จานหรือถาดไว้นำมาทำการทอด และเดิมความหอมโดยการทอดใบเตยและเนยหอม

7. เมื่อกล้วยสุกได้ที่แล้ว นำกล้วยออกมาพักไว้เพื่อให้สะเด็ดนํ้ามัน

8. ทำการบรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์และทำการจัดจำหน่าย

 

กล้วยฉาบรสหวาน/เค็ม

  1. นำกล้วยดิบมาปลอกเปลือก แล้วนำไปแช่ในนํ้าสะอาดผสมนํ้ามะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้วย ดำและทำให้รสฝาดของกล้วยลดลง

  1. นำกล้วยออกจาก‘นาที่ทำการแช่นํ้าสะอาดผสมนํ้ามะนาว มาทำการล้างด้วยนํ้าสะอาด

  1. นำกล้วยที่ทำการล้างแล้วมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตามความยาวของผลกล้วย
  1. ทำการเรียงกล้วยใส่ภายในจานหรือถาดให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการทอด 1 กระทะ เพื่อไม่ให้กล้วยที่จะนำลงไปทอดเกาะติดกัน

  1. ตั้งกระทะใส่นํ้ามันเพื่อเตรียมทอดกล้วย

  1. เมื่อกระทะได้อุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว นำกล้วยที่เตรียมใส่จานหรือถาดไว้นำมาทำการทอด
  2. เมื่อกล้วยสุกพอประมาณแล้ว นำกล้วยออกมาพักไว้เพื่อให้สะเด็ดนํ้ามัน

  1. นำกล้วยที่พักไว้ มาทำการชุบลงในถาดที่ผสมนํ้าที่ทำให้เกิดรสหวาน/เค็ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นตักกล้วยออกมาสะเด็ดนํ้าตาลผึ่งให้แห้ง

  1. ตั้งกระทะใส่นั้ามันเพื่อเตรียมทอดกล้วย

  1. นำกล้วยที่ผ่านการชุบแล้วมาทำการทอดอีกครั้งพร้อมกับเพิ่มความหอมด้วยการทอดใส่กับ

ใบเตยและเนยหอม

  1. เมื่อกล้วยสุกได้ที่แล้ว นำกล้วยออกมาพักไว้เพื่อให้สะเด็ดนํ้ามัน

 

 

กล้วยฉาบสามรส

1. นำกล้วยดิบมาปลอกเปลือก แล้วนำไปแช่ในนํ้าสะอาดผสมนํ้ามะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้วย ดำและทำให้รสฝาดของกล้วยลดลง

  1. นำกล้วยออกจาก‘นาที่ทำการแช่นํ้าสะอาดผสมนํ้ามะนาว มาทำการล้างด้วยนํ้าสะอาด

  1. นำกล้วยที่ทำการล้างแล้วมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตามความยาวของผลกล้วย และทำการม้วน กล้วยเป็นวงกลม
  1. ทำการเรียงกล้วยใส่ภายในจานหรือถาดให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการทอด 1 กระทะ เพื่อไม่ให้กล้วยที่จะนำลงไปทอดเกาะติดกัน

 

  1. ตั้งกระทะใส่นํ้ามันเพื่อเตรียมทอดกล้วย

  1. เมื่อกระทะได้อุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว นำกล้วยที่เตรียมใส่จานหรือถาดไว้นำมาทำการทอด                                                                                      
  2. เมื่อกล้วยสุกได้ที่แล้ว นำกล้วยออกมาพักไว้เพื่อให้สะเด็ดนํ้ามัน
  3. นำกล้วยที่พักไว้มาทำการคลุกเข้ากับเครื่องปรุงรส สามรส ที่เตรียมไว้
  4. ทำการบรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์และทำการจัดจำหน่าย

สถานที่จำหน่าย

      •  สามารถสั่งซื้อได้ที่กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข ตั้งอยู่หมู่ที่ 19 บ้านใหม่เจริญสุข
      •  หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ เพจ “ของดีตูมใหญ่

 

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

            จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนธันวาคม ในส่วนของกิจกรรมการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์เล่าเรื่องท้องถิ่น พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น

     

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            จากการลงพื้นที่ในเดือนธันวาคมได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอการเล่าเรื่องท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจต่อผู้ฟัง ได้เรียนรู้วิธีการทำกล้วยฉาบ รู้จักผ้าทอมือมากขึ้น ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาของการลงพื้นที่ในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

 

แผนการดำเนินงานต่อไป

 แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

 

อื่นๆ

เมนู