บทความประจำเดือนธันวาคม 2564
การสาธิตการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำ
และการเก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์
กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวภัคจิรา เตไธสง ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 3 ศูนย์การเรียนรู้และเตรียมความพร้อมเพื่อจัดทำกิจกรรม I Day Trip ของตำบลตูมใหญ่ รวมทั้งติดตามผ้าพันคอเพื่อส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ม.18
1. กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
- อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet และรับทราบรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดเตรียมสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยภายในทีม AG01(1) เพื่อแบ่งทีมการรับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่สำรวจเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ภายในตำบลตูมใหญ่
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรมทดลอง I Day Trip สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจตำบลตูมใหญ่
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมกิจกรรม I Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์ตูมใหญ่การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบลตูมใหญ่
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอใช้สถานที่ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน
ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
2. การสาธิตการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำและการเก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์
2.1 การสาธิตการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำ
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นฟาร์มขนาดกลางและมีทุนรอนพอสมควร ผู้เป็นเจ้าของฟาร์มมีความรู้ทางด้านอาหารปลาบ้าง ก็สามารถที่จะผลิตอาหารปลาขึ้นมาใช้เองได้ทั้งในรูปของอาหารแบบชนิดเปียกและแห้งโดยใช้เครื่องมือในการผลิตที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดอีกทั้งราคาก็ไม่แพงมากนัก ประกอบกับวัสดุที่จะใช้ทำเป็นอาหารส่วนใหญ่ก็เป็นของที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ และมีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
เครื่องมือที่ใช้ทำอาหารปลาจะประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็นหลักอยู่ 4 ตัว คือ
เครื่องบด เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบดวัสดุอาหารที่เป็นเม็ดหรือชิ้นให้กลายเป็นฝุ่นแห้งแป้งขนาดของวัสดุที่ได้ออกมาขึ้นอยู่กับแร่งหรือตะแกรงในเครื่องนั้นๆ การบดให้วัสดุเป็นผงละเอียดจะช่วย ทำให้การใช้ประโยชน์จากอาหารนั้นของปลาดีขึ้น เครื่องบดที่นำมาใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบอาหารแห้ง เช่น บดข้าวโพด ถั่ว ข้าว อีกแบบหนึ่งเป็นอาหารสด เช่น บดหรือป่นผักตบชวา ผักบุ้ง ผลได้ออกมาจะมีลักษณะคล้ายกะปิ
เครื่องชั่ง ใช้สำหรับชั่งวัสดุต่างๆ ตามจำนวนที่คำนวณไว้ก่อนที่จะเข้าเครื่องผสมอาหาร
เครื่องผสม เป็นเครื่องมือที่จะผสมให้วัสดุต่างๆ ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันให้คลุกเคล้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งนี้ในการทำอาหารวัสดุบางชนิดจะถูกนำมาใช้เป็นจำนวนน้อย เช่น พวกวิตามิน แร่ธาตุ หรือพวกสารเหนียว การใช้เครื่องผสมจะทำให้สารอาหารต่างๆ ที่ใส่เข้าไปกระจายไปผสมกับวัสดุอื่นๆ อย่างทั่วถึง เครื่องผสมนี้ส่วนใหญ่จะเป็น 2 แบบ คือ
-แบบตั้ง ซึ่งมีรูปลักษณะแบบกรวยกรอกน้ำภายในมีเกลียวหมุนด้วยแรงเครื่องฉุด ทำให้วัสดุต่างๆ ผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เหมาะสำหรับใช้ผสมวัสดุที่มีความชื้นน้อยหรือเป็นของแห้ง
-แบบนอน มีลักษณะคล้ายรูปทรงกระบอกผ่าซีกปิดหัวท้ายวางในแนวนอน ภายในทรงกระบอกนี้จะมีแกนซึ่งล้อมรอบด้วยใบพัดซ้อนกันหลายใบ และแกนจะหมุนได้ด้วยเครื่องฉุด เครื่องแบบนี้ ใช้ได้ทั้งวัสดุที่เป็นแบบเปียกหรือแห้ง
เครื่องอัดเม็ด เป็นเครื่องที่เกษตรกรรู้จักในชื่อว่า เครื่องโม่ปลาหรือเครื่องบดเนื้อ มีรูปลักษณะเป็นกระบอกยาว ปลายกระบอกข้างหนึ่งปิดตันและเจาะเป็นช่องข้างบนต่อกับที่สำหรับใส่ให้อาหารไหลลงมาภายในกระบอกมีแกนเป็นเกลียวเพื่อหมุนส่งอาหารให้ออกไปที่ปลายกระบอก ปลายกระบอกสวมด้วยจานกลมเจาะเป็นรูเพื่อให้อาหารออกมาตรงกลางจานกลมที่เป็นรู (หน้าแว่น) จะสวมกับแกนที่หมุน ส่วนของแกนที่ยื่นออกมาจะติดใบมัดเพื่อให้อาหารออกมาเป็นแท่งๆ ยาวสั้นตามที่ต้องการ ในกรณีที่ต้องทำเป็นเม็ด หากเป็นเครื่องโม่ปลาใบมีดจะอยู่ในกระบอกชิดติดกับหน้าแว่น วัสดุอาหารที่หมุนมาตามเกลียว ซึ่งหมุนด้วยแรงฉุดจะถูกดันออกมาทางรูหน้าแว่นเป็นเส้นๆ หรือเป็นแท่ง เครื่องมือนี้จะผลิตอาหารมาในรูปค่อนข้างจะมีความชื้นสูงหรือเปียก ซึ่งอาจนำไปใช้เลี้ยงปลาเลย หรือผึ่งแดดให้แห้งเก็บเป็นอาหารแห้งใช้เลี้ยงในวันต่อๆ ไป
การทำอาหาร เมื่อชั่งวัสดุอาหารตามสูตรที่กำหนดให้หรือที่คำนวณได้แล้ว ก็นำไปเข้าเครื่องผสมแบบหนึ่งแบบใดก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารแห้งจะต้องเติมน้ำประมาณ 35-40% ของอาหารที่ใส่เข้าเครื่องทั้งหมดแล้วเดินเครื่องให้อาหารผสมกัน โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นก็ถ่ายเทอาหารไปใส่ในเครื่องอัดเม็ดหรือโม่ปลาหากอาหารที่ได้ออกมาไม่เปียกมาก การตากแดดเพียงแดดเดียวอาหารก็จะแห้งพอที่เก็บได้นาน ในกรณีที่อาหารเปียกมากและไม่มีแดดที่ใช้ตาก ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การเกิดเชื้อราในอาหาร การป้องกันโดยใช้สารกันบูดในรูปแคลเซียมโปรปิโอเนต จะช่วยทำให้เกิดเชื้อราได้ช้าลง
หลักในการนำวัสดุมาทำเป็นอาหารปลาเพื่อให้คุณภาพดีจะต้องพิจารณา ดังนี้
- วัสดุที่นำมาจากหลายๆ แหล่งรวมกัน จะมีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม เช่น ข้าว+ รำ+ แหน จะทำให้อาหารนั้นมีคุณภาพดีกว่า ข้าว+ รำ เพียง 2 อย่าง ทั้งนี้เป็นเพราะทำให้ส่วนผสมของอาหารได้ สมดุลขึ้น
- วัสดุที่นำมาทำเป็นอาหาร ไม่ควรจะเป็นวัสดุที่นำมาจากแหล่งกำเนิดจากพวกพืชล้วนๆ ควรมีส่วนที่มาจากเนื้อสัตว์ปนอยู่ด้วย เพราะวัสดุจากพืชล้วนๆ ให้คุณค่าทางอาหารไม่สมบูรณ์สำหรับ การเจริญเติบโตของปลา
- วัสดุประเภทแป้ง อันได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมล็ดจากพืช หรืออื่นๆ ควรจะผ่านความร้อนหรือต้มเสียก่อนให้ปลากิน ทั้งนี้การต้มหรือการใช้ความร้อนจะทำให้คุณภาพอาหารดีขึ้น คือปลาสามารถย่อยได้ดีขึ้น หรือทำลายพิษของสารอาหารนั้นก่อนปลากิน
- วัสดุอาหารประเภทโปรตีนที่ทำมาจากสัตว์จะดีกว่าอาหารที่ทำมาจากพืช
- เยื่อใย หรือกาก หรือส่วนที่เป็นของแข็ง เหนียว จากพืชต่างๆ เป็นสิ่งที่ปลากินไปแล้วไม่สามารถจะย่อยได้ แต่มีประโยชน์ในการช่วยทำให้การขับถ่ายของปลาดีขึ้น
ในการกำหนดว่าอาหารคุณค่าขนาดใดจึงจะเหมาะกับปลาที่เลี้ยงนั้น ควรจะพิจารณาอย่างกว้างๆ โดยพิจารณาจากปริมาณโปรตีนในอาหารกับชนิดของปลาที่เลี้ยง เช่น
- ปลาที่ต้องการระดับโปรตีนตํ่าซึ่งได้แก่ ปลาจีนชนิดต่างๆ ปลานิล โรฮู่ ปลาสวาย อาหารที่ใช้ควร มีโปรตีนประมาณ 18-22%
- ปลาที่ต้องการระดับโปรตีนปานกลางซึ่งได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาดุกด้าน ปลากา ปลายี่สก อาหารที่ใช้ควรมีโปรตีนประมาณ 23-30%
- ปลาที่ต้องการระดับโปรตีนสูงได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุกอุย ปลาบู่ อาหารที่ใช้ควรมากกว่า 30%สำหรับคุณค่าอาหารสำหรับสัตว์น้ำประเภทกุ้งนั้น ระดับโปรตีนของอาหารควรอยู่ในระดับ 25- 35%
ส่วนผสมของวัสดุอาหารสำหรับเลี้ยงปลา
ชนิดอาหาร เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
ปลาป่นอัดน้ำมัน 12
กากถั่วลิสงป่น 6
รำละเอียด 41
ปลายข้าวบดหรือมันเส้นบด 40
วิตามิน+แร่ธาตุ 1
รวม 100
ที่มา: ไทยเกษตรศาสตร์
2.2 การเก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์
การเก็บข้อเกษตรด้านปศุสัตว์ ได้ดำเนินการลงพื้นที่ในการสำรวจจาก 19 หมู่บ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุดโดยการสอบถามจากผู้เลี้ยงโดยตรงส่วนใหญ่ชาวบ้านแต่ละหมู่จะมีสัตว์เศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปจากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่จะนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพาะเลี้ยงง่าย การดูแลไม่ลำบาก รองลงมาคือ โค เนื่องจากมีราคาจากการขายค่อนข้างสูงจึงเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยง ในส่วนสุกรแต่เดิมชุมชนนิยมเลี้ยงมากแต่ปัจจุบันเกิดโรคระบาดหนักทำให้หมูตายจำนวนมากทำให้ชาวบ้านขายทิ้งหรือไม่สุกรที่เลี้ยงก็ล้มตายเองทำให้ปัจจุบันชาวบ้านนิค่อยเลี้ยงกัน ในส่วนสัตว์ที่เป็นที่นิยมอีกหนึ่งชนิดคือแพะชาวบ้านนิยมเริ่มหัดมาสนใจมากขึ้นทั้งมีการเลี้ยงเพื่อขายเป็นอาหารและเลี้ยงไว้เป็นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์ และเลี้ยงไว้ดูเล่น ในส่วนอีกสัตว์หนึ่งประเภทที่เลี้ยงมาอย่างยาวนานแต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเลี้ยงทำให้มีคนเลี้ยงภายในตำบลลดลงคือประเภทสัตว์น้ำ อาทิ ปลา กบ กุ้ง และหอย
3.ผลการสำรวจโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูลในธันวาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ซึ่งเดือนธันวาคมที่ผ่านมาซึ่งได้มีผู้ติดเชื้อจำนวนน้อยลงกว่าเดือนพฤศจิกายน แต่ชาวบ้านต่างกังวลในโรคโควิดที่กลายพันธุ์เป็นเชื้อตัวใหม่ ทำให้ชาวตำบลตูมใหญ่หัดมาสนใจในส่วนเรื่องการรับวัคซีนของชาวตำบลตูมใหญ่ จากการสอบถามรองปลัด อบต. ตูมใหญ่ ทำให้ทราบว่า ณ ตอนนี้มีการรับวัคซีนไปแล้วประมาณ 90 % จากประชากรทั้งหมดของชาวตำบลตูมใหญ่จากประชากรทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามชาวตำบลตูมใหญ่ก็ไม่ประมาทว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทาน
4.ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
การทำงานในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีอุปสรรคของการทำงานในเรื่องการแบ่งทีมในการรับผิดชอบงานเพราะเนื่องจากมีงานจากส่วนกลางเข้ามาต่อเนื่องทำให้ทางทีมทำงานกันมากขึ้นและได้ทำงานไม่เสร็จตามกำหนดการตามส่วนกลางกำหนดทางทีมจึงแก้ปัญหาโดยการแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละบุคคลเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนดของส่วนกลางกำหนดทันเวลา
- สิ่งเรียนรู้จากการลงพื้นที่ที่ได้
- ได้เรียนรู้ถึงการแบ่งงานการรับผิดชอบของทีม
- ได้เรียนรู้การประสานงาน
- ได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชุมชน
- ได้เรียนรู้การทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำ
- ได้ทราบถึงการทำงานภายในกลุ่ม
- ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
- คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
- จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
- จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)