1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมการอบรมมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง และกิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ตำบลตูมใหญ่

บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมการอบรมมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง และกิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ตำบลตูมใหญ่

บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมการอบรมมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองและกิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

         ดิฉันนางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์  ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองโดยมีวัตถุประสงค์การยกระดับและผลักดันให้ฟาร์มปศุสัตว์ขนาดกลางและรายย่อยให้มีการป้องกันโรคการจัดที่ดี โดยมีพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ตามมาตรา 7แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นมาตรฐาน GAP และกิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติเพื่อต้องการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดระโยชน์สูงสุด อาทิ มีการใช้สีธรรมชาติ ที่ปลอดภัยจากสารเคมี ในการผลิต เพื่อใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้สวมใส่เป็นหลัก และมีการใช้กากชานอ้อย ที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ มาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำในชุมชน

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์เพื่อสรุปแผนปฎิบัติงานในเดือนกรกฎาคมและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานหลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนสิงหาคมเพื่อที่จะได้แบ่งหน้าที่ในการปฎิบัติงานได้อย่างชัดเจนและเข้าใจงานในส่วนที่ได้รับผิดชอบ

            คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

            คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) เข้าร่วมอบรมในหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management, GFM) สำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง” รุ่นที่ 1
วิทยากรโดย นายสัตวแพทย์ รัชภูมิ เขียวสนาม

            คณะผู้ปฏิบัติงานAG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลายโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

            คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่พร้อมด้วยคณะ อบต.ตูมใหญ่บ้างส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนใน อบต. ตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

            อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไปและชี้แจงการเขียนรายงานผลปฎิบัติงานในไตรมาสที่2 หลักจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปรายงานประจำเดือนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนสิงหาคม

            ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงวิชาการทุกครั้ง

           ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน  ดิฉันได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะ ทั้ง4ด้านได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ได้เรียนและสอบได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และผ่านตามเกณฑ์การวัดผลเรียบร้อยแล้ว และได้เข้าไปศึกษา TDGA ในรายวิชา ดิจิทัล เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด

1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการอบรมกิจกรรมการอบรมมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง

          วัตถุประสงค์การยกระดับและผลักดันให้ฟาร์มปศุสัตว์ขนาดกลางและรายย่อยให้มีการป้องกันโรคการจัดที่ดี โดยมีพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ตามมาตรา 7แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นมาตรฐาน GAP ไก่ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus หรือ Gallus domesticus ครอบคลุมไก่พื้นเมืองไทยหรือไก่พื้นเมืองลูกผสม เป็นสายพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเลี้ยงแบบปล่อยได้เช่น ไก่พันธุ์ประดู่หางดา ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว และไก่พันธุ์แดง สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง แบบเลี้ยงปล่อยเพื่อการค้า เกษตรกรต้องให้ความสำคัญตั้งแต่องค์ประกอบฟาร์ม อาหาร น้ำ การจัดการฟาร์ม การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูล เพื่อผลิตไก่พื้นเมืองที่มีสุขภาพแข็งแรง และได้เนื้อไก่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภค

 พื้นที่เลี้ยงและโครงสร้าง

1.มีโรงเรือนหรือเลาที่มีเนื้อที่เพียงพอ จํานวนไก่พื้นเมือง ไม่แออัดและสามารถควบคุมสัตว์พาหะนําโรค เช่น นก หนู 2. มีรั้วหรือการจัดการที่สามารถป้องกันคนและยานพาหนะเข้าพื้นที่เลี้ยงโดยรั้วอาจเป็นรั้วที่สร้างขึ้นหรือแนวรั้วธรรมชาติ เช่น คูน้ำ หรือแนวต้นไม้ เป็นต้น 3. มีป้ายเตือน “ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต” ที่ประตูทางเข้าพื้นที่เลี้ยง 4.มีบ่ออ่างหรืออุปกรณ์สําหรับฆ่าเชื้อและมีร้องเท้าสําหรับเปลี่ยน ก่อนเข้าพื้นที่เลี้ยง 5. มีพื้นที่เลี้ยงแยกจากอาคารสําหรับอยู่อาศัย และสนามซ้อมไก่ 6. กรณีที่เป็นสนามซ้อมไก่ ต้องได้รับการรับรองสนามซ้อมไก่จากกรมปศุสัตว์ 7.มีพื้นที่กักไก่พื้นเมือง/ไก่ชนที่นําเข้ามาเลี้ยงใหม่หรือกลับจากการแข่งขันการซ้อมการชนไก่ก่อนนําเข้าร่วมฝูง 8. จัดให้มีพื้นที่สําหรับแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง9. มีถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด10. มีสถานที่เหมาะสมในการฝั่งหรือเผาทําลายซากสัตว์ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค

2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ

การทอผ้ามือของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีกลุ่มทอผ้ามือทั้งหมดจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองบัว
  2. กลุ่มทอผ้ามือบ้านตูมน้อย
  3. กลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองดุม
  4. กลุ่มทอผ้ามือบ้านปะคำดง

           ในการลงพื้นที่พูดคุยสอบถาม ทำให้ทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของกลุ่ม โดยจุดเด่น กลุ่มมีจุดเด่นในเรื่องของการให้ความร่วมมือและสมาชิกกลุ่มเป็นผู้ที่พร้อมจะรับฟังและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน แต่ทางกลุ่มก็ยังมีจุดด้วยหรือปัญหาของทางกลุ่ม คือ

1.การใช้สีเคมีสังเคราะห์ในการย้อมและมีการใช้ในปริมาณมาก เพื่อต้องการให้ได้สีที่มีความชัดและสวยซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามจากท่านวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการย้อมสีนั้น พบว่าถ้ามีการใช้สีเคมีในการย้อมในปริมาณที่มากและระยะยาวไปนั้น จะส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อมและด้านตัวมนุษย์

2.เรื่องการออกแบบลายที่เป็นเอกลักษณ์และทันสมัย ทางกลุ่มยังมีผ้าที่มีลายแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีความหลากหลาย ทางกลุ่มของพวกเราจะมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบลายให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยจากวิทยากรที่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ

3.ต้องการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดระโยชน์สูงสุด อาทิ มีการใช้สีธรรมชาติ ที่ปลอดภัยจากสารเคมี ในการผลิต เพื่อใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้สวมใส่เป็นหลัก และมีการใช้กากชานอ้อย ที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ มาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำในชุมชน

4.ต้องการกลุ่มภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น การพัฒนากลไกทางการตลาด การพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์ทางกลุ่มของพวกเราก็ได้จัดทำ Facebook Fanpage และ Line official\เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

ทางกลุ่ม ผู้ปฎิบัติงาน มีการมุ่งเน้นการหาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ประกอบไปด้วย

-เลือกใช้สีธรรมชาติ

-การพัฒนารูปแบบและลายให้มีความทันสมัย

-พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

-พัฒนากลไกลทางการตลาด

-ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เช่น หน่วยงานภาครัฐและบุคลากรทางการศึกษา

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
            ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านตูมน้อยส่วนใหญ่มีความระวังตัวมากขึ้นเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ทาง อสม และผู้ใหญ่บ้านมีการคัดกรองก่อนเข้าหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มคนที่มาจากต่างจังหวัดทางอสม และผู้ใหญ่บ้านมีการกักตัวเพิ่มเติม 14 วัน และบังคับทุกกลุ่มคนที่มาจากจังหวัดตรวจโควิดทุกคน และทางผู้ใหญ่บ้านพร้อมอสม.ได้ให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้คนในตำบลตูมใหญ่ได้ให้ลงชื่อเพื่อฉีดวัคซีนเพื่อป้องโควิด

 ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนสิงหาคม ในส่วนของกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอพบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะทำงาน จึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ของตำบลตูมใหญ่

  • ได้เรียนรู้ถึงปัญหาการลงพื้นที่ในช่วงโควิดระบาด
  • ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นในรูปแบบของการตลาดออนไลน์
  • ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลด้านต่างๆมากขึ้น
  • ได้เรียนรู้การออกแบบลายที่เป็นเอกลักษณ์และทันสมัยจากการจัดอบรม
  • ได้เรียนรู้การติดต่อประสานงานในองค์กรมากขึ้น

แผนการดำเนินงานต่อไป

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป ดังนี้

  1. นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ และกิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านปะคำดง
  2. วันที่ 20 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
  3. วันที่ 27 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
  4. วันที่ 17 กันยายน 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู