บทความประจำเดือน ธันวาคม
อบรมการผสมอาหารสัตว์น้ำตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
นายธงชัย ปัสยัง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยในเดือนธันวาคมนี้ได้มีการปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ และทีมงาม AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ในการดำเนินงานในพื้นที่ ดังนี้
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
คณะ AG01(1) – อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม
คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่จิตอาสาพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คณะ AG01(1) –อบรมการผสมอาหารสัตว์น้ำ ที่อบต.ตำบลตูมใหญ่
คณะ AG01(1) – คณะผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข
คณะ AG01(1) – จัดทำบทความประจำเดือนธันวาคม
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านและTDGA ได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทำการศึกษาทักษะด้าน TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
กิจกรรมอบรมการทำอาหารสัตว์
ธรรมชาติของปลาดุกนั้นเป็นปลากินเนื้อและซาก กินได้ทั้งเศษเนื้อสัตว์ เศษพืช เลือด ขนมปัง และ เศษอาหารจากก้นครัว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาที่มีนิสัยการกินที่หลากหลายแบบกินไม่เลือก หากผู้เลี้ยงเข้าใจธรรมชาติของปลาดุกในข้อนี้ ก็จะนำมาซึ่งวิธีการลดต้นทุนค่าอาหารอันเป็นหัวใจหลักในการเลี้ยงปลาดุกลงไปได้มาก ทำให้การจับปลาขายในแต่ละครั้งเหลือกำไรที่ตั้งเนื้อตัวได้สบายและไม่ประสบกับปัญหาขาดทุน ไม่ว่าราคาปลาดุกจะผันผวนสักแค่ไหนก็ตาม โดยสูตรอาหารเลี้ยงปลาดุกต่อไปนี้เป็นภูมิปัญญาจากเกษตรกรไทย ที่นำมาใช้แทนหัวอาหารอย่างได้ดี ชนิดที่ไม่เคยมีการตีพิมพ์ในตำราวิชาการที่ไหนมาก่อนด้วย
วัตถุดิบที่ใช้
-พืชสีเขียว เช่น ผักบุ้ง กระถิน ฯลฯ 5 กก.
-ปลาป่นหรือหอยเชอรี่ 1 กก.
-รำละเอียด 2 กก.
-ปลายข้าวต้มสุก 1 กก.
-ข้าวโพดป่น 1 กก.
-กล้วยน้ำว้า/ฟักทอง/มะละกอ (เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง) 1 กก.
-เกลือ 2 ขีด
-กากน้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ
-EM หรือน้ำจุลินทรีย์ 2 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนและวิธีทำ
-ใส่ส่วนผสม ปลาป่น,หอยเชอรี่ที่บดแล้ว,ข้าวโพดป่น ทั้งหมดใส่ผสมกันในกะละมัง อัตราส่วนตามที่กำหนดในสูตรผสมให้เข้ากัน
-หากต้องการทำให้เป็นเม็ดก็นำเข้าเครื่องอัดเม็ด โดยขนาดของเม็ดเราก็สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
-หรือจะปั้นเป็นก้อนก็ได้ ขนาดเล็กใหญ่แล้วแต่ขนาดของปลา
-แล้วให้นำไปผึ่งลมให้แห้งเป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ
วิธีการนำไปใช้ให้อาหารปลา
-นำไปหว่านให้ปลากินวันละครั้ง 2 มื้อ เช้าและเย็น
-หว่านให้ทั่วบ่อ จุดเดิมเสมอเพื่อให้ปลาเคยชิน
-หว่านให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม พบปัญหาด้านลงพื้นที่ปฏิบัติงานมือเนื่องจากตำบลตูมใหญ่มีผู้ติดเชื้อโควิด ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลทุกคนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจึงมีผู้นำชุมชนและ อสม.คัดกรองก่อนเข้าและออกจากพื้นที่ตลอดเวลา
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
– ได้ประสานงานและวางแผนก่อนลงพื้นที่
-ได้เรียนรู้การประสานงานการทำงานกับผู้นำในชุมชน
-ได้เข้าใจปัญหาและสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน