บทความประจำเดือน สิงหาคม 2564
กลุ่ม AGO1-(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เรื่อง การออกแบบลายผ้า
ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวดวงฤทัย อินทร์แก้ว ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งในการปฏิบัติงานดิฉันได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย ของกลุ่มทอผ้ามือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองบัว บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านปะคำดง
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
- อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม และชี้แจงรายละเอียดกำหนดการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ และการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้มีการประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านและเจ้าอาวาสผู้ดูแลวัดบ้านหนองดุม เพื่อขอใช้พื้นที่หอประชุมในการจัดกิจกรรมการอบรม
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ชนิดต่างๆ และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
- อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องของการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม
» ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ในเว็บไซต์ Thaimooc , TDGA และ set e-learning เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%
กิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการทอผ้ามือมาวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหา พบว่า กลุ่มทอผ้ามือทั้ง 4 หมู่บ้าน นอกจากสมาชิกกลุ่มยังมีการใช้สารเคมีและสีสังเคราะห์ในการย้อมเส้นใยผ้าแล้ว กลุ่มยังไม่มีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกตนเอง คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรจึงได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย โดยฝึกให้ผู้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้กระบวนการในการออกแบบลายผ้าอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถออกแบบลายผ้าที่มีเอกลักษณ์เป็นของกลุ่มหรือตนเองได้ และสามารถใช้กราฟเพื่อช่วยในการออกแบบลายผ้าและการพัฒนาลายผ้าเดิมให้สวยงามมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาลายผ้าให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์จะช่วยทำให้สินค้ามีคุณค่าและน่าสนใจ ทำให้เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น โดยให้ความรู้ความเข้าใจโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ ในเรื่องของการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย ดังนี้
มัดหมี่ เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายให้เกิดขึ้นกับเส้นด้ายทางเส้นพุ่ง หรือเส้นยืน หรือทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ซึ่งอาจเป็นเส้นไหม ฝ้าย หรือเส้นใยสังเคราะห์ โดยที่มีการค้นหมี่เพื่อทบเส้นด้าย และแยกเส้นด้ายเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า “ลำ” ตามการซ้ำของลายแล้วทำการมัดด้วยเชือกในตำแหน่งสีของลายเป็นเปลาะ เพื่อกันสีที่จะทำการย้อมไม่ให้ซึมเข้าไปในเส้นด้ายที่มัดเชือกไว้ โดยมัดเก็บในตำแหน่งสีของลายที่ย้อมได้ทีละสีๆ จนได้สีสันของด้ายในตำแหน่งของลายทั้งหมดจากนั้นจึงนำไปทอให้เป็นผืนผ้า ซึ่งมีลวดลายมัดหมี่ที่สวยงาม
รูปแบบลวดลาย มี 7 แบบ ดังนี้
- ลายแถบแนวนอน เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันในแนวนอน
- ลายแถบแนวตั้ง เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันยาวตามแนวตั้ง
- ลายแถบแนวเฉียง เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันเอียงจากแนวไปทางใดทางหนึ่ง
- ลายแถบลักษณะเส้นหยก หรือเส้นซิกแซก เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันในลักษณะสลับฟันปลา
- ลายแถบลักษณะตาหมากรุก เกิดจากการผูกประกอบลายลงในพื้นที่ที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมตารางเล็กๆ ที่เท่ากัน โดยสลับลายกับช่องว่างเหมือนตารางหมากรุก
- ลายแถบลักษณะขั้นบันได เกิดจากการผูกประกอบลายเรียงต่อกันลดหลั่นกันเป็นลำดับไปตามแนวเฉียง
- ลายที่มีลักษณะเป็นแผ่นผืน เกิดจากการจัดประกอบตัวลาย หรือแม่ลายต่อเข้าด้วยกันจนเต็มพื้นที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
เทคนิคการออกแบบลวดลายจากแม่ลาย
เทคนิคการออกแบบลวดลายจากแม่ลาย คือ การสร้างลายธรรมดาที่มีลักษณะเรียบง่ายขึ้นเพียง 1 รูป แล้วผูกเป็นลวดลายต่างๆ ด้วยวิธีการ เช่น การเรียงลำดับ การสลับซ้ายขวา การหมุนรอบจุด จนทำให้เกิดลวดลายใหม่ได้ต่อไปอีก
จัดทำสื่อวีดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อวีดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น การจัดทำโปสเตอร์ การจัดทำแผ่นพับ และการเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น อาทิเช่น ทำแผ่นผับการท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ เพื่อให้บุคลอื่นได้รู้ว่าตูมใหญ่มีที่ท่องเที่ยวตรงไหน และมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนสิงหาคม ในส่วนของกิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ และกิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย พบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่
- ได้เรียนรู้ถึงความสามัคคีของคนในกลุ่ม
- ได้เรียนรู้เรื่องการออกแบบลายผ้า
- ได้เรียนรู้เรื่องการย้อมสีธรรมชาติ
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป ดังนี้
- นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ และกิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านปะคำดง
- วันที่ 20 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- วันที่ 27 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- วันที่ 17 กันยายน 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19