การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อของชาวบ้าน หลังจากจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชน

ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่

ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวนิภาพร แขนคันรัมย์

ประเภท บัณฑิตจบใหม่

AG03(1)-คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานปฏิบัติงาน เดือนสิงหาคม 2564

 

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เป็นนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป้าหมายหลักของโครงการนี้ คือ เพื่อพัฒนากำลังคน พัฒนาทักษะใหม่ และการลดความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน และเนื่องจากสถานการณ์ประเทศไทยเราในขณะนี้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและ ย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา โครงการนี้จึงมุ่งเน้นที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการ ของพื้นที่อย่างแท้จริง จึงต้องมีหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อลงพื้นที่ดำเนินงาน ทำงานประสานงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อเข้าถึงปัญหาและความต้องการของชาวบ้านที่แท้จริง

 

พวกเราทีมผู้ปฏิบัติงานร่วมกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินงานตามหลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของตำบลพรสำราญ เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เข้าสู่นวัตกรรมที่ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการทางการตลาด หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชน การสร้างอาชีพใหม่ ภายใต้กิจกรรม พัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ โดยมี ดร. จารุณี ชัยโชคอนันต์ เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชาวบ้าน เป็นการให้ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อ ลักษณะเสื่อที่ชาวบ้านทอกันส่วนใหญ่ใช้ลายเส้นใหญ่ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูธรรมดาที่เห็นกันทั่ว ๆ ไป ดร. จารุณี ได้ให้ลองเปลี่ยนเป็นใช้เส้นเล็กที่มีความละเอียดมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อดูสวยงามมากขึ้น โดยให้ทอเสื่อขนาดเท่าอาสนะสงฆ์  ซึ่งชาวบ้านได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อตามที่พักอาศัย แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid 19) จึงต้องเลื่อนกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกไป อย่างไรก็ตามพวกเราทีมผู้ปฏิบัติงานยังคงติดตามพัมนาการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คำปรึกษา คำแนะนำ และดูพัฒนาการผลิตภัณฑ์เสื่อของชาวบ้านภายหลังกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชาวบ้าน  และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายจะดำเนินโครงการเพื่อต่อยอดการนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความต้องการทางการตลาดและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่อไป และเพื่อให้โครงการนี้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

 

โคงการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ชุมชน

 

 

 

อื่นๆ

เมนู