1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน สิงหาคม 2564 กลุ่ม AG01(1) กิจกรรมวิเคราะห์พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ กลุ่มทอผ้ามือตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน สิงหาคม 2564 กลุ่ม AG01(1) กิจกรรมวิเคราะห์พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ กลุ่มทอผ้ามือตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

กระผม นายนรภัทร มะโน ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งสว่าง หมู่ที่ 7 บ้านเมืองกับ หมู่ที่ 16 บ้านหนองตาด หมู่ที่ 9 และบ้านหนองไผ่ดง หมู่ที่ 13 ของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายในการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจด้านการทอผ้าไทยให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและเป็นอาชีพหลักที่หารายได้ให้คนในชุมชน  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

คณะ AG01(1) – ลงพื้นที่กิจกรรมจิตอาสาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

คณะ AG01(1) – คณะผู้ปฏิบัติงานพร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะ AG01(1) -คณะผู้ปฏิบัติงานพร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะ AG01(1) –อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป คือ การสรุปบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมและการติดตามผลการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้า

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน กระผมได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้านเสร็จสิ้นแล้ว

กิจกรรมอบรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ

ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางคณะกลุ่มAG01(1) ได้จัดกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้กลุ่มผ้าทอมือตำบลตูมใหญ่ โดยจากการจัดอบรมทำให้ทราบว่า กลุ่มผ้าทอมือตำบลตูมใหญ่แม้จะมีทักษะในการทอผ้าที่เชี่ยวชาญอยู่แล้ว แต่ผ้าที่ทอนั้นยังคงมีข้อผิดพลาดบางจุดที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น ความกว้างและความยาวที่ไม่เท่ากัน ความหนาของผ้าที่ไม่แน่นเท่ากัน ดังนั้นเป้าหมายของการอบรมคือการทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอนั้นผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มผ้าทอตูมใหญ่ ให้ดียิ่งขึ้น

ลักษณะทั่วไปของผ้าตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

ผ้าต้องสะอาด ไม่มีรอยเปรอะเปื่อน อยู่ในสภาพที่เรียบรอยตลอดทั้งผืน และไม่มีข้อบกพร่องที่มีผลเสียต่อ การใช้งานให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น รูรอยแยก สีด่าง ลายผิด เส้นด้ายขาด ริมเสีย

ริมผ้าและชายผ้า ต้องเรียบร้อย ประณีต สวยงาม ไม่มีรอยแยก ย้น หรือขาดหลุดลุ่ย การปล่อยเส้นด้ายชายครุย (ถ้ามี) ทั้งชายครุยที่เป็นเส้นด้ายยืนในตัวและเส้นด้ายพิเศษที่เพิ่มเส้นด้าย

ที่ปล่อยไว้หรือกลุ่มเส้นดhายที่ถักหรือมัดเป็นชายครุยต้องประณีตและสวยงาม กรณีที่มีการเย็บชายผ้า ต้องม้วนริมแล้วเย็บให้เรียบร้อย แน่น ไม่มีรอยแยก ย่นหรือขาดหลุดลุ่ย

ความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.0 ยกเว้นกรณีย้อมห้อมหรือครามต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.5 การทดสอบให้ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบสิ่งทอ เล่ม ๓๒ ความเป็นกรดด่างของสารที่สกัดด้วยน้ํา มาตรฐานเลขที่ มอก.121 เล่ม 32

ขนาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

1.ผ้าคลุมไหล่  ขนาดความกว่าง ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ± 3 เซนติเมตร และต้องมากกว่า 45 เซนติเมตร ขนาดความยาว ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ± 4 เซนติเมตร และต้องมากกว่า 170 เซนติเมตร

2.ผ้าพันคอ ขนาดความกว่าง ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน± 3 เซนติเมตร และต้องไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตร กรณีเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และต้องอยู่ระหว่าง 15 เซนติเมตร ถึง 45 เซนติเมตร กรณีเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความยาว ± 5 เซนติเมตร และต้องไม่น้อยกว่า ๑๗๐ เซนติเมตร กรณีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากรณีเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

3.ผ้าขาวม้า ขนาดความกว่าง ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ± 5 เซนติเมตร และต้องไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ขนาดความยาว ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ± 5 เซนติเมตร และต้องไม่น้อยกว่า 200 เซนติเมตร

4.ผ้ามัดหมี่ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก การทดสอบให้ใช้อุปกรณ์วัดที่ทำจากไม้หรือโลหะที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร หรือ 1 ส่วน 8 นิ้ว แล้วแต่กรณีและมีความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร

5.ผ้าทอลายขัด  ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก การทดสอบให้ใช้อุปกรณ์วัดที่ทำจากไม้หรือโลหะที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร หรือ 1 ส่วน 8 นิ้ว แล้วแต่กรณีและมีความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร

นอกจากนี้ในช่วงเดือน กรกฎาคมและสิงหาคม ทางคณะกลุ่มAG01(1) ได้ทำการจัดอบรมการย้อมสีผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยสีธรรมชาติ โดยการทดลองใช้สีธรรมชาติจาก เปลือกมะพร้าว ใบสัก และ แก่นฝาง รวมถึงเทคนิคขั้นตอนในการเตรียมเส้นไหมให้เหมาะสมสำหรับการย้อมสี และอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วคือกิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย โดยกิจกรรมที่จะดำเนินต่อไปคือการออกแบบบรรจุภัณฑ์แล้วจึงนำผลิตภัณฑ์ส่งเผื่อขอมาตราฐานผลิตภัณฑ์ต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา                                                                

            จากการลงพื้นที่ เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่บางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะทำงาน จึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น  และคอยติดตามข่าวสารเพื่อคอยระวังดูสถานะการณ์ต่อไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ได้เรียนรู้ถึงการทอผ้าตามรูปแบบมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เทคนิคการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ กระบวนการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย

และได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19

แผนการดำเนินงานต่อไป

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป ดังนี้

1. นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ และกิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านปะคำดง

2. วันที่ 20 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

3. วันที่ 27 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

4. วันที่ 17 กันยายน 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู