บทความประจำเดือนธันวาคม 2564
การอบรมสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ 2 และ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย
กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉัน นางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบเข้าร่วม กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ 2” เพื่อเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์และอบรมเกี่ยวกับวิธีการผสมอาหารสัตว์สำเร็จรูปเพื่อเป็นการลดต้นทุนอาหาร และเข้าร่วม การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมเพื่อจัดทำกิจกรรม One Day Tripของตำบลตูมใหญ่. 1.ภูมิปัญญาผ้าทอมือบ้านหนองดุม 2. ร้านดวงตาผ้าไทย 3.กลุ่มตูมน้อยผ้าไทยกับผ้าขาวม้าสีพาสเทล 4. กลุ่มกล้วยฉาบเบรกแตก บ้านใหม่เจริญสุข 5.วัดประคำสำโรง 6.ตลาดท้องถิ่นสุขใจ ตูมใหญ่รักศรัทธา 7.แกรนด์แคนยอน หรือละลุ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอก รู้จักมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชน
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์เพื่อสรุปแผนการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงาน หลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนธันวาคม เพื่อที่จะได้ แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนแบ่งฝ่ายงาน ตามความเหมาะสมและเข้าใจงานในส่วนที่ได้รับผิดชอบ
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้สถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ) เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยภายในทีม แบ่งหน้าที่การปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่การรับผิดชอบ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ภายในตำบลตูมใหญ่
อาจารย์ประจำหลักสูตร และ คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้ และเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบลตูมใหญ่ หลังจากนั้น สรุปรายงานประจำเดือนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม
การลงพื้นที่เก็บข้อมูลภายในเดือนธันวาคม ดิฉันได้มีการประสานงานกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้สถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ และได้ขอความอนุเคราะห์จากทางรองปลัด อบต. ตูมใหญ่ จากการทำหนังสือเรียนเชิญกลุ่มวิสาหกิจด้านการเลี้ยงสัตว์(น้ำ) ได้แก่ ปลา กบ กุ้ง และหอย
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ได้เรียนและสอบได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ผ่านตามเกณฑ์การวัดผล และได้เข้าไปศึกษา TDGA ในรายวิชาดิจิทัล เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการปศุสัตว์ ของกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ ครั้งที่ 2 ”
จากการจัดกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ครั้งที่ผ่านมาเบื้องต้นพบว่าเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในชุมชน โดยเฉพาะไก่พื้นเมือง สุกร รวมไปถึงโคและกระบือ ประสบกับปัญหาราคาอาหารสัตว์ หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง ในขณะเดียวกันผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์กลับมีราคาไม่สมดุลกับต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น จึงได้มีการแนะนำและสาธิตวิธีการประกอบสูตรอาหารสัตว์ต่างๆ ที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายทั่วไปในชุมชน อาทิวิธีการประกอบสูตรอาหารTMR วิธีการประกอบสูตรอาหารข้นโคและกระบือ และวิธีการประกอบสูตรอาหารหมักยีสต์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารและช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ อีกทั้งยังสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานานอีกด้วย และสูตรการหมักปลายข้าวเม่าด้วยยีสต์ขนมปัง
บทปฎิบัติการ : การเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหาร / เศษเหลือทางเกษตรด้วยกระบวนการหมักยีสต์
อาหารสัตว์เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลี้ยงสัตว์ คิดเป็นต้นทุนในการเลี้ยงถึงร้อยละ 70- 80 ของต้นทุนทั้งหมดในบางฤดูกาลเกษตรกรจะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีและมีราคาแพง จึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาถูก /คุณค่าทางโภชนะต่ำมาปรับปรุงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ การปรับปรุงคุณค่าโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ ด้วยกระบวนการหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย (bacteria ) ยีสต์ (yeast) หรือรา (mold ) ซึ่งเป็นเชื้อเริ่มต้น( starter) อาจเป็นเชื้อบริสุทธิ์ เชื้อผสมมาเปลี่ยนแปลง สารอินทรีย์ในวัตถุดิบอาหาร ทำให้เกิดเป็นสารต่างๆเช่น กลิ่นเอทิลแอลกอฮอล์ ethyl alcohol ) กรดอินทรีย์ (organic acid ) คาร์บอนไดออกไซด์ การหมักสามารถเกิดได้ทั้งสถาวะที่มีอากาศ( aerobaic fermentation ) หรือไม่มีอากาศ (anaerobaic fermentation ) ทำให้อาหารมีคุณค่าทางโภชนะ เพิ่มสูงขึ้นและสามารถเก็บไว้ได้นาน จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่นิยม ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือยีสต์ขนมปังที่มียีสต์ขนมปัง baker yeast ) saccharomyces cerevisiae ยีสต์มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นคาร์บอนไดออกไวด์และแอลกอฮอล์ได้ โดยหลักการทำงานของยีสต์ ที่ใส่ให้ขนมปังฟู เนื่องมาจากยีสต์ ที่ใส่ลงไปมีการใช้น้ำตาลในแป้ง และระหว่างที่มันกินอาหารมันจะหายใจเอาออกซิเจน และหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกมา
วิธีการ
1.เตรียมถัง 100 ลิตร ละลายกากน้ำตาล กับน้ำสะอาด 2.5 ลิตร คนให้เข้ากันประมาน 10-15 นาที
2.การขยายยีสต์ นำยีสต์เทลงในถังที่เตรียมไว้และคนให้เข้ากีน รอให้ยีสต์ขยายตัว อย่างน้อย 1ชั่วโมง เมื่อยีสต์ขยายตัวจะเห็นฟองเต็มถัง
3.เตรียมกระบะไว้ผสมวัตถุดิบ /เศษเหลือทางการเกษตรที่เตรียมไว้
การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมเพื่อจัดทำกิจกรรม One Day Tripของตำบลตูมใหญ่ ในส่วนการ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้ ดิฉันได้รับผิดชอบในการดูแลศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย
ข้อมูล/ ที่มา ผ้าทอมือตูมใหญ่เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านตำบลตูมใหญ่ และการทอผ้าเองก็ยังเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมา นอกจากคุณค่าทางศิลปะแล้วยังเป็นการแสดงถึงแบบแผนความเป็นอยู่ในสังคม กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ จึงเป็นเทคนิคและความสามารถของแต่ละคน ซึ่งผู้ทอสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ถึง แม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงามแสดงถึงภูมิปัญญา และความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด
กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตูมน้อย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2559ประธานกลุ่มคือ นางปัณฑิตา แก้วกูลเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 25คน กลุ่มทอผ้าบ้านตูมน้อย เป็นกลุ่มแม่บ้านช่างทอผ้าที่รวมตัวกันทอผ้าเป็นอาชีพเสริม และนำออกขายในลักษณะสหกรณ์โดยมีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ หน่วยงาน อว.ร่วมกับ มหาวิทยาลัยลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างอาชีพ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีในพื้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้และภายหลังได้มีการจัดตั้งให้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเสริมสร้างการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ระดมความคิด ประสบการณ์ของทางกลุ่มไปยังผู้ที่สนใจภายนอกชุมชน รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งให้บริการเผยแพร่ และการยกระดับการผลิตผ้าทอมือพื้นบ้านผ้าขาวม้าทอมือสู่สากล รวมถึงรายละเอียดแต่ละขั้นตอน มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไรบ้างกว่าจะมาเป็นผ้าขาวม้า และมุ่งพัฒนาผ้าทอมือให้ตรงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเพิ่มทักษะด้านความคิดด้านฝีมือและสร้างองค์ความรู้การออกแบบ เพื่อเอามาเป็นจุดขายและสร้างรายได้ให้กับชุมชน และ เพื่อให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมสืบต่อไป
สตอรี่ /ลายเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย เป็นงานหัตถกรรมที่พัฒนารูปแบบ ลวดลาย สี ด้วยการสร้างจากนวัตกรรมจากวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว โดยการพลิกโฉมจากผ้าขาวม้าสไตล์เดิมๆ เพิ่มเอกลักษณ์โดยการใช้สีพาสเทลที่มีความทันสมัยทอลายด้วยโทนสีต่างๆ โดยใช้สีหวานๆ เก๋ๆ ลวดลายของผ้าออกแบบเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร จนได้ผ้าขาวม้าสีพาสเทลที่ให้ความหวานละมุนในแบบฉบับของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทย นอกจากนี้ผ้าไทยของกลุ่มยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันสวยงามและมีเสน่ห์ มองแล้วรู้สึกสบายตา และยังเป็นโทนสีของผ้าขาวผ้าที่สุภาพหรือโทนสีที่ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป สามารถสวมใส่ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย และทุกโอกาส
ผลการสำรวจโควิด-19
ผลจากการสำรวจในธันวาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดขณะนี้ และได้มีเชื้อโควิดตัวใหม่ได้แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น แต่จังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการระวังพร้อมกับวางแผนการรับมืออย่างต่อเนื่องโดยการฉีดวัคซีนได้ครบจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดบุรีรัมย์ และตอนนี้ชาวตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนได้ครบทั้งหมดของประชากรแล้วและได้ดำเนินการฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม และทางด้านหน้ารักษาคนไข้ เช่น หมอ พยาบาล ได้รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นการทำงานเป็นที่เรียบร้อย ในส่วนเด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ต่างเริ่มได้รับวัคซีนสำหรับนักเรียนเพื่อทีจะสามารถได้เข้าเรียนตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามชาวตูมใหญ่ก็ยังมีความกระตือรือร้นในการรับมือกับทุกปัญหาที่จะเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ผลจากทำงานภายในเดือนธันวาคม ได้พบปัญหาในการเตรียมการวางแผนในการทำ I Day Trip สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ตำบลตูมใหญ่ และศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมือผ้าขาวม้าบ้านตูมน้อย เนื่องจากภายในต้นเดือนธันวาคมได้มีงานจากส่วนกลางเข้ามาอย่างต่อเนื่องทำให้การเตรียมงานในการทำ 0ne Day Trip และศูนย์การเรียนรู้ ทำได้ยากเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทางกลุ่มจำเป็นต้องแบ่งทีมงานเพื่อรับผิดชอบแต่ละฝ่ายเพื่อให้งานได้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและเสร็จเรียบร้อยต่อเวลาที่ทางส่วนกลางและมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
-ได้เรียนรู้การติดต่อประสานงานในองค์กรมากขึ้น
-ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการทำอาหารสำหรับสัตว์
-ได้เรียนรู้ถึงการทำหญ้าหมักและอาหารข้นสำหรับสัตว์
-ได้เรียนรู้ถึงกระบวนกิจกรรม One Day Trip เกี่ยวกับการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
-ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนงานการจัดทำศูนย์การเรียนรู้
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
- คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
- จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
- จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)