ดิฉัน นางสาวจิตรเลขา เจนไธสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 15 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองลุมพุก บ้านทุ่งบ่อ บ้านเก่าโก บ้านบง บ้านหนองแอ่ บ้านคู บ้านดอนกลาง บ้านโสกดินแดง บ้านโคกพงาด บ้านหนองจาน บ้านโคกเมฆ บ้านโนนตะคร้อ บ้านโนนสะอาด บ้านคู และบ้านหนองผักบุ้ง ในการปฏิบัติงานได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนและการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการนำความรู้สู่ชุมชน การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เป้าหมาย การอบรมส่งเสริมอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ) และกิจกรรมท่องเที่ยว 1 day trip ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีเคมี กลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ
การย้อมสีเคมี / สีสังเคราะห์
สีเคมี เป็นสีที่ที่มีความบริสุทธิ์ของตัวสีมาก สามารถนำสีเหล่านี้มาผสมเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ และปรับระดับความเข้มของสีได้ วิธีการย้อมทำได้ง่ายและสะดวก สีที่ย้อมได้จะมีความสดสวยและมีความทนทานของสีดี สีเคมีที่นำมาย้อมเส้นไหมมีหลายประเภท ได้แก่ สีแอสิค (Acid Dyestuff) สีเมตัลคอมเพลกซ์ (Metal Complex Dyestuff) สีเบสิค (Basic Dyestrff) สีโครมอร์แดนท์ (Chrom Mordant Dyestuff) สีไดเร็กท์ (Direct Dyestuff) และสีรีแอ็คทีฟ (Reactive Dyestuff)
การย้อมสีเส้นไหมใช้สีย้อมประเภทสีแอสิค
สีแอสิค เป็นสีย้อมประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ย้อมสีไหมและเส้นใยโปรตีนชนิดอื่นๆ เป็นสีที่มีความสว่างสดใสมากและมีเฉดสีต่างๆ มากสามาระละลายตัวได้ง่ายและรวดเร็วในน้ำร้อน ดูดซึมติดเส้นใยได้ง่ายและรวดเร็ว มีคุณสมบัติคงทนต่อแสงแดด การขัดถูก เหงื่อ น้ำและการซักฟอกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก
อัตราส่วนสารที่ใช้ในการย้อมสีแอสิค (สำหรับเส้นไหมที่ฟอกแล้ว 1 กิโลกรัม)
– น้ำสะอาด 30 ลิตร
– สารช่วยการย้อมสี (สบู่เทียม) 3 กรัม
– สีแอสิค (ชนิดผง) 10 – 35 – 60 กรัม (ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มของสีย้อมที่ต้องการ)
– เกลือแกง 50 – 75 – 100 กรัม
– กรดน้ำส้ม (เข้มข้น) 30 – 45 – 60 ซีซี
วิธีการ
-นำเส้นไหมที่ผ่านการฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวมาแล้ว จำนวน 1 กิโลกรัม แบ่งเป็น 3 – 4 ส่วนใส่ห่วงฟอกย้อม นำเส้นไหมแช่น้ำให้เข็ดเส้นไหมเปียกอย่างสม่ำเสมอ ทำการบิดให้หมาด กระตุกเส้นไหมเพื่อให้เรียงตัว จัดแต่งไพเชือกรัดเข็ดเส้นไหมให้เรียบร้อย นำสีย้อมและสารช่วยย้อมสีต่างสัดส่วนที่กำหนดผสมลงในน้ำเดือด 1 ลิตร กวนให้ละลายผสมกัน
-ทำการต้มน้ำสะอาด 30 ลิตร ในถังย้อมให้เป็นน้ำอุ่น (อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส) เติมสารละลายย้อมไหมที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วลงไปโดยให้ผ่านผ้ากรอง กวนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่ตะแกรงรองก้นภาชนะให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนำเข็ดไหมลงย้อมสีพร้อมๆ กัน ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ทำการกลับเข็ดเส้นไหมทั้งชุดตลอดเวลาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 นาที นำเข็ดเส้นไหมทั้งชุดขึ้นพักในภาชนะที่สะอาด
-ละลายเกลือในน้ำเย็นและเติมลงไปในถังย้อม คนให้ละลายทั่วกันใส่เข็ดไหมทั้งหมดลงย้อมต่อประมาณ 10 นาที ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิน้ำย้อมจนถึง 90 องศาเซลเซียส ภายใน 20 – 25 นาที โดยทำการกลับเข็ดเส้นไหมทั้งชุดตลอดเวลา ย้อมเส้นไหมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 20 นาทีหรือสังเกตว่าน้ำย้อมใสจางลงอย่างเห็นได้ชัด จึงนำเส้นไหมทั้งชุดขึ้นพักในภาชนะที่สะอาด
-ลดอุณหภูมิในถังย้อมลงเหลือประมาณ 80 องศาเซลเซียส โดยเติมน้ำเย็น 3 ลิตร และลดเชื้อเพลิง แบ่งกรดน้ำส้มออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเติมลงไปในน้ำย้อม คนให้ละลายทั่วกัน นำเข็ดไหมลงย้อมที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส โดยกลับเข็ดไหมตลอดเวลา ประมาณ 5 นาที แล้วนำขึ้นพักในภาชนะที่สะอาด
-เติมกรดน้ำส้มส่วนที่เหลือลงในน้ำย้อมคนให้ทั่ว นำเส้นไหมมาย้อมต่ออีกประมาณ 5 นาที จากนั้นเร่งอุณหภูมิของน้ำย้อมให้สูงขึ้นถึง 90 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลาประมาณ 10 นาที ย้อมเส้นไหมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส โดยกลับเส้นไหมเป็นช่วงๆ ตลอดเวลาเป็นระยะเวลาประมาณ 20 นาทีหรือจนน้ำย้อมใสจางมากที่สุด
นำเส้นไหมขึ้นมาบิดให้หมาดและนำไปซักล้างในน้ำเย็นสลับกับการบิดให้หมาด 3 – 4 ครั้งหรือจนกว่าน้ำที่ใช้ในการซักล้างจางใสที่สุด
-จากนั้นนำเส้นไหมทั้งชุดไปแช่ในสารละลายผลิตภัณฑ์สำหรับการผนึกสีย้อมที่อุณหภูมิประมาณ 40 – 50 องศาเซลเซียส โดยทำการกลับเข็ดไหมเป็นช่วงๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 15 – 20 นาที แล้วทำการบิดเข็ดเส้นไหมให้หมาดที่สุด
-นำเส้นไหมไปซักล้างในน้ำเย็น 2 – 3 ครั้ง สลับกับการบิดให้หมาดกระตุกเพื่อให้เส้นไหมเรียงตัวคืนสู่สภาพเดิมแล้วนำผึ่งให้แห้งด้วยลมในที่ร่ม
การผนึกสีย้อม
เป็นขั้นตอนที่จำเป็นอย่างมากสำหรับการย้อมไหมโดยใช้สีย้อมประเภทสีแอสิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้อมสีระดับปานกลางและสีเข้ม
สูตรการเตรียมสารละลายผลิตภัณฑ์สำหรับผนึกสีย้อม
– น้ำสะอาด 15 ลิตร
– ผลิตภัณฑ์สำหรับผนึกสีย้อม 30 – 45 ซีซี
– กรดน้ำส้ม (เข้มข้น) 10 ซีซี
หมายเหตุ : ในการย้อมสีเป็นสีอ่อนมาก ๆ ควรแบ่งสารละลายสีย้อมและเกลือออกเป็น 2 – 3 ส่วน ตามความเหมาะสม ด้วยวิธีการแยกใส่ลงไปใสน้ำย้อมและย้อมสีเป็นช่วงๆ ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 10 นาที ตามที่กำหนด
กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
คณะทำงาน AG01(2) จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม
คณะทำงาน AG01(2) ได้ประสานงานไปยังผู้นำชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู เพื่อขอใช้สถานที่ในชุมชนและหอประชุมในการจัดกิจกรรมการคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนและการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
คณะทำงาน AG01(2) ได้มาทำความสะอาดวิหารหลวงพ่ออูป
คณะทำงาน AG01(2) ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมกิจกรรมการนำความรู้สู่ชุมชนและการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เป้าหมาย ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของการการนำเอาความรู้สู่ชุมชน การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้กลุ่มทอผ้าไหมและผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์และผศ.ดร.นฤมล สมคุณา
คณะทำงาน AG01(2) ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบการท่องเที่ยว 1 day trip ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การท่องเที่ยว 1 day trip โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์และผศ.ดร.นฤมล สมคุณา
คณะทำงาน AG01(2) ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยว 1 day trip ตำบลบ้านคู ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของการเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านคู โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับตามแผนที่วางไว้ โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์และผศ.ดร.นฤมล สมคุณา
คณะทำงาน AG01(2) จัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการและจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ทำการฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน และได้เข้าไปศึกษา TDGA เพิ่มเติม ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%
ปัญหา/อุปสรรคในการทำงานและการแก้ไขปัญหา
เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ ที่มีความรุนแรงมากขึ้นและมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนบางส่วนเกิดความวิตกกังวลทางคณะทำงาน AG01(2) จึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชนทุกคน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่
- ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกัน/ประสบการณ์การทำงานในแต่ละครั้ง
- ได้เรียนรู้ถึงการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนในทีม
- ได้เรียนรู้วิธีการผสมอาหารสัตว์น้ำและการผลิตอาหารสัตว์น้ำต้นทุนต่ำ
- ได้เรียนรู้ถึงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้
- ได้เรียนรู้ถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เป้าหมายและกิจกรรม 1 day trip
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)