1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนธันวาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง) และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

บทความประจำเดือนธันวาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง) และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

 

บทความประจำเดือนธันวาคม 2564

กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง)

และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉัน นางสาวรินลดา แทนพลกรัง ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข

          ในการปฏิบัติงานดิฉันได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง) และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการส่งเสริมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ให้กับคนในชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถพัฒนาการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อสร้างรายได้หลักหรือรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวและชุมชน รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไทย เพื่อเป็นแหล่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยว 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ

  • อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม
  • ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร
  • เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง)
  • ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานในการจัดเตรียมศูนย์การเรียนรู้กลุ่มผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย
  • จัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม

          ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน และด้านสังคม ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง)

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ด้านประมง) ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารพัฒนาการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อสร้างรายได้หลักหรือรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวและชุมชน

การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

ข้อมูล/ที่มา

          ผ้าทอมือตูมใหญ่เป็นศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านตำบลตูมใหญ่ และการทอผ้าเองก็ยังเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมา นอกจากคุณค่าทางศิลปะแล้วยังเป็นการแสดงถึงแบบแผนความเป็นอยู่ในสังคม กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ จึงเป็นเทคนิคและความสามารถของแต่ละคน ซึ่งผู้ทอสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ถึง แม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงามแสดงถึงภูมิปัญญา และความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด

          กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตูมน้อย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2559 ประธานกลุ่มคือ นางปัณฑิตา แก้วกูล เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 25 คน กลุ่มทอผ้าบ้านตูมน้อย เป็นกลุ่มแม่บ้านช่างทอผ้าที่รวมตัวกันทอผ้าเป็นอาชีพเสริม และนำออกขายในลักษณะสหกรณ์ โดยมีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ หน่วยงาน อว.ร่วมกับ มหาวิทยาลัย​ลัย​ราชภัฏ​บุรีรัมย์จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างอาชีพ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีในพื้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้และภายหลังได้มีการจัดตั้งให้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย

วัตถุประสงค์ 

          เพื่อเป็นการเสริมสร้างการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ระดมความคิด ประสบการณ์ของทางกลุ่มไปยังผู้ที่สนใจภายนอกชุมชน รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งให้บริการเผยแพร่ และการยกระดับการผลิตผ้าทอมือพื้นบ้านผ้าขาวม้าทอมือสู่สากล รวมถึง รายละเอียดแต่ละขั้นตอน มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไรบ้างกว่าจะมาเป็นผ้าขาวม้าแต่ละผืน และมุ่งพัฒนาผ้าทอมือให้ตรงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเพิ่มทักษะด้านความคิดด้านฝีมือและสร้างองค์ความรู้การออกแบบ เพื่อเอามาเป็นจุดขายและสร้างรายได้ให้กับชุมชน และเพื่อให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมสืบต่อไป 

สตอรี่/ลายเอกลักษณ์ 

          ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือบ้านตูมน้อย เป็นงานหัตถกรรมที่พัฒนารูปแบบ ลวดลาย สี ด้วยการสร้างจากนวัตกรรมจากวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว โดยการพลิกโฉมจากผ้าขาวม้าสไตล์เดิมๆ เพิ่มเอกลักษณ์โดยการใช้สีพาสเทลที่มีความทันสมัยทอลายด้วยโทนสีต่างๆ โดยใช้สีหวานๆ เก๋ๆ ลวดลายของผ้าออกแบบเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร จนได้ผ้าขาวม้าสีพาสเทลที่ให้ความหวานละมุนในแบบฉบับของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทย นอกจากนี้ผ้าไทยของกลุ่มยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันสวยงามและมีเสน่ห์ มองแล้วรู้สึกสบายตา และยังเป็นโทนสีของผ้าขาวผ้าที่สุภาพหรือโทนสีที่ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป สามารถสวมใส่ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย และทุกโอกาส

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในส่วนของกิจกรรมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (ประมง) พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้เกษตรกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

          จากการลงพื้นที่ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน การวางแผน การทำงานอย่างเป็นระบบแบบแผน และได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

แผนการดำเนินงานต่อไป

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้

1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้

3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ

4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

อื่นๆ

เมนู