ดิฉันนางสาวสุวัลณิษา  จำจิตร ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยในเดือนธันวาคมนี้ได้มีการปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ และทีมงาม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ในการดำเนินงานในพื้นที่ ดังนี้

1. กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1)

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรบ้านหนองไผ่ดง หมู่ที่ 13 เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำไปใช้ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อยกระดับรายได้ของเศรษฐกิจฐานราก ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1)  จัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy)           ด้านการเงิน (Financial Literacy) และด้านสังคม (Social Literacy) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์

2. การสาธิตการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำและการเก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์

      2.1 การสาธิตการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำ

        การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นอาชีพหนึ่งของภาคการเกษตรที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีแนวโน้มที่จะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องด้วยในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ไม่คอยมีการเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้นำความรู้การผสมอาหารสำหรับสัตว์น้ำเข้ามาให้ความรู้เพื่อเพิ่มการพัฒนาเศรฐกิจของชุมชน

      ส่วนผสมของวัสดุอาหารสำหรับเลี้ยงปลา                                        

             ปลาป่นอัดน้ำมัน               12%

             กากถั่วลิสงป่น                 6%

             รำละเอียด                     41%

             ปลายข้าวบดหรือมันเส้นบด           40%

             วิตามิน+แร่ธาตุ        1%

              รวม       100%

                                          ที่มา: ไทยเกษตรศาสตร์

      การทำอาหาร เมื่อชั่งวัสดุอาหารตามสูตรที่กำหนดให้หรือที่คำนวณได้แล้ว ก็นำไปเข้าเครื่องผสมแบบหนึ่งแบบใดก็ได้   ในกรณีที่เป็นอาหารแห้งจะต้องเติมน้ำประมาณ 35-40% ของอาหารที่ใส่เข้าเครื่องทั้งหมดแล้วเดินเครื่องให้อาหารผสมกัน โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นก็ถ่ายเทอาหารไปใส่ในเครื่องอัดเม็ดหรือโม่ปลาหากอาหารที่ได้ออกมาไม่เปียกมาก การตากแดดเพียงแดดเดียวอาหารก็จะแห้งพอที่เก็บได้นาน ในกรณีที่อาหารเปียกมากและไม่มีแดดที่ใช้ตาก ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การเกิดเชื้อราในอาหาร การป้องกันโดยใช้สารกันบูดในรูปแคลเซียมโปรปิโอเนตจะช่วยทำให้เกิดเชื้อราได้ช้าลง

                 

      2.2 การเก็บข้อมูลเกษตรด้านปศุสัตว์

          การเก็บข้อเกษตรด้านปศุสัตว์ ได้ดำเนินการลงพื้นที่ในการสำรวจจาก 19 หมู่บ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุดโดยการสอบถามจากผู้เลี้ยงโดยตรงส่วนใหญ่ชาวบ้านแต่ละหมู่จะมีสัตว์เศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปจากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่จะนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพาะเลี้ยงง่าย การดูแลไม่ลำบาก รองลงมา คือ โคเนื้อ เนื่องจากมีราคาจากการขายค่อนข้างสูงจึงเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยง ในส่วนสุกรแต่เดิมชุมชนนิยมเลี้ยงมากแต่ปัจจุบันเกิดโรคระบาดหนักทำให้หมูตายจำนวนมากทำให้ชาวบ้านจึงต้องทำลายเพื่อป้องกันการระบาดหรือไม่สุกรที่เลี้ยงก็ล้มตายเองทำให้ปัจจุบันชาวบ้านไม่นิยมเลี้ยง และในส่วนสัตว์ที่เป็นที่นิยมอีกหนึ่งชนิดคือแพะชาวบ้านเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นทั้งมีการเลี้ยงเพื่อขายเป็นอาหารและเลี้ยงไว้เป็นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์ และเลี้ยงไว้ดูเล่น ในส่วนอีกสัตว์หนึ่งประเภทที่เลี้ยงมาอย่างยาวนานแต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเลี้ยงทำให้มีคนเลี้ยงภายในตำบลลดลงคือประเภทสัตว์น้ำ อาทิ ปลา กบ กุ้ง และหอย 

3. ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

      จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนธันวาคม ในส่วนของกิจกรรมการผสมอาหารสัตว์น้ำ พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกที่เข้าร่วมแต่ละหมู่บ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน แต่คนส่วนใหญ่พื้นที่ได้รับวัคซีนถึง 90 % ทางคณะผู้ปฏิบัติงานก็มีเตรียมพร้อมโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส   โควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น  

4. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมการผสมอาหารสัตว์น้ำที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์      

        จากการลงพื้นที่สำรวจได้เรียนรู้ในเรื่องการเลี้ยงสัตว์ที่ชาวตำบลตูมใหญ่นิยมเลี้ยง และได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชน และได้ศึกษาเรียนรู้การผสมอาหารสำหรับสัตว์น้ำ 

5. แผนปฏิบัติงานต่อไป

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

อื่นๆ

เมนู