บทความประจำเดือนธันวาคม 2564

กิจกรรมการสาธิตผสมอาหารสัตว์น้ำ

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

       ดิฉัน นางสาวณัฐธิดา สาลาจารย์ ประเภท ประชาชน  ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

      ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้และเตรียมความพร้อมเพื่อจัดทำกิจกรรม  I  Day Trip ของตำบลตูมใหญ่

1. กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์   

-อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet และรับทราบรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม

-คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)”

-คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยภายในทีม AG01(1) เพื่อแบ่งทีมการรับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรมทดลอง I Day Trip สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจตำบลตูมใหญ่

-คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรม I Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์ตูมใหญ่การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบลตูมใหญ่

-คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม                             

      ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้รับความอนุเคราะห์และได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ในการขอใช้สถานที่ในการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน     ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะทั้งด้านสังคม  ด้านภาษาอังกฤษ  ด้านการเงิน และด้านดิจิทัล  ครบทั้ง 4 ด้าน ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

2. กิจกรรมการสาธิตผสมอาหารสัตว์น้ำ

        การให้อาหารสัตว์น้ำต้องมีสัดส่วนโภชนะต่างๆ ครบตามความต้องการของปลา การเลี้ยงสัตว์ น้ำให้ได้กำไรสูงสุด อาจไม่ใช่การเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ในการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบพัฒนาต้นทุนค่า อาหารอาจอยู่ระหว่าง 50-75% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในการผลิตอาหารปลาผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องรู้ ความต้องการสารอาหารต่างๆของสัตว์น้ำ โภชนะที่ประกอบในวัตถุดิบอาหารสัตว์ คุณสมบัติของวัตถุ ดิบที่จะนำมาผสมอาหาร วิธีการคำนวณสูตรอาหารและการผลิตอาหาร การคำนวณสูตรอาหารสัตว์น้ำ การผลิตอาหารปลาเป็นการนำวัตถุดิบแต่ละชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกัน มาผสมกัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้อาหารที่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการตามความต้องการของปลาหรือสัตว์น้ำ

สิ่งที่ต้องทราบสำหรับการคำนวณสูตรอาหารสัตว์น้ำ   

  1. ความต้องการโภชนะชนิดต่างๆของปลาหรือสัตว์น้ำแต่ละชนิด แต่ละช่วงการเจริญเติบโต
  2. ส่วนประกอบทางโภชนะของวัตถุดิบชนิดต่างๆ ที่จะนามาประกอบสูตรอาหาร
  3. รู้จักลักษณะทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบสูตรอาหาร
  4. ราคาของวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีราคาถูก เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร

หลักในการนำวัสดุมาทำเป็นอาหารปลาเพื่อให้คุณภาพดีจะต้องพิจารณา ดังนี้

  1. วัสดุที่นำมาจากหลายๆ แหล่งรวมกัน จะมีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม เช่น ข้าว+ รำ+ แหน จะทำให้อาหารนั้นมีคุณภาพดีกว่า ข้าว+ รำ เพียง 2 อย่าง ทั้งนี้เป็นเพราะทำให้ส่วนผสมของอาหารได้ สมดุลขึ้น
  2. วัสดุที่นำมาทำเป็นอาหาร ไม่ควรจะเป็นวัสดุที่นำมาจากแหล่งกำเนิดจากพวกพืชล้วนๆ ควรมีส่วนที่มาจากเนื้อสัตว์ปนอยู่ด้วย เพราะวัสดุจากพืชล้วนๆ ให้คุณค่าทางอาหารไม่สมบูรณ์สำหรับ การเจริญเติบโตของปลา
  3. วัสดุประเภทแป้ง อันได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมล็ดจากพืช หรืออื่นๆ ควรจะผ่านความร้อนหรือต้มเสียก่อนให้ปลากิน ทั้งนี้การต้มหรือการใช้ความร้อนจะทำให้คุณภาพอาหารดีขึ้น คือปลาสามารถย่อยได้ดีขึ้น หรือทำลายพิษของสารอาหารนั้นก่อนปลากิน
  4. วัสดุอาหารประเภทโปรตีนที่ทำมาจากสัตว์จะดีกว่าอาหารที่ทำมาจากพืช
  5. เยื่อใย หรือกาก หรือส่วนที่เป็นของแข็ง เหนียว จากพืชต่างๆ เป็นสิ่งที่ปลากินไปแล้วไม่สามารถจะย่อยได้ แต่มีประโยชน์ในการช่วยทำให้การขับถ่ายของปลาดีขึ้น

ส่วนผสมของวัสดุอาหารสำหรับเลี้ยงปลา

ชนิดอาหาร                  เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

                                                   ปลาป่นอัดน้ำมัน                                   12

                                                    กากถั่วลิสงป่น                                      6

                                                     รำละเอียด                                           41

                                             ปลายข้าวบดหรือมันเส้นบด                        40

                                                     วิตามิน+แร่ธาตุ                                     1

                                                         รวม                                                 100

                                                                                                                                             ที่มา: ไทยเกษตรศาสตร์

3. ผลการสำรวจโควิด-19

          ผลจากการสำรวจในธันวาคม พบว่า ชาวบ้านในตำบลตูมใหญ่ทุกหมู่บ้านต่างทราบข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาด แต่ทางตำบลตูมใหญ่ได้มีการควบคุมโรคได้เป็นที่เรียบร้อยเนื่องจากไม่มีผู้ติดเชื้อมาเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ตำบลตูมใหญ่ได้มีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งหมดของตำบลตูมใหญ่ส่วนกลุ่มบุคคลที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบทั้ง 2 เข็ม ทางตำบลตูมใหญ่ได้เริ่มมีนโยบาลการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ให้กับบุคคลกลุ่มทั่วไป  และตอนนี้ชาวตำบลตูมใหญ่ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 90% จากทั้งหมด  แต่อย่างไรก็ตามชาวตูมใหญ่ก็ยังมีความกระตือรือร้นในการรับมือกับทุกปัญหาที่จะเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

4. ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          การทำงานในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีอุปสรรคของการแบ่งงานในการรับผิดชอบของแต่ละบุคคลเนื่องจากใกล้จบการทำงานในรอบ 1 ปี ทางส่วนกลางได้ต้องการงานที่สรุปส่งให้ทันเวลาที่กำหนดทำให้ทางทีมมีภาระงานที่ต้องทำเพิ่มขึ้นภายในเดือนธันวาคม ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายมาอาจไม่เสร็จตามกำหนดทางทีมจึงแก้ปัญหาโดยการแบ่งทีมตามความเหมาะสมของแต่บุคคลเพื่องานจะได้ดำเนินไปได้ต่อเนื่องและมีความรวดเร็วตามที่ส่วนกลางกำหนด

5. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  • ได้เรียนรู้ถึงการประสานงานกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  • ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยี
  • ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการทำอาหารเม็ดสำหรับสัตว์น้ำ
  • ได้เรียนรู้ถึงการทำงานเป็นทีม

แผนการดำเนินงานต่อไป

      คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้

  1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
  2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
  3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ

     4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

อื่นๆ

เมนู