ข้าพเจ้า นายเกรียงไกร กระฉอดนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG01(2) บ้านหนองลุมพุค หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ที่ 2 บ้านโคกเมฆ หมู่ 11 บ้านโนนตะคล้อ หมู่ที่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร : AG01(2) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเวลา 08:45 นาที ร่วมกับทีมงานประจำหลักสูตร AG01(2) เมื่อวันที่ 20-31 กรกฎาคมและวันที่ 6-14 สิงหาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจลายผ้าไหมและขนาดของผ้าไหมความเข้มของผ้าไหมการย้อมผ้าไหมแบบสีธรรมชาติการย้อมแบบสีเคมีว่าแตกต่างกันอย่างไรและยังได้นัดอบรมชาวชุมชนเรื่องการผสมสีเคมีย้อมผ้าไหมการเลือกแม่สีหลักๆมาผสมกันให้ได้สีตามที่ต้องการย้อมสีให้คงทนของสีเวลาการย้อมสีให้สีผ้าไหมไม่ตกสีหรือสีผ้าไหมตกสีน้อยที่สุดทีมงานAG01(2)ยังได้สอบถามเกี่ยวกับกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม เช่น กลุ่มบ้านทุ่งบ่อ บ้านโนนตะคล้อ บ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
กิจกรรมที่ได้ทำ
ลงพื้นที่ช่วงเดือน กรกฎาคมและสิงหาคม 2564 ไปดูขั้นตอนวิธีการมัดหมี่การย้อมสีผ้าไหมมัดหมี่ด้วยสีธรรมชาติและการใช้สีเคมีของกลุ่มชุมชนบ้านทุ่งบ่อพร้อมกับนัดชาวชุมชนจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ให้กับชุมชน บ้านทุ่งบ่อ บ้านโคกเมฆ บ้านโนนตะคล้อ บ้านโนนสะอาดเรื่องแม่สี เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง และให้ความรู้กับชาวชุมชนในการผสมสีเคมีตัวอย่าง คือ สีเหลือง+สีแดง=สีน้ำเงิน/สีน้ำเงิน+สีเหลือง=สีเขียว/สีน้ำเงิน+สีแดง=สีม่วง อย่างนี้เป็นต้นและยังมีการจัดอบรมเพิ่มเติมพร้อมกับสอนการจัดโครงสีต่างๆเช่นการใช้สีตามหลักการทางศิลปะเพื่อให้เกิดความงามได้มีหลักการสำคัญ ดังนี้
1.สีเอกรงค์ คือ การใช้สีเพียงสีเดียวที่มีความแตกต่างของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีนั้นจากระดับอ่อนสุดไปจนความเข้มสุด โดยใช้วิธีการนำสีน้ำเงินผสมด้วยสีขาวหรือจะนำสีน้ำเงินผสมด้วยสีดำและการนำสีมาผสมด้วยเทาหรือสีกลาง ตามภาพ
2.สีวรรณเย็น คือสีใดๆในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีน้ำมันและรวมทั้งสีเหลืองด้วยให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ ชุ่มชื่น สบายตา เฉื่อยชา มีด้วยกัน 7 สี คือสีเหลือง-สีเขียวเหลือง-สีเขียว-เขียวน้ำเงิน-น้ำเงิน-ม่วงน้ำเงิน-ม่วง
3.สีตรงข้ามหรือสีคู่ประกอบ หมายถึง คือสีสองสีมีอยู่ตรงข้ามกันสองสีให้ความรู้สึกขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมี 6 คู่คือ สีเหลืองขัดกับสีม่วง-สีแดงขัดกับสีเขียว.สีส้มเหลืองขัดกับสีม่วงน้ำเงิน-สีน้ำเงินขัดกับสีส้ม-สีแดงขัดกับสีเขียวน้ำเงิน-สีเขียวเหลืองขัดกับสีม่วงแดง
4.สีที่อยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า หมายถึงการใช้สีที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าในวงจรสีเป็นการใช้สีไม่ตัดกันรุนแรงนัก เช่น สีแดง-สีเหลือง-สีน้ำเงิน-สีส้มแดง-สีเขียวเหลือง-สีม่วงน้ำเงิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 15 หมู่บ้าน
การสำรวจและวิเคราะห์ทั้ง 15 หมู่บ้านของ ตำบลบ้านคูมีเพียง 4 หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่ที่มีด้วยกันคือ บ้านทุ่งบ่อ บ้านโนนตะคล้อ บ้านโนนสะอาด บ้านโคกเมฆ ส่วนอีก 11 หมู่บ้านไม่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผ้าไหมโดยจะการทำเฉพาะเวลาว่างจากงานดำนาเกี่ยวข้าว เพราะส่วนมากชาวชุมชน ตำบลบ้านคู จะมีอาชีพหลักๆคือการทำนาเป็นอาชีพที่ลงทุนปลูกข้าวไว้รับประทานเองเพราะโดยส่วนมากจะไม่นิยมซื้อข้าวมารับประทาน ส่วนอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่จะเป็นอาชีพเสริมสำหรับชาวชุมชน แต่บางชุมชนที่ได้กล่าวไปแล้วเพราะเป็นงานฝีมือการทอผ้าไหมต้องใช้ระยะเวลาและทำตามขั้นตอนหลายๆขั้นตอน เช่น เริ่มจากการมัดหมี่ย้อมไหมจนถึงการทอผ้าให้มาตรฐานได้ขนาดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช)ที่กำหนดเอาไว้โดยทั้ง 4 กลุ่มยังไม่ได้มีการส่งตรวจสอบมาตรฐานทางทีมงานจึงได้แนะนำให้ทางกลุ่มผ้าไหมได้ลองส่งผ้าไหมไปตรวจมาตรฐานจะได้เป็นอัตลักษณ์ตัวอย่างสินค้าของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
แนวทางแก้ไขปัญหาในเดือนต่อไป
การแก้ไขของเดือน กันยายน 2564 ทางทีมงานได้นำเสนอทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์แก้ไขปัญหาของชาวชุมชนเรื่องกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหมที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องการต่อใบรับรองกลุ่มวิสาหซึ่งกลุ่มปล่อยให้หมดอายุและยังมีบางกลุ่มที่ให้หมดนานเกินไปโดยจะไม่ค่อยสนใจเรื่องการต่อใบรับรองสักเท่าไรเพราะคิดว่าไม่สำคัญอะไรมาก
แผนการในเดือนกันยายน 2564 ที่จะทำต่อไป
ทางทีมงานได้แนะนำและวางแผนให้ทางชุมชน ตำบลบ้านคูที่ยังทอผ้าไหมมัดหมี่ให้ส่งผ้าไหมมัดหมี่เข้าตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช) เพราะทางทีมงานจะได้ทำโลโก้สัญลักษณ์ตราประจำกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่ของตำบลบ้านคูจะได้มีอัตลักษณ์ประจำตำบลบ้านคูเพื่อให้เป็นที่จดจำว่าโลโก้นี้เป็นสัญลักษณ์ผ้าไหมเพราะน่าจะทำให้มีมาตรฐานและอาจจะเป็นที่ยอมรับของตลาดต่อไปโดยเท่าที่ลงพื้นที่มายังไม่มีกลุ่มไหนที่ได้ส่งตรวจมาตรฐานผ้าไหมมัดหมี่โดยเฉพาะในเขตตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ยังไม่มีส่งไปตรวจสอบ และแผนต่อไปจะลงพื้นที่ไปสำรวจแปลงผักเกษตรอินทรีย์ของหมู่บ้านโนนสะอาด
หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
รูปภาพประกอบเนื้อเรื่องและคำบรรยายใต้ภาพ

ลงพื้นที่บ้านทุ่งบ่อเพื่อดูการย้อมไหมมัดหมี่ของชาวบ้านทุ่งบ่อ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ลงพื้นที่บ้านทุ่งบ่อ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ ดูการมัดหมี่ลายใหม่ที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ

ลงพื้นที่นัดชาวชุมชนไปอบรมการผสมสีน้ำมันและขั้นตอนวิธีออกแบบลายเส้นสีและแม่สี

ทางทีมงานAG01(2)มีการคัดกรองชาวชุมชนทุกท่านเป็นอย่างดีที่มาเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยสถานที่เป็นใต้อาคารสูงลมพัดผ่านตลอดปลอดภัย จากโรคโควิด-19

ชาวบ้านทุ่งบ่อให้ความสนใจในการวาดลายเส้นสีที่ตัวเองชอบเพราะน่าจะมีประโยชน์ในการไปต่อยอดการออกแบบสีลายผ้าไหมมัดหมี่

แบบลายสีต่างๆที่ชาวชุมชนบ้านทุ่งบ่อได้ผสมสีน้ำมันและระบายออกมาเป็นลายเส้นต่างๆกัน

ช่วยชาวชุมชนบ้านทุ่งบ่อ ตำบลบ้านคู ออกแบบลายสีและระบายสีให้ดูเป็นตัวอย่างตามที่ต้องการลายสีนั้นๆ

อาจารย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์ ได้แนะนำและทดสอบการผสมแม่สีให้กับชาวชุมชนดูเป็นตัวอย่างว่าแต่ละสีจะออกมาแตกต่างกันอย่างไร เช่น สีแดง+สีเหลือง=สีส้ม/สีน้ำเงิน+สีเหลือง=สีเขียว/สีแดง+สีน้ำเงิน=สีม่วง

บรรยากาศและภาพรวมที่ได้เข้าอบรมการผสมสีและแม่สีต่างๆในการเอาแต่ละสีมาผสมกันให้ได้สีตามที่ต้องการ โดยมีกลุ่มทั้งหมด 4 กลุ่มชาวบ้านคือ บ้านทุ่งบ่อ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคล้อ บ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู

รองศาสตราจารย์สมบัติ ประจญศานต์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาให้ความรู้และแนะนำสีตรงกันข้าม หรือสีคู่ประกอบ ให้กับชาวชุมชน ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์