1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG03(1) - ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง
  4. AG03(1) การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

AG03(1) การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวปริฉัตร ตอรบรัมย์

ประเภท นักศึกษา

หลักสูตร AG03(1) คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ประจำเดือน ธันวาคม 2564

จากการจัดโครงการ การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตร จากความต้องการของชุมชนไปช่วยบริการชุมชน ในวันที่ 25-28 พฤจิกายน 2564 ณ บ้านสำโรง หมู่ 6 ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ เลิศภูมิ จันทร์เพ็ญกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เกี่ยวกับ การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และปุ๋ยหมักชีวภาพ  จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงคือ จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์ที่มีประโยชน์สูง และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช รู้จักกันมานานแล้วในชื่อฮอร์โมนไข่เนื่องจากส่วนประกอบหลักคือ ไข่สด ซึ่งเป็นโปรตีนจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการ ปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช วัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว

จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เห็นว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือและมีความสนใจ ในการทำปุ๋ยชีวภาพเป็นอย่างมาก อีกทั้งชาวบ้านบางคนได้ไปอบรมในเรื่องการทำปุ๋ยหมักจากแหล่งเรียนรู้อื่น มาพูดคุยและเลาให้ชาวบ้านคนอื่นๆและอาจารย์ฟัง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ในการทำปุ๋ยหมัก การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพนั้น ช่วยลดต้นทุนทางการเกษตร อีกทั้งยังช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียว หรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวนอีกด้วย

อื่นๆ

เมนู