ดิฉัน นางสาวสุกัญญา พลรักษา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติ เพื่อคืนองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีการทำงานในเดือนธันวาคม ดังนี้
ศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ
การย้อมสีธรรมชาติ
ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ
1.การทำความสะอาดเส้นไหม
2.การเตรียมน้ำย้อม
3.การเตรียมสารช่วยย้อม
4.การย้อม
1.การทำความสะอาดเส้นไหม
1)เติมน้ำลงหม้อประมาณ 30 ลิตร ใส่สบู่เทียม 150 กรั (5 กรัม / ลิตร) ด่างโซดาแอช 60 กรัม (2 กรัม/ลิตร)
2)ต้มน้ำในหม้อย้อม ให้น้ำร้อนประมาณ 70 องศาเซลเซียส สังเกต ผิวน้ำในหม้อเกิดอน้ำเล็กน้อย
3)นำเส้นไหม 1 กิโลกรัม ใส่ลงในหม้อต้ม กดไหมให้จมน้ำ
4)ค่อยๆเพิ่มไฟ ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 95 องศาเซลเซียส จนถึงเดือด และต้มเส้นไหมนาน 1 ชั่วโมง
5)นำเส้นไหมขึ้นมาวางทิ้งไว้ เพื่อให้เย็นล ก่อนนำไปล้างโดยให้ล้างจากน้ำอุ่น ไปหาน้ำเย็น (ล้างด้วยน้ำอุ่นที่ 60 องศาเซลเซียส ระมาณ 2-3 ตรั้ง ก่อนนำไปล้างด้วยน้ำเย็นอุณหภูมิห้อง) บิดหมาดๆ และกระตุกเส้นไหม 2-3 ครั้ง เพื่อให้เส้นไหมเรียงตัว นำไปตากแห้ง เก็บไว้อย่าให้โดนฝุ่น
2.การเตรียมน้ำย้อม
1)หากวัตถุดิบที่ให้สีเป็นเปลือกไม้ แก่นไม้ กิ่งไม้ เช่น แก่นฝางแดง แก่นขนุน เป็นต้น ให้ทำการสับหรือผ่าให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2)ชั่งเปือก/ชิ้นไม้ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว ประมาณ 3 กิโลกรัม ใส่ลงในกะละมัง/หม้อสเตนเลส เติมน้ำปริมาณ 20 ลิตร แล้วแช่ค้างคืนไว้
3)นำกะละมัง/หม้อสเตนเลส ที่แช่เปลือก/ชิ้นไม้ ไปต้มให้เดือดประมาณ 2 ชั่วโง เพื่อให้สีที่อยู่ในเปลือก/ชิ้นไม้ละลายออกมาให้มากที่สุด (ระหว่างการต้ม หากน้ำลดลงให้เติมน้ำลงไปให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม) เมื่อครบเวลาใช้กระชอนตักเปลือก/ชิ้นไม้ออก แล้วกรองน้ำสีด้วยผ้าขาวบาง
3.การเตรียมสารช่วยย้อม
การใช้สารช่วยย้อมในการย้อมสีมี 3 วิธี คือ
วิธีที่ 1 การใช้สารช่วยย้อมก่อนการย้อมสี เพื่อให้สียึดติดกับเส้นด้ายและช่วยเพิ่มความคงทนของสีทำได้โดยการนำเส้นด้ายที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วไปชุบหรือต้องย้อมกับสารช่วยย้อมก่อนนำไปย้อมด้วยสีธรรมชาติ
สารช่วยย้อมก่อนการย้อมสี ที่นิยมใช้มักเป็นพืชที่ให้สารฝาดหรือสารแทนนิน น้ำถั่วเหลือง เกลือแกง
สารเเทนนิน ได้จากพืชที่ให้รสฝาดและขม เช่น ใบฝรั่ง ใบยูคาลิปตัส เปลือกสีเสียด เปลือกผลทับทิม เปลือกประดู่ เป็นต้น ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติช่วยให้สีติดกับเส้นด้ายได้ดีขึ้น โดยการต้มสกัด น้ำฝาดหรือแทนนินจากพืชดังกล่าว แล้วนำเส้นด้ายลงไปต้มย้อมกับน้ำฝาดก่อน จากนั้นจึงนำเส้นด้ายไปย้อมกับน้ำสีย้อมอีกครั้ง
วิธีที่ 2 การใช้สารช่วยย้อมพร้อมกับการย้อมสี วิธีนี้เป็นการใช้สารช่วยย้อมลงไปในน้ำสี ทำให้เกิดเม็ดสีขึ้นแล้ว จึงนำเส้นด้ายลงไปย้อม
วิธีที่ 3 การใช้สารช่วยย้อมหลังการย้อมสี เป็นการนำเส้นด้ายลงไปย้อมสีก่อนแล้วจึงนำไปชุบหรือย้อมในสารช่วยย้อมในการย้อมในการย้อมภายหลัง วิธีการนี้จะช่วยทำให้เกิดเฉดสีใหม่ขึ้น
ตัวอย่างสารช่วยย้อม หรือ สารช่วยติดสี ได้แก่
สารส้ม มีคุณสมบัติช่วยจับยึดสีกับเส้นด้ายเพื่อช่วยให้สีสดสว่างขึ้น มักใช้กับการย้อมด้วยพืชที่ให้เฉดสีน้ำตาล-เหลือง-เขียว เช่น เเก่นเข ใบหูกวาง เปลือกประดู่ เปลือกมะพร้าว เป็นต้น แต่ต้องละลายด้วยน้ำอุ่นเท่านั้น ห้ามละลายด้วยน้ำเย็น
น้ำโคน ใช้ดินโคนจากก้นสระที่มีน้ำขังตลอดปีมาละลายในน้ำเปล่าสัดส่วนน้ำ 1 ส่วนต่อดินโคน 1 ส่วน จะช่วยให้สีเข้มหรือโทนสีเทา-ดำ เช่นเดียวกับน้ำสนิม (กรองเอาสิ่งแปลกปลอมออกให้เหลือแต่ดินโคนเหลวๆ )
4.การย้อมสี
1)นำน้ำย้อมที่ผ่านการกรองแล้ว มาตั้งไปปานกลาง พอร้อนมีควันไม่ถึงกับเดือด ใส่สารช่วยย้อมสีอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ โดยการทดลองสีกันก่อนหากต้องการสารช่วยย้อมอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเลือกใส่ลงไปพร้อมน้ำย้อมที่ได้ โดยปริมาณการใช้สารช่วยย้อม มีดังนี้
ถ้าต้องการใช้น้ำปูนเป็นสารช่วยย้อมจะใช้ปริมาณ 1/2 ขัน ต่อเส้นด้ายที่จะย้อม 1 กิโลกรัม
ถ้าต้องการใช้น้ำด่างเป็นสารช่วยย้อม จะใช้บริมาณ 2 ขัน ต่อเส้นด้ายที่จะยอม 1 กิโลกรัม
ถ้าต้องการใช้สารส้มเป็นสารช่วยย้อมจะใช้ปริมาณ 50 กรัมต่อเส้นด้ายที่ยอม 1 กิโลกรัม
2)นำเส้นด้ายที่จะย้อม ที่เตรียมไว้ (ทำความสะอาดแล้ว) ลงยอดในน้ำสีนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต้องหมั่นพลิกเส้นด้าย ให้ถูกน้ำย้อมเสมอกันทุกๆ 10 นาที
3)นำเส้นด้ายขึ้นผึ่งให้เย็น -ถ้าเป็นเส้นฝ้าย/ผ้าฝ้าย ให้นำใส่ถุงพลาสติกปิดให้เเน่นหนาไว้ 1 คืนก่อนแล้วค่อยเอาออกมาซักด้วยน้ำเปล่าจนน้ำที่ล้างนั้นใส -ถ้าเป็นเส้นไหม เมื่อผึ่งให้แห้งแล้วให้ซักด้วยน้ำเปล่าจนน้ำที่ล้างนั้นใส
4)บิดเส้นด้ายที่ล้างสะอาดแล้วให้หมาดกระตุกให้ตึง 2-3 ครั้งแล้วนำไปผึ่งในที่ร่มจนแห้ง ถ้ายังไม่ทอควรนำไปเก็บไว้ในถุงเพื่อไม่ให้ฝุ่นเกาะและป้องกันสีซีด
การใช้สารช่วยย้อมหลังการย้อมสี โดยนำเส้นด้ายไปย้อมสีก่อนแล้วจึงนำไปย้อมกับสารช่วยย้อมภายหลังวิธีการนี้จะช่วยทำให้เกิดเฉดสีใหม่ขึ้น ทำได้โดย
1) นำเส้นด้าย / ผ้าที่ผ่านการย้อมสีที่บิดให้หมาดแล้วกระตุก 2-3 ครั้งจึงนำมาขยำในน้ำสารช่วยย้อมเวลาใช้ขึ้นอยู่กับว่าต้องการสีเข้มหรือสีจางโดยทั่วไปประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเป็นแทนนินจากพืชจะใช้เวลาน้อย เช่น การย้อมฝางแล้วนำมาย้อมต่อในน้ำผลมะเกลือจะใช้เวลาประมาณ 9 นาที จะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีบานเย็นนานกว่านี้จะเป็นสีมืด
2) บิดเส้นด้าย / ผ้าให้หมาดกระตุก 2-3 ครั้งแล้วผึ่งให้แห้ง
3) นำเส้นด้าย / ผ้าที่พึ่งแห้งแล้วมาซักในน้ำสะอาดจนน้ำใสแล้วนำไปสะบัดโดยใช้แขนสองเส้นด้ายแล้วกระตุก 2-3 ครั้งนำไปตากในที่ร่ม (เส้นไหม) หรือกลางแดด (เส้นฝ้าย)
การย้อมซ้ำ
ถ้าสีที่ย้อมเสร็จแล้วยังได้สีที่จาง หรือ มีรอยด่างเนื่องจากสีติดไม่เสมอกันก็สามารถแก้ไขได้โดยนำไปย้อมสีเดิมก็จะได้สีที่เข้ม และมีความคงทนมากขึ้นหรือจะเปลี่ยนเป็นสีอื่นย้อมทับกันก็ได้ จะให้สีใหม่ที่แปลกตา
ในการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามในแต่ละสีนั้นบางครั้งจะต้องผ่านการทดลองย้อมนับครั้งไม่ถ้วน และผู้ย้อมต้องเป็นคนช่างสังเกตควรจดบันทึกข้อมูลและเก็บตัวอย่างการย้อมไว้ทุกครั้งเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในครั้งต่อไปซึ่งเมื่อได้ผ้าที่ย้อมสีได้ตามต้องการแล้ว เราสามารถนำไปทดสอบหาความทนต่อแสงอย่างง่ายๆด้วยการตัดตัวอย่างผ้ามาชิ้นเล็กๆ นำวัสดุทึบแสงมาปิดที่ผ้าตัวอย่างครึ่งหนึ่งแล้วนำไปวางตากแดด ๗ วัน นำผ้าที่โดนแสงมาเปรียบเทียบดูกับผ้าที่ไม่โดนแสง ถ้าผ้าที่โดนแดดสีซีดน้อยมากหรือแทบสังเกตไม่ออกแสดงว่าสีที่ได้จากต้นไม้ชนิด และวิธีการย้อมอย่างนี้ใช้ได้ แต่ถ้าสีซีดมากแสดงว่าต้นไม้หรือวิธีการย้อมไม่เหมาะสมต้องทดลอง และปรับปรุงให้มีคุณภาพอย่างที่ต้องการต่อไป
วิธีการหมักโคลน
1.นำเส้นไหมเส้นฝ้าย / ผ้าที่ย้อมสีแล้วมาแช่น้ำให้ชุ่มแล้วบิดน้ำออกให้หมาดกระตุกให้ไหม / ฝ่ายเรียงเส้น (ถ้าเป็นชิ้นผ้าก็ต้องสะบัดให้เรียบ
2.กวนโคลน (ที่ได้กรองเอาสิ่งแปลกปลอมออกให้เหลือ แต่ดินโคลนเหลวๆ ) ให้เข้ากันนำเส้นไหมเส้นฝ้ายผ้าลงย้อมในน้ำโคลนโดยขยำให้ทั่วเพื่อให้เส้นไหมเส้นฝ้าย / ผ้าสัมผัสโคลนได้ทั่วถึงประมาณ 9 ชั่วโมงโดยให้ทำการกลับเส้นไหม / เส้นฝ้าย / ผ้าทุก 10 นาทีครบเวลาจึงนำเส้นไหมเส้นฝ้ายผ้าขึ้นจากน้ำโคลน
3.ล้างเส้นไหม / เส้นฝ้าย / ผ้าให้สะอาดบิดให้หมาดแล้วกระตุกให้ไหม / ฝ่ายเรียงเส้นซึ่งให้แห้งหากต้องการให้ได้สีที่เข้มขึ้นให้นำเส้นไหมเส้นฝ้ายผ้าไปพึ่งกลางแดดจนแห้ง
4. นำเส้นไหม/เส้นฝ้าย/ผ้า ไปล้างในน้ำสะอาด แล้วกระตุกเส้นไหม/เส้นฝ้ายให้เรียงเส้น ผึ่งให้แห้ง
การย้อมสีธรรมชาติ จากแก่นต้นเข/เปลือกต้นเข
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลาง เรียกว่า แกแล สักขี เหลือง หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์) กะเลอะ เซอะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ภาคเหนือ เรียกว่า แกก้อง (แพร่) ช้างงาต้อก (ลำปาง)
ภาคใต้ เรียกว่า แกแหร น้ำเคี่ยว โซ่ (ปัตตานี)
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งมีหนามแหลมตามซอกใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียง สลับรูปไข่ ปลายใบมนหรือสอบแหลม มีติ่งเป็นขนแข็งโคน ใบสอบแหลมรูปลิ่ม แผ่นใบบาง ผิวเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ เป็นดอกแยกเพศและอยู่คนละต้น ช่อดอกมีสีเหลืองมีดอกย่อยเป็นจำนวนมากเรียงชิดกันแน่นไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลรวมรูปกลม ผิวขรุขระ
ส่วนที่ให้สี : แก่นต้น เปลือกต้น
การย้อมสีเส้นฝ้าย / เส้นไหมด้วยแก่นเข
มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้อมด้วยไม้ฝางแดง ซึ่งเมื่อเติมสารส้มจะเห็นน้ำสีขุ่นเกิดการจับตัวเป็นเม็ดสี เมื่อนำเส้นฝ้าย / เส้นไหมลงย้อมน้ำสีจะค่อยๆใสขึ้น สีที่ย้อมได้เป็นสีเหลือง
ถ้านำเส้นฝ้าย / เส้นไหมที่ย้อมด้วยเข (เส้นด้ายต้องแห้งแล้ว) ไปต้มย้อมในน้ำย้อมฝางก็จะได้เป็นสี
การย้อมสีธรรมชาติ จากรังครั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Laccifer lacca Kerr
ลักษณะ : ครั่งเป็นแมลงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีตัวสีแดง มีงวงเจาะลงในกิ่งไม้เพื่อดูดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ สร้างรังห่อหุ้มป้องกันตัว รังประกอบด้วยสารสีม่วงแดง ครั่งจะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ เช่นจามจุรี (ฉำฉา) พุทรา สะแก เป็นต้น ครั่งจะวางไข่ทีละฟองหรือวางติดต่อกันเป็นสาย ไข่จะฟักตัวภายใน 20 นาที เมื่อครั่งตัวเมียอายุได้ 1 เดือน จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นถุงกลม หนวดและตาหายไป และได้รับการผสมพันธุ์ หลังจากนั้นจะขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเกือบกลมในตัวเต็มไปด้วยน้ำสีแดง (สารให้สี) และมีไข่เป็นจํานวนมาก ครั่งที่นำมาใช้ประโยชน์จึงเป็นครั่งตัวเมีย
ส่วนที่ให้สี : รัง
การย้อมสีเส้นไหม/เส้นฝ้ายโดยใช้ครั่ง
1) ใช้ครั่ง 2 กิโลกรัม ห่อด้วยผ้าขาวบางแช่ด้วยน้ำสะอาดไว้ค้างคืน พอรุ่งเช้าใช้น้ำร้อนค่อยๆ เทราดเพื่อสกัดสีออกให้มากขึ้น
2) เติมน้ำลงในหม้อย้อมเติมน้ำมะขามเปียก 0.5 กิโลกรัม แล้วเติมน้ำให้มีปริมาตรประมาณ 15 ลิตร
3) นำเส้นใยที่ต้องการย้อมจุ่มลงในน้ำย้อมจนได้สีที่ต้องการจากนั้นนำไปต้มให้เดือดประมาณ 15-20 นาทีจะได้สีแดงส้ม
4) ถ้าต้องการสีม่วงให้นำไปแช่ในน้ำปูนใส
ถ้าต้องการย้อมสีเส้นไหมให้เป็นสีม่วงเปลือกมังคุดสามารถทำได้โดยเมื่อย้อมสีเส้นไหมด้วยครั่ง (สีชมพูแดง) แล้วให้นำเส้นไหมดังกล่าวไปย้อมในน้ำสีจากเปลือกมะพร้าวที่มีสนิมเหล็กเป็นตัวช่วยติดสี
การย้อมสีเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายด้วยวัสดุธรรมชาติสามารถให้สีที่แตกต่างกันขึ้นกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ผู้ประกอบการที่ต้องการให้การย้อมได้สีที่มีความสม่ำเสมอต้องพยายามเลือกใช้วัตถุดิบจดปริมาณสารช่วยติดสีที่ใช้ไว้และอาจต้องย้อมหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ได้สีที่ต้องการจากนั้นล้างน้ำด้วยจนหมดสีป้องกันสีตก
กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
คณะทำงาน AG01(2) จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม
คณะทำงาน AG01(2) ได้ประสานงานไปยังผู้นำชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคู เพื่อขอใช้สถานที่ในชุมชนและหอประชุมในการจัดกิจกรรมการคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนและการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการอาชีพใหม่ด้านการปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
คณะทำงาน AG01(2) ได้มาทำความสะอาดวิหารหลวงพ่ออูป
คณะทำงาน AG01(2) ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมกิจกรรมการนำความรู้สู่ชุมชนและการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เป้าหมาย ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของการการนำเอาความรู้สู่ชุมชน การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้กลุ่มทอผ้าไหมและผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์และผศ.ดร.นฤมล สมคุณา
คณะทำงาน AG01(2) ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบการท่องเที่ยว 1 day trip ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การท่องเที่ยว 1 day trip โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์และผศ.ดร.นฤมล สมคุณา
คณะทำงาน AG01(2) ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยว 1 day trip ตำบลบ้านคู ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของการเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านคู โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับตามแผนที่วางไว้ โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์และผศ.ดร.นฤมล สมคุณา
คณะทำงาน AG01(2) จัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการและจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม
การฝึกอบรมทักษะ
ได้ทำการฝึกทักษะสำเร็จครบทุกด้านแล้ว ได้แก่
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy
ปัญหา/อุปสรรคในการทำงานและการแก้ไขปัญหา
เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ ที่มีความรุนแรงมากขึ้นและมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนบางส่วนเกิดความวิตกกังวลทางคณะทำงาน AG01(2) จึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชนทุกคน
สิ่งที่ได้เรียนรู้
-ได้เรียนรู้การทำงานกับบุคคลหมู่มาก
-ได้เรียนรู้การรู้จักการเสียสละต่อส่วนรวม
-ได้เรียนรู้การรับฟัง การแสดงความคิดเห็นของบุคคลในกลุ่ม
-มีความอดทนในการทำงานมากขึ้น
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)