1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน ธันวาคม 2564 กลุ่ม AGO1(2) กิจกรรมการคืนความรู้สู่ชุมชนและในด้านการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

บทความประจำเดือน ธันวาคม 2564 กลุ่ม AGO1(2) กิจกรรมการคืนความรู้สู่ชุมชนและในด้านการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

ดิฉัน นางสาวศิริลักษณ์ โมกไธสง  นักศึกษา ตำบลบ้านคู  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์  

ในการปฏิบัติงานได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการคืนความรู้สู่ชุมชนและในด้านการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
1.อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในกิจกรรมการคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนและในด้านการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด
2.คณะทีมงานตำบลบ้านคูได้ประสานงานไปยังผู้นำชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู เพื่อขอใช้สถานที่ในชุมชนและหอประชุมในการจัดกิจกรรมการคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนและการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมการคืนความรู้สู่ชุมชน และในด้านการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร ท่านอาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล ร่วมกับชาวบ้านกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด เดินชมแปลงผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ ซึ่งมีทั้งหมด 2 ส่วน คือ แปลงผักที่ราบ และ แปลงผักชั้นบันได ประกอบด้วยแปลงผักทั้งหมด 52 แปลง ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะแบ่งกันรับผิดชอบคนละ  2 แปลง พืชที่นิยมปลูกนั้น ได้แก่ กระเทียม กะหล่ำปลี หัวไชเท้า แรดิช สลัดกุหลาบ สลัดคอส คะน้า เป็นต้น โดยชาวบ้านจะใช้วิธีการเพาะเมล็ดก่อนนำมาปลูกลงแปลง หลังจากนำพืชที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงแปลงแล้ว ชาวบ้านจะนำเอาฟางข้าวมาคลุมดิน เพื่อจะทำให้พืชผัก เจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช คุณประโยชน์จากฟาง 1 ส่วนจะเท่ากับมูลวัว 10 ส่วน ฟางจะช่วยปรับโครงสร้างของดิน ที่เป็นกรดหรือเป็นด่าง ให้เกิดความสมดุล รักษาความชื้นให้แก่ดิน สร้างดินให้มีชีวิตทำให้ประหยัดน้ำในการรดต้นพืช ดินที่คลุมด้วยฟาง จะเป็นอาณาจักรของสัตว์ ที่เป็นมิตรกับต้นพืช อาทิ ไส้เดือน จิ้งหรีด เป็นต้น และการระบาดของแมลงศัตรูพืช จะค่อย ๆ หายไป โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

 

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ทำการฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้านแล้ว ได้แก่

1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy

2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy

3) ด้านการเงิน Financial Literacy

4) ด้านสังคม Social Literacy

และได้เข้าไปศึกษา TDGA เพิ่มเติม ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความสามัคคีกันในหมู่คณะ และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2.ได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ

3.ชุมชนให้ความร่วมมือปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

4.ได้รู้จักคนในชุมชนมากขึ้น

5.ได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ในแต่ละครั้ง

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้

  1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
  2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
  3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
  4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)                                                         

 

อื่นๆ

เมนู